การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน

Internal Audit and Internal Control

1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายวิวัฒนาการของการตรวจสอบภายใน และการควบคุมภายใน
2. เพื่อให้นักศึกษาทราบและเข้าใจความหมายและวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายในสมัยใหม่
3. เพื่อให้นักศึกษานำความรู้เรื่องความรับผิดชอบ จริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพการตรวจสอบภายในไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพต่อไป
4. เพื่อให้นักศึกษาทราบและเข้าใจ พร้อมทั้งสามารถอธิบายวิธีการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบภายใน
5. เพื่อให้นักศึกษาสามารถวางแผนการตรวจสอบ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมภายในรวมถึงการรายงานผลการตรวจสอบและติดตามผลได้
6. เพื่อให้นักศึกษาทราบและเข้าใจในกระบวนการขั้นตอนและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายในพร้อมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
7. เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดทำรายงานและสรุปผลการตรวจสอบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยรับตรวจสอบได้
1. เพื่อให้นักศึกษายกระดับความรู้ความเข้าใจในหลักการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
2. เสริมสร้างให้นักศึกษามีทักษะในการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ แนวคิดความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ และการตรวจสอบภายในมาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน หลักธรรมาภิบาล บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ประเภทของการตรวจสอบภายใน วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ การตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน การกำหนดโครงสร้างและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) 
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม 1.1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1 บรรยายพร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน 1.2.2 ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเช็คชื่อ 1.2.3 จัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน 1.2.4 การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.1.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2.2.2 การรถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน 2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลและนำเสนอตามหัวข้อรายงานที่ได้รับมอบหมาย 2.2.4 ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ โดยการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง 
2.3.1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ 2.3.2 การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ 2.3.3 การประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษานำเสนอ 2.3.4 การประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3.1.3  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 3.2.2 สอนโดยใช้กรณีศึกษาและสถานการณ์จริง (มูลนิธิ สมาคม หน่วยธุรกิจ) ให้ลองวิเคราะห์ความเสี่ยง 3.3.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน 4.2.2 มอบหมายงาน ข่าว บทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ  การนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ 
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.2.3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน 5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ 5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5.3.3 ประเมินจากการสอบข้อเขียน 5.3.4 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC146 การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 10 25 10 25
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนําเสนองาน รายงาน การทํางานกลุ่ม การอ่านและสรุปบทความการควบคุมภายในและบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ การส่ง งานตามที่มอบหมาย 20
3 การเข้าช้ันเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในช้ันเรียน 10
หนังสือ”การตรวจสอบภายในสมัยใหม่” ของอุษณา ภัทรมนตรี หนังสือบรรณานุกรมท้ายเล่ม
- บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการฯลฯ
-  มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน         
-  มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ
-  Power Point Slide ประจำบทเรียน เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง Web ไทย 1. สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th 2. กรมสรรพากร www.rd.go.th 3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ www.sec.or.th 4. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th 5. ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th 6. กรมศุลกากร www.customs.go.th 7. กรมสรรพาสามิต www.excise.go.th 8. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th Web ต่างประเทศ 1. International Accounting Standards Board www.iasb.org 2. The American Institute Of Certified Public Accountants www.aicpa.org 3. The International Federation Of Accountants www.ifac.org 4. U.S. Securities Exchange Commission www.sec.gov
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน      
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา      
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดหรือกลุ่มไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1  ผลการเรียนของนักศึกษา    
2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้        
3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน      
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้          
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร        
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
 จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้      
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4      
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