หลักการออกแบบเว็บไซต์

Principles of Website Design

พุทธิพิสัย
- ความรู้ : มีความรู้เกี่ยวกับหลักการการออกแบบ UX/UI ความรู้เกี่ยวกับระบบอินเตอร์เน็ต ประเภทเว็บไซต์ โครงสร้าง คำศัพท์ / หลักการที่เกี่ยวกับการออกแบบ UX / หลักการเกี่ยวกับการออกแบบ UI / การสำรวจ และการวางแผนการตลาดสำหรับงานออกแบบเว็บไซต์
- ความเข้าใจ : สามารถวิเคราะห์ อธิบาย และวางแผนการออกแบบ UX/UI ได้
- การนำไปใช้ : สามารถใช้กระบวนการขั้นตอนการออกแบบตามหลักการ UX/UI ได้
 
ทักษะพิสัย
- สามารถวางแผน ค้นคว้าหาข้อมูล วิเคราะห์ และออกแบบแนวความคิดในการออกแบบ UX/UI
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ
- สามารถนำความรู้จากวิชาอื่นมาใช้ในการวิเคราะห์ และบูรณาการการออกแบบ
เป็นรายวิชาที่มีในหลักสูตรใหม่ 2565 ซึ่งปรังปรุงมาจากหลักสูตร 2560 โดยมีการเพิ่มการองค์ความรู้ทางด้าน UX/UI มากขึ้น
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและพัฒนาการของระบบอินเตอร์เน็ต ประเภทของเว็บไซต์ โครงสร้างของเว็บไซต์ ศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ หลักการออกแบบสร้างสรรค์ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UI) และส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมในการพัฒนาเว็บไซต์ และองค์ประกอบการออกแบบเว็บไซต์สมัยใหม่ในยุคดิจิทัล การตลาดสำหรับงานออกแบบเว็บไซต์
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 ซี่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (●)
1(1) บรรยาย มอบหมายงานรายบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล ตอบคำถาม แบบทดสอบ โครงงาน/รายงาน)
1(2) กิจกรรมนำเสนอ
1(1) ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงาน การสอบ และการอ้างอิง ผลงานรายบุคคล (เอกสาร/รายงาน/โครงงาน)
1(2) ประเมินจากการนำเสนอ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมนำเสนอ 
2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง (●)
2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ (○)
2(1) บรรยาย  มอบหมายงานบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล ตอบคำถาม แบบทดสอบ โครงงาน รายงาน)
2(2) มอบหมายงานบุคคล (โครงงาน รายงาน)
2(1) ประเมินจากผลงานรายบุคคล (เอกสาร รายงาน โครงงาน) ประเมินจากการสอบข้อเขียน
2(2) ประเมินจากผลรายงานบุคคล (เอกสาร รายงาน โครงงาน)
3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ (●)
3(1) บรรยาย, มอบหมายงานบุคคล (ค้นคว้าข้อมูล ตอบคำถาม แบบทดสอบ), มอบหมายงานบุคคล (โครงงาน รายงาน)
3(3) มอบหมายงานบุคคล (โครงงาน รายงาน)
3(1) ประเมินจากผลงานรายบุคคล (เอกสาร / รายงาน / โครงงาน), ประเมินจากการสอบข้อเขียน, ประเมินจากการนำเสนอ (เนื้อหา)
3(3) ประเมินจากผลงานรายบุคคล (เอกสาร / รายงาน / โครงงาน), ประเมินจากการสอบข้อเขียน, ประเมินจากการนำเสนอ (เนื้อหา)
4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (○)
มอบหมายงานบุคคล (โครงงาน รายงาน)
มอบหมายกิจกรรมกลุ่มย่อย
มอบหมายงานกลุ่มย่อย (ค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ อภิปราย รายงาน)
ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมในห้องเรียน และกลุ่มย่อย
ประเมินจากผลงานรายบุคคล (เอกสาร / รายงาน / โครงงาน)
5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการ สื่อสารทางศิลปกรรม และนําเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (●)
นำเสนอข้อมูล
มอบหมายงานบุคคล (โครงงาน รายงาน)
ประเมินจากการนำเสนอ (วาจาและสื่อ)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซี่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.3 มีจิตอาสา จิตสํานึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ 4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการ สื่อสารทางศิลปกรรม และนําเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน หรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับงานศิลปกรรม 6.1 สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
1 BAACD156 หลักการออกแบบเว็บไซต์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 4.1 - ประเมินจากการเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน - ประเมินจากการส่งงานตามเวลาที่กำหนด - ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิง 1-16 10
2 2.2, 3.1 ประเมินจากผลงานรายบุคคล (เอกสาร / รายงาน / โครงงาน) 1-16 30
3 4.1, 5.1 ประเมินจากการนำเสนอ (วาจาและสื่อ) 16 5
4 2.1 การสอบข้อเขียน (สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค) 9, 17 55
Interaction Design Foundation (2024, January 1). Open-Source, Open-Access Literature. Interaction Design Foundation - IxDF. https://www.interaction-design.org/literature
Wendt, T. (2015). Design for Dasein: Understanding the Design of Experiences. United States: CreateSpace Independent Publishing Platform.
UX & usability articles from Nielsen Norman Group. Nielsen Norman Group. (n.d.). https://www.nngroup.com/articles/
1.1     ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
1.2     ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้
ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
2.1     ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1
2.2     สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน ในประเด็นต่อไปนี้
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
2.3     ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้
ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
3.1     ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน
3.2     ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ผลการประเมินการสอน บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา  เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล