การทำแผนที่ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ

UAV Photogrammetry

1.เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจความเป็นมาและกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนที่ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ
2.เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้อากาศยานไร้คนขับบินถ่ายภาพเพื่อทำแผนที่ภาพถ่ายได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำข้อมูลจากการประมวลผลภาพถ่ายไปใช้ในงานวิศวกรรมโยธาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อพัฒนาให้เนื้อหาวิชามีความทันสมัย
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการสร้างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ การวางแผนการบิน การบังคับอากาศยานไร้คนขับ การสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับ การตรวจสอบความถูกต้อง กฏหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทย
ปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา
 สอดแทรกตัวอย่างจากรุ่นพี่ เพื่อนในห้องเรียนและประสบการณ์ของผู้สอน
ประเมินจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษา
1.มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
3.สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 
การบรรยายในห้องเรียนและการฝึกปฏิบัติ 
วัดผลจากการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค และรายงาน
1. มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
 
3. สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.. สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
1.ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำรายงานพร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
2.มีการถามตอบและนะนำสิ่งที่ถูกต้องโดยอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
1.วัดผลจากการนำเสนอรายงาน
2.สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1.สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
2.สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ  
3.สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
5.มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคมตามกำหนดเวลา
1. จากการการมอบหมายกลุ่มรายงาน เช่น วางแผนการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย
2. สอดแทรกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย การปรับตัวต่อสังคม และความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
3.  มีการยกตัวอย่างแล้วให้นักศึกษาได้คิดและเสนอแนวทางในการแก้ไข
1. ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
1. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาได้เป็นอย่างดี
2. มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
3. สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4. สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
1. ให้ส่งรายงานโดยให้ส่งเป็นดิจิตอลไฟล์ทั้งในรูปแบบ ไฟล์เอกสาร
2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
3. ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและการคำนวณ
1. ประเมินจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 
1. สรุปเนื้องานที่ต้องลงปฏิบัติในสนามและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ
2. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและหน้าที่ความรับผิดชอบกันเอง
 
1. ประเมินจากระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละงานที่ลงปฏิบัติ
2. นำเสนอผลการปฏิบัติงานในสนามและให้แต่ละคนในกลุ่มบอกพฤติกรรมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อนำมาแก้ไขต่อไป
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษาะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา กำหนดกติกาของการเข้าชั้นเรียน ซึ่งมีคะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การมีวินัยระหว่างเรียน บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาจับกลุ่มและกำหนดโครงงานที่มีเนื้อหาสาระทางวิศวกรรมการทาง ซึ่งนักศึกษาจะต้องเสนอชื่อหัวข้อของการทำรายงาน โดยอาจารย์ผู้สอนจะได้ทำการอภิปรายเพื่อดูว่าหัวข้อที่นักศึกษาต้องการทำนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ อยู่ในช่วงเวลาที่เรียนวิชานี้ได้มั๊ย หรือเป็นหัวข้อที่สามารถนำไปทำเป็นโครงงานหรืองานวิจัยได้ ทั้งนี้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องทำการรวบรวมจากรายงานที่เคยทำ และต้องมีการสืบค้นข้อมูล อีกทั้งต้องใช้องค์ความรู้ที่เรียนมา จากโครงงานที่นักศึกษาทำต้องให้แต่ละบุคคลในกลุ่มหมุนเวียนกันมาอภิปราย ซึ่งในหัวข้อต้องมีการบอกการวางแผนของการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา และสืบค้นเนื้อหาเพิ่มเติม สรุปเนื้องานที่ต้องลงปฏิบัติในสนามและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ
1 ENGCV716 การทำแผนที่ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เนื้อหาหน่วยที่ 1-4 สอบกลางภาค 8 25/100
2 เนื้อหาหน่วยที่ 5-8 สอบปลายภาค 17 25/100
3 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-17 10/100
4 การปฏิบัติงานหน่วยที่ 1-8 การทำรายงาน 2-16 20/100
5 เนื้อหาและการปฏิบัติงาน หน่วยที่ 1 - 8 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 16 20/100
[1] ชาติชาย ไวยสุระสิงห์. 2563, "การสำรวจด้วยภาพถ่าย". สำนักพิมพ์ซีเอ็ด. พิมพ์ครั้งที่ 1, 1 มีนาคม 2563.
[2] ไพศาล สันติธรรมนนท์. 2564, "การรังวัดด้วยภาพดิจิทัล". คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มิถุนายน 2564.
1.การสอบถามในชั้นเรียน
2.การสรุปรายงาน
1.ผลการสอบของนักศึกษา
2.เนื้อหาของรายงาน
1.เพิ่มเติมเนื้อหาที่ทันสมัย
2.ยกตัวอย่างที่เข้าใจง่าย