นวัตกรรมการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ
Innovation for Smart Farming Management
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิตอลเทคโนโลยีระบบฝังตัว
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจหลักการเทคโนโลยีระบบฝังตัว อุปกรณ์รับรู้สภาพแวดล้อมทางการเกษตร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะทางการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติการบริหารจัดการเทคโนโลยีฟาร์มที่เหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
5. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้นวัตกรรมฟาร์มอัจฉริยะ ทั้งเทคโนโลยีระบบฝังตัว อุปกรณ์รับรู้สภาพแวดล้อมทางการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร และการบริหารจัดการเทคโนโลยีฟาร์มที่เหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอลเทคโนโลยีระบบฝังตัว อุปกรณ์รับรู้สภาพแวดล้อมทางการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องการพัฒนา และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมฟาร์มอัจฉริยะทางการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมเกษตร และการบริหารจัดการเทคโนโลยีฟาร์มที่เหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
3
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
กําหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
ร้อยละ 80 ของนักศึกษา เข้าเรียนตรงต่อเวลา
ร้อยละ 80 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกําหนด
ไม่มีการฑุจริตในการสอบ
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมฟาร์มอัจฉริยะทางการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร ได้อย่างเหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
การบรรยายภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติตามเนื้อหา รวมทั้งการทำรายงานสรุปบทปฏิบัติการและจัดกลุ่มการทำฟาร์มอัจฉริยะ
ทดสอบความเข้าใจแต่ละบทเรียนโดยการสอบ ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการจัดทำรายงานบทปฏิบัติการกลุ่ม
นักศึกษาต้องสามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา โดยอ้างอิงหลักการและทฤษฎีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งสามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ให้สอดคล้องกับสภาพและเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต
- ในภาคบรรยายกําหนดหัวข้อให้นักศึกษา ฝึกวิเคราะห์ปัญหา โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ รวมทั้งการค้นคว้าจากฐาน ข้อมูล แล้วนํามาอภิปรายในห้องเรียน
- ส่วนภาคปฏิบัติ กําหนดหัวข้องานกลุ่ม กำหนดปัญหาและอุปสรรคจากแบบฝึกหัดโดยใช้ความรู้ในการปฏิบัติการมาแก้ปัญหา และนํามาเฉลยในห้องเรียนเพื่อชี้แนะความถูกต้องและเหมาะสม
ทดสอบโดยข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
ดูจากรายงาน การนําเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดในชั้นเรียน
- มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
- มีภาวะความเป็นผู้นํา และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาทําปฏิบัติการกลุ่มในห้องปฏิบัติการ ทํางานที่ได้รับมอบหมาย นําเสนองานกลุ่ม
- ประเมินตนเอง และเพื่อนในชั้นเรียน ด้วยแบบฟอร์มที่กําหนด
- ประเมินจากกระบวนการทํางาน และผลงานที่ทําเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
- สังเกตจากพฤติกรรมนักศึกษารายบุคคล
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มเติม ทํารายงาน นําเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากผลงานที่ศึกษาค้นคว้า
- ประเมินจากเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในการนําเสนอในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1 คุณธรรม จริยธรรม | 2 ความรู้ | 3 ทักษะทางปัญญา | 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 1 | 1 | 3 | 1 | 2 |
1 | BSCAG012 | นวัตกรรมการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ | สอบกลางภาคการศึกษา (ทฤษฎี) | 9 | ร้อยละ 20 |
2 | มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ | อบปลายภาคการศึกษา (ทฤษฎี) | 18 | ร้อยละ 20 |
3 | มีความรับผิดชอบต่อบทบาททั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม | การเข้าห้องเรียนและสังเกตการแสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ | ตลอดภาคการศึกษา | ร้อยละ 10 |
4 | ทดสอบย่อยและปฏิบัติในสถานการณ์จริง | ปฏิบัติการทดสอบย่อย | ตลอดภาคการศึกษา | ร้อยละ 40 |
5 | มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน | 16 | ร้อยละ 10 |
ชัยธวัช จารุทรรศน์. 2565. ระบบการผลิตพืชอัจฉริยะ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. 84 หน้า.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
-
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ
-