สรีรวิทยา

Physiology

1.1 อธิบายหน้าที่และการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ และระบบอวัยวะต่าง ๆ อาทิ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหร ระบบไต ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบสืบพันธุ์ การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การควบคุมสมดุลน้ำและกรด-ด่างในร่างกาย ของร่างกายมนุษย์ได้
1.2 อธิบายความผิดปกติในการทำงานของร่างกายมนุษย์และกลไกการเกิดโรคของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ได้
1.3 บอกโรคที่สำคัญและพบบ่อยและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการป้องกันโรคต่าง ๆ ได้
นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางสรีรวิทยาไปประยุกต์ใช้กับหลักการโภชนาการ และการป้องกันโรคที่มีอยู่เดิมรวมถึงโรคอุบัติใหม่
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลไกและการควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ การประยุกต์ความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาในงานด้านอาหารและโภชนาการ  Study of normal processes and mechanisms in regulation of human organ functions; application of basic physiology in food and nutrition.
ดำเนินการจัดเวลาให้นักศึกษาสามารถเข้าพบเพื่อขอคําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการเป็นเวลา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ นอกเหนือจากนั้นแล้วในกรณีเร่งด่วนนักศึกษาสามารถส่งข้อความปรึกษาได้
มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถทำงานเป็นทีม มีเจตนคติและจรรยาบรรณที่ดีต่องานทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา
2. กำหนดให้นักศึกษาแต่งกายเป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. ฝึกนักศึกษาให้มีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกกลุ่ม
4. สอนให้มีความซื่อสัตย์โดยไม่คัดลอกงานของผู้อื่น และไม่กระทำการทุจริตในการสอบ
5. สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอน เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจอาหารและโภชนาการ
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง บรรยายควบคู่กับการอภิปราย สอบถาม โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลเพิ่มเติม การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active learning) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. การค้นคว้าและการจัดทำรายงานที่ได้รับมอบหมาย การส่งรายงาน
3. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้า
มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. ให้นักศึกษาฝึกคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
2. การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา
1. ประเมินจากการจัดทำรายงานและนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
 
มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานกลุ่ม โดยการเปลี่ยนแปลงสมาชิกกลุ่มทุกครั้งที่มอบหมายงาน เพื่อให้นักศึกษาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2. กำหนดหน้าที่การรับผิดชอบงานภายในกลุ่ม และหมุนเวียนความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ความรับผิดชอบที่หลากหลาย
3. จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน
1. ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา คะแนนประเมินจากทั้งอาจารย์ผู้สอนและสมาชิกกลุ่ม
2. ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และระหว่างการทำงานกลุ่ม
มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ มีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและโภชนาการได้อย่างเหมาะสม
1. ใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ ง่ายต่อการทำความเข้าใจในชั้นเรียน
2. กระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
3. แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งสืบค้นข้อมูล
4. มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองและนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย
1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCFN105 สรีรวิทยา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย ความพร้อมในการเรียน การมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 30%, 35%
3 ด้านทักษะทางปัญญา นำเสนอหน้าชั้นเรียน รายงานผลการศึกษาค้นคว้า แบบทดสอบหลังเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน ตลอดภาคการศึกษา
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา สื่อและเทคโนโลยีที่ใช้รายงานผลการค้นคว้า ตลอดภาคการศึกษา 5%
1. คณาจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2557). สรีรวิทยา 1 พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด
2. คณาจารย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2557). สรีรวิทยา 2 พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด
3. รัชฎา แก่นสาร์ และคณะ (2565). สรีรวิทยา 1 ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 4 นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณะสุข
4.  รัชฎา แก่นสาร์ และคณะ (2565). สรีรวิทยา 1 ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณะสุข
5. จักรกฤษณ์ ทองคำ และ สุนีย์ สหัสโพธิ์ (2567). โภชนาการพื้นฐาน พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุบล ชื่นสำราญ (2565). โภชนาการมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์
7. สุนีย์ สหัสโพธิ์ (2564). โภชนบำบัด พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. นฤมล ลีลายุวัฒน์ (2566). บทบาทของโภชนาการและการออกกำลังกายต่อเมทาบอลิซึม พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. รองศาสตรจารย์ ดร.กรุณี ขวัญบุญจัน (2563). โรคที่เกิดจากความเจริญยุคใหม่ บทบาทของโภชนาการ วิถีชีวิต และพันธุกรรม กรุงเทพฯ : ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง จำกัด
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา โดย
1.1 สนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
1.3 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชาพื่อการปรับปรุงรายวิชา ผ่านระบบออนไลน์
1. การประเมินการสอน สอดคล้องกับวิธีการสอน และวิธีประเมินการสอนที่ปรากฏในหมวด 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
2. จำนวนหรือร้อยละของผู้เข้าเรียนแต่ละคาบ และการสังเกตพฤติกรรม
3. คำถาม หรือแบบทดสอบ ผลการเรียนรู้ ทั้งห้าด้าน
4. ผลการประเมินผู้สอนของนักศึกษาและนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการสอนต่อไป
หลังจากทราบผลประเมินการสอนและผลประเมินรายวิชา จะนำข้อเสนอมาปรับปรุงการสอน โดยจัดกิจกรรมระดมสมองร่วมกับนักศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น การจัดสัมมนาการเรียนการสอน การทำวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ผลการทดสอบย่อย รวมถึงพิจารณาจากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน
จากผลการประเมินและการทวนผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดรายวิชา  โดยมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุก 5 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา