แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

Accounting Concepts and Financial Reporting

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในศึกษาแนวคิด ข้อสมติฐานทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำและนำเสนองบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการายงานทางการเงิน  การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล รายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายงานแบบบูรณาการ เป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาแนวคิด ข้อสมติฐานทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำและนำเสนองบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการายงานทางการเงิน  การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล รายงานการเงินที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายงานแบบบูรณาการ เป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
 
1) มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
     2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
      3) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาที่เรียน

 ๒) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
 ๓) กำหนดกติกาการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา ความมีวินัย การส่งงาน และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน ความรับผิดชอบการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ประเมินผลจากการกระทำทุจริตในการสอบ
1) มีความรู้และความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
              2) มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
              3) มีความรู้เและความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 
              4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
       1) ใช้การจัดการเรียนสอนแบบ Active Learning เน้นการลงมีปฏิบัติ เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น สอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ และเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
      2) ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต กรณีศึกษา/บทความวิจัยในและต่างประเทศ
     3) ให้ทำงานกลุ่ม ในรูปแบบ Team based Learning และมอบหมายงาน หรือการบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย
     4) เชิญผู้เชี่ยวชาญ/มีประสบการณ์ด้านบัญชีหรือ ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักศึกษาเพื่อเกิดการเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง เช่น โครงการสร้างนักบัญชีคุณภาพรุ่นใหม่ Young & Smart Accountants จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หัวข้อ Update ทิศทาง TFRS และ TFRS for NPAEs ระบบ ZOOM ดำเนินการระหว่างวันที่ 7-14 สิงหาคม 2567
ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษาและการนำเสนอ ตามที่มอบหมาย ประเมินจากการทดสอบ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
       1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
       2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
       3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการแปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
       4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง
        2) สอนแบบเน้นผู้เป็นสำคัญเปิดโอกาศให้นักศึกษาค้นคว้ารายทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
        3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
                ๔) บูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย
 
ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด แก้ปัญหาจากกรณีศึกษา ประเมินจากการสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม

ประเมินจากคุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ  วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 
                2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
                3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา จากการมอบหมายงาน และสลับกันเป็นผู้นำกลุ่มในการนำเสนอ จัดกิจกรรมตอบปัญหา ซักถาม แสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็นที่กลุ่มนำเสนอ บูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
                2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยเวลาในการส่งงาน
                3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
                2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
                3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
จัดกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนองาน ฝึกการวิเคราะห์ และนำเสนอโดยใช้รูปแบบสื่อ     อิเล็กทรอนิกส์ มอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ตัวเลข โดยให้กลุ่มเป็นผู้ กำหนดหัวข้อศึกษาและนำเสนอในชั้นเรียน
การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ผลงานกลุ่ม การสืบค้น การใช้ภาษาเขียนรายงาน และการนำเสนอในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและ  รายกลุ่ม รวมทั้งการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา จากงานที่มอบหมาย

 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การนำเสนอ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 1,2,3,4,5 การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9,17 30% 30%
3 1,2,3,4,5 การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบงานมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือการวิเคราะห์เจาะลึกรายงานทางการเงินและการประเมินมูลค่าตราสารทุน ของอาจารย์ธัญลักษณ์ วิจัตรสาระวงศ์
http://www.tfac.or.th/
http://www.set.or.th/
ใช้แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
นำผลคะแนนของนักศึกษา และ ผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่างผู้สอน คณะกรรมการหลักสูตร เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
วิเคราะห์ข้อมูลจาก สรุปผลจากรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.5) และแบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา โดยผู้สอนจะนำเอาข้อมูลทั้ง 2 ประเด็นทบทวนและปรับปรุงแนวทางการสอนเพื่อให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และวัตถุประสงค์ของรายวิชา 
วิเคราะห์ข้อมูลจาก สรุปผลจากรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.5) และแบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา โดยผู้สอนจะนำเอาข้อมูลทั้ง 2 ประเด็นทบทวนและปรับปรุงแนวทางการสอนเพื่อให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และวัตถุประสงค์ของรายวิชา
การทวนสอบในระดับรายวิชา จะประเมินผลการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างคะแนน ความตรงประเด็นของการออกข้อสอบกับผลการเรียนรู้ของรายวิชา การวัดผลและการให้คะแนน แนวโน้มของระดับคะแนนของนักศึกษา