ออกแบบเฟอร์นิเจอร์สร้างสรรค์

Creative Furniture Design

1.1 มีทักษะในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ 
1.2 มีทักษะพัฒนารูปแบบการคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์
1.3 มีทักษะการใช้สัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์กับการใช้งานของมนุษย์ 
1.4 มีทักษะการประยุกต์และพัฒนาลักษณะโครงสร้างเฟอร์นิเจอร์ 
1.5 มีทักษะการเลือกใช้วัสดุไม้  โลหะ  และวัสดุสมัยใหม่
1.6 มีทักษะการเลือกใช้อุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม 
1.7 มีทักษะการจัดทำต้นแบบและการแสดงแบบเฟอร์นิเจอร์
1.8 มีเจตคติที่ดีต่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สร้างสรรค์
        ฝึกปฏิบัติ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์โดยใช้หลักการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ รูปแบบการคิดสร้างสรรค์และแรงบัลดาลใจในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์  สัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์กับการใช้งานของมนุษย์ วัสดุสำหรับเฟอร์นิเจอร์เช่น ไม้  โลหะ  และวัสดุสมัยใหม่ ลักษณะโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม  การจัดทำต้นแบบ และการแสดงแบบเฟอร์นิเจอร์ นำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาศิลปนิพนธ์  ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต 
               ฝึกปฏิบัติ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์โดยใช้หลักการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ รูปแบบการคิดสร้างสรรค์และแรงบัลดาลใจในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์  สัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์กับการใช้งานของมนุษย์ วัสดุสำหรับเฟอร์นิเจอร์เช่น ไม้  โลหะ  และวัสดุสมัยใหม่ ลักษณะโครงสร้างของเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม  การจัดทำต้นแบบ และการแสดงแบบเฟอร์นิเจอร์ นำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาศิลปนิพนธ์  ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต 
                  Practice furniture design using furniture design principles Creativity styles and inspiration for furniture design; furniture proportion and utilization for human; furniture materials such as wood, metal, modern materials, furniture structure, equipment and manufacturing process in industrial systems prototyping and furniture display.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
(3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมในรายวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
(1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
(3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
(4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา        
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการปฎิบัติประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานจริงที่ออกมาเป็นออกแบบและพัฒนารูปแบบ และรูปธรรม โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
(1) ผลงานปฏิบัติด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สร้างสรรค์
(2) การสอบภาคปฏิบัติกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำและการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(4) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติการจัดทำต้นแบบและการนำเสนองาน
(1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมิลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
(2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
(3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
(4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานที่ได้รับมอบหมายการปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
(1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
(2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่องานในตนเองการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมมอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก  การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
(1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
(2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
(1) มีทักษะในการปฏิบัติงานทางศิลปกรรมในการสร้างสรรค์ผลงาน                     
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธี ทำตามแบบและใบงาน สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1
1 BAAID160 ออกแบบเฟอร์นิเจอร์สร้างสรรค์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 6. งานที่ได้รับมอบหมาย 1-10 30 %
2 ข้อ 2., ข้อ 3. สอบกลางภาค 9 10 %
3 ข้อ 5., ข้อ 6. ประเมินจากโครงงานและผลงานออกแบบสร้างสรรค์ 16 40 %
4 ข้อ 2., ข้อ 3. สอบปลายภาค 17 10 %
5 ข้อ 1., ข้อ 2. การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด 1-17 10 %
ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. จำกัด, (2547).  การทำหุ่นจำลอง. เชียงใหม่ : ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง จำกัด,
ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2556). การนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.(พิมพครั้งที่ 2) เชียงใหม่ : ครองช่าง พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ และสมหญิง  อุตมพงศ์(ยิ่งยศ). (2520). เครื่องเรือนรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.
