เตรียมเข้าสู่สถานประกอบการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Pre-Co-Operative Education in Computer Engineering

1. เพื่อให้มีความพร้อมก่อนการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสหกิจศึกษา กระบวนการและขั้นตอนของสหกิจศึกษา ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา
เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับ TQF และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง ทั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาให้มีความมั่นใจในการประกอบอาชีพกับความก้าวหน้าของสังคมและยุคสมัย และเพื่อให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการสหกิจศึกษา การเลือกสถานประกอบการและการสมัครงาน การสัมภาษณ์งานอาชีพ การพัฒนาบุคลิกภาพ กฎหมายแรงงานและจรรยาบรรณวิชาชีพ ระบบคุณภาพและความปลอดภัย การเขียนรายงานและการนำเสนองาน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือให้คำปรึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) เช่น Facebook, Line และ Microsoft Teams เป็นต้น
1.1.1    ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2    มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสังคม 1.1.3    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.4    เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5    เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6    สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม 1.1.7    มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์


 
1.2.1    ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 1.2.2    เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม และจริยธรรมในชั้นเรียน 1.2.3    ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3.1    การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และการส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด 1.3.2    ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.3.3    ประเมินจากพฤติกรรมการสอบ
2.1.1    มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2.1.2    สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา 2.1.3    สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด 2.1.4    สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 2.1.5    รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 2.1.6    มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.7    มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 2.1.8    สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1    ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีระบบฐานข้อมูลควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 2.2.2    วิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลให้เหมาะสมกับงาน 2.2.3    ทำการติดตั้งระบบจัดการฐานข้อมูล และฝึกปฏิบัติการสร้างฐานข้อมูล 2.2.4    มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.3.1    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.3.2    แบบฝึกปฏิบัติการ และงานที่ได้รับมอบหมาย 2.3.3    รายงานการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และการนำเสนอ
3.1.1    คิดอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างเป็นระบบ 3.1.2    สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3.1.3    สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.4    สามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1     จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์เพื่อวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล และทำให้อยู่ในรูปแบบบรรทัดฐาน
3.3.1    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3.3.2    แบบฝึกปฏิบัติการ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1    สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2    สามารถให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.1.3    สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.4    มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.1.5    สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะสมทั้งของตนเองและของกลุ่ม 4.1.6    มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
4.2.1.    มอบหมายงานกลุ่ม
4.3.1    ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษา 4.3.2    ประเมินจากการอภิปรายและนำเสนอ
5.1.1    มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.1.2    สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5.1.3    สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม 5.1.4    สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.2.1    มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบฐานข้อมูลด้วยตนเอง 5.2.2    มอบหมายให้สร้างฐานข้อมูลโดยเลือกใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสม
5.3.1    การเลือกใช้เครื่องมือในการออกแบบ และสร้างฐานข้อมูล 5.3.2    คุณภาพ และประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลที่สร้างขึ้น
6.1.1    มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2    มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1    มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มเพื่อออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูล
6.3.1    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม และการแบ่งงาน 6.3.2    ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการ วิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE128 เตรียมเข้าสู่สถานประกอบการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคเรียน 20%
2 ทักษะทางปัญญา เขียนจดหมายสมัครงานและการเตรียมเอกสารสมัครงานตามข้อกำหนดของหน่าวยงานที่สมัคร 8 40%
3 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี งานกลุ่ม การนำเสนอ 16 30%
4 ความรู้ สอบปลายภาค 17 20%
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2555). ST-A-R INTERVIEW การสัมภาษณ์งานอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. 2549. การพัฒนาบุคลิกภาพ Personality development ; มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. พิมพ์ครั้งที่ 6 – กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา นวจินดา. 2542.ศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอน
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลการสอบของนักศึกษา และผลประเมินการสอน วิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4