ออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์

Creative Packaging Design

        1.1 เพื่อให้รู้ความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์                                  
        1.2 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจทฤษฎีการออกแบบสิ่งพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์                  
        1.3 เพื่อให้มีทักษะในการออกแบบเพื่อพัฒนาไปสู่ขั้นตอนการผลิตได้
        1.4 เพื่อให้นักศึกษามีเทคนิคการสร้างสรรค์ แนวคิดรวบยอดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้านรูปทรงและกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
      พัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ความสำคัญ ความเป็นมาและพัฒนาการ ข้อกำหนดและมาตรฐาน รูปแบบและแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นการสร้างสรรค์ที่มี อัตลักษณ์ แนวความคิด การสื่อความหมายลักษณะโครงสร้าง การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 
  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
      1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม
      2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
      3. สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      4. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
      5. มีความพอเพียง
      6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
      7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
 1.2.2 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
 1.2.3 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับด้านคุณธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพในการครองตนและการศึกษาระหว่างสอน
   1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   1.3.2   พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและกิจกรรมที่สาขาฯจัดขึ้น
   1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำงานเดี่ยวและกลุ่ม ร่วมกัน การแก้ปัญหา การเสียสละการบริหารจัดการงานส่วนรวม
   1.3.4   มีการตกลงกับนักศีกษาในครั้งแรกของการเรียน เรื่องระเบียบการเข้าชั้นเรียน โดยหากว่ามาช้ากว่าที่กำหนด 15 นาที ถือว่ามาสาย เข้าชั้นเรียนสาย 3 ครั้งถือว่าขาด 1 ครั้ง หากขาดเกิน 3 ครั้ง หมดสิทธิ์สอบ
   มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิตและวิธีการแก้ไขปัญหา
   2.2.1 การบรรยาย
   2.2.2 เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
   2.2.3 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
   2.2.4 การสาธิต
   2.2.5 นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง
   2.2.6 ยกตัวอย่างประกอบและให้ปฏิบัติงาน
   2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
   2.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงาน, ผลงาน
   2.3.3  การตอบคำถาม
   2.3.4  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
   3.1.1 ความสามารถในความคิดสร้างสรรค์
  3.1.2 ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยอ้างอิงหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3.2.1  บรรยาย ฝึกให้วิเคราะห์จากผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยประมวลความรู้จากการบรรยาย
  3.2.2  ฝึกตอบคำถามในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ระดมสมองในการแก้ปัญหา
  3.2.3  มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
  3.2.4  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
ประเมินผลจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับมอบหมาย โดยประมวลความรู้จากการนำเสนอ
   4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
   4.1.2  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
   4.1.3  มอบหมายงานเป็นกลุ่ม ฝึกทักษะในการเป็นผู้นำกลุ่มและเป็นสมาชิกที่ดีในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
  4.2.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
  4.2.2  กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
  4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ และผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
  4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
  4.3.3  การสังเกพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมกลุ่ม
   5.1.1  ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
   5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน โดยทำรายงานการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
   5.1.3  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
   5.1.4  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  5.2.3   ใช้ Power Piont บรรยาย
          -  ฝึกทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีเหตุการณ์สมมติ
          -  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและคัดเลือกแหล่งข้อมูล
   5.3.1   ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
   5.3.2   จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.3.3   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   5.3.4   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
   5.3.5   ให้คะแนนผลงานและการนำเสนอ
  6.1.1 มีทักษะด้านออกแบบและใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  6.1.2 มีทักษะในการทำบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค
  6.1.3 มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ความแข็งแรง ความปลอดภัย
  6.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
  6.2.2 มอบหมายงานเป็นรายบุคคลและกลุ่มให้ไปปฏิบัติงานบรรจุภัณฑ์จริงเพื่อเป็นการฝึกทักษะ พร้อมทั้งนำเสนอในรูปแบบชิ้นงานจริง
  6.2.3 วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
  6.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
  6.3.2  ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนและพฤติกรรมในชั้นเรียน
  6.3.3 ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ การปฏิบัติงานและผลิตชิ้นงานจริง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1
1 BAAID173 ออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1, 3.3.1 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 8,17/1-7,9-16 30%
2 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2,5.3 การปฏิบัติงานและผลงาน แบบฝึกหัด - การทำงานเป็นทีม - ความรู้ความเข้าใจ - พัฒนาการในการออกแบบ - กระบวนการในการทำงาน - การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย - การนำเสนอรายงานผลการวิเคราะห์พัฒนาการผลงานวาดเส้นของตนเองในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน 1-17 60%
3 1.1, 1.2, 1.3 - การเข้าชั้นเรียน - การแต่งกาย - การส่งงานตามเวลาที่กำหนด - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็น 1-17 10%
สมพงษ์  เฟื่องอารมณ์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก.กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550).คู่มือการออกแบบ
บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ : สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
          มยุรี  ภาคลำเจียก. (2523). คู่มือการใช้พลาสติกเพื่อการหีบห่อ, กรุงเทพฯ : ศูนย์บรรจุหีบห่อไทย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
          _____________. (2523). คู่มือการใช้โลหะเพื่อการหีบห่อ, กรุงเทพฯ : ศูนย์บรรจุหีบห่อไทย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
          สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.  (2546). คู่มือการใช้แก้วเพื่อการหีบห่อ,
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนไอเดียสแควร์
          อมรทัต  สวัสดิทัต. (2532). คู่มือการใช้กระดาษเพื่อการหีบห่อ, กรุงเทพฯ  : ศูนย์บรรจุหีบห่อไทย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
          _____________. (2532). คู่มือการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ, กรุงเทพฯ : ศูนย์บรรจุหีบห่อไทย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจาก
นักศึกษาไว้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
  ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
   2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
   2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
   2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
   คณะฯกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทย์และวิธีการสอนจากการประเมินผลประสิทธิภาพรายวิชา
   ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษารวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
      5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
      5.2   ผู้สอนนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาต่อกลุ่มคณะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และ
แนวความคิดร่วมกัน