ทวีเดช  จิ๋วบาง. (2536). .เรียนรู้ทฤษฎีสี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ธีระชัย  สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
นพดล เวชวิฐาน. (2547). เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
บุญสนอง  รัตนสุนทรากุล. (2549). เฟอร์นิเจอร์ฉบับก้าวหน้า. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : โครงการตำรา 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
บุญสนอง  รัตนสุนทรากุล. (2549). เฟอร์นิเจอร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ :  โครงการตำรา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
บุญสนอง  รัตนสุนทรากุล. (2553). ความรู้ทั่วไปเพื่อการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้.กรุงเทพฯ : สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ประเสริฐ  พิชยะสุนทร. (2555).ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี  สหสมโชค. (2549). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วิรัตน์  พิชญไพบูลย์. (2527). การออกแบบเครื่องเรือน สมัยใหม่. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาคร  คันธโชติ. (2528).การออกแบบเครื่องเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สาคร  คันธโชติ. (2528). ข้อต่อไม้สำหรับโครงสร้างเครื่องเรือน กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
อุดมศักดิ์  สารีบุตร. (2540). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : งานตำราและเอกสารการพิมพ์
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Catalog-hafele. (2016). THE  COMPLETE   HAFELE. Hafelethailand.
Chris H. Groneman and Everett R. Glazener.(1966). Technical Woodworking. McGraw-Hill,Inc.    
Edward Lucie-Smith. (1979). Furniture a concise History. Jarrold and Sons Ltd, Noewich.
Fiona & Keith Baker. (2000). Furniture. Dubai.
Hamlyn, (2007). How to Woodwork. Heron Quays, London : Printed and bound in China.
Hoover  Ven  Doren. (1974). Industrials Design. The council  Industrials Design  the Design  Centre-London : MC Graw-Hill.
Joseph De Chiara, Julius Panero, Martin Zelnik, (1992). Time-Saver Standards for  Interior  Design   and  Space  Planning. McGraw – Hill, Inc.
Panero, Julius and Martin Zelnik, (1979). Human Dimension & Interior Spece.New   York : Watson – Guptill.
Penny Sparke. (1987). Electrical Appliances (20th Century Design) Hardcover.
S.C. Reznikoff, (1986). Interior   Graphic and Design  Standard, New   York : Whitney Library of Design.
Artviseeducation. แสดงเฟอร์นิเจอร์ยุคหินใหม่ ทำจากหิน สืบค้นเมื่อวันที่  1 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.artviseeducation.com/furniture-design-history-7000-years/
Architonic. เฟอร์นิเจอร์แบบแบบใช้ร่วมกันหรือประกอบกัน. สืบค้นเมื่อวันที่  2 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.architonic.com/es/product/muller-manufaktur-liniem/1
Banidea. เฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร (Out-door Furniture). สืบค้นเมื่อวันที่  8 กรกฎาคม 2565จาก, https://www.banidea.com/outdoor-furniture-garden-design-2012/outdoor-furniture-garden-5/
Baanlaesuan. เก้าอี้ทำจากไม้ไผ่. สืบค้นเมื่อวันที่  22 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.baanlaesuan.com/204908/design/design-update/product/ching-chair
Baansuansabuy. Hans J. Wegner และwishbone Y chair สืบค้นเมื่อวันที่  3 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.baansuansabuy.com/blog-furniture.
Baansuansabuy. ant chair - Arne Jacobsen, 1952. สืบค้นเมื่อวันที่  3 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.baansuansabuy.com/blog-furniture.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการทำโครงงาน
Artviseeducation. แสดงเฟอร์นิเจอร์ยุคหินใหม่ ทำจากหิน สืบค้นเมื่อวันที่  1 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.artviseeducation.com/furniture-design-history-7000-years/
Architonic. เฟอร์นิเจอร์แบบแบบใช้ร่วมกันหรือประกอบกัน. สืบค้นเมื่อวันที่  2 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.architonic.com/es/product/muller-manufaktur-liniem/1
Banidea. เฟอร์นิเจอร์ภายนอกอาคาร (Out-door Furniture). สืบค้นเมื่อวันที่  8 กรกฎาคม 2565จาก, https://www.banidea.com/outdoor-furniture-garden-design-2012/outdoor-furniture-garden-5/
Baanlaesuan. เก้าอี้ทำจากไม้ไผ่. สืบค้นเมื่อวันที่  22 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.baanlaesuan.com/204908/design/design-update/product/ching-chair
Baansuansabuy. Hans J. Wegner และwishbone Y chair สืบค้นเมื่อวันที่  3 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.baansuansabuy.com/blog-furniture.
Baansuansabuy. ant chair - Arne Jacobsen, 1952. สืบค้นเมื่อวันที่  3 กรกฎาคม 2565.
จาก, https://www.baansuansabuy.com/blog-furniture.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2  จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง สัมมนาการจัดการเรียนการสอนและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4