เทคโนโลยีการผลิตยางพารา

Para Rubber Production Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.1 มีความรู้และทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ พฤกษศาสตร์ของยางพารา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง การผลิตต้นพันธุ์ยาง เทคโนโลยีการผลิต การกรีดยาง การผลิตยางแผ่น ผลิตภัณฑ์ยาง การตลาด สถานการณ์และนโยบาย การผลิตยางของประเทศไทย 1.2 สามารถนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราไปประยุกต์ไปใช้ในการผลิตยางพาราได้จริง 1.3 มีสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 1.5 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิตยางพารา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราอันเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการผลิต โดยมีการนำเอาผลงานวิจัยใหม่ๆ มาเพิ่มเติมในเนื้อหาของรายวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับการผลิตยางพาราที่มีในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ พฤกษศาสตร์ของยางพารา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง การผลิตต้นพันธุ์ยาง เทคโนโลยีการผลิต การกรีดยาง การผลิตยางแผ่น ผลิตภัณฑ์ยาง การตลาด สถานการณ์และนโยบาย การผลิตยางของประเทศไทย
3 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงการสอน
1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. การสอนแบบสาธิตและประพฤติตนเป็นตัวอย่าง 2. การสอนแบบบรรยายและกำหนดให้ใช้เอกสารอ้างอิง อย่างถูกต้องและเหมาะสม ในการเขียนรายงาน
3.ส่งเสริมการทำกิจกรรมกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการการปฏิบัติงานกลุ่ม 2. ประเมินจากการส่ง และการเขียนรายงาน 3. ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ
1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) และให้มีการอภิปรายกลุ่ม 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) 3. การสอนแบบบรรยาย 4. กำหนดให้หาความรู้เพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ต 5. ศึกษานอกสถานที่
1. การสังเกตความสนใจ 2. การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินจากการนำเสนองานและส่งรายงาน 4. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
 
1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนแบบ Problem Base Based Learning โดยให้สัมภาษณ์การผลิตยางของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่าน และนำข้อมูลดังกล่าวมาอภิปราย 2.การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) - ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา 3. การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) - ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ รวมการค้นคว้าจากฐานข้อมูล
1. การสอบ 2. การเขียนรายงาน 3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4. การปฏิบัติงาน
1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. ให้ทำงานมอบหมายและปฏิบัติแบบกลุ่ม 2. ให้มีการนำเสนอข้อมูลของกลุ่มแก่เพื่อนๆ ในชั้นเรียน
1. ประเมินจากความตั้งใจและการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการ
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล 2. การมอบหมายงานให้จัดทำรายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนำเสนอผลงาน
1. ประเมินจากทักษะการเขียน และ และการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการอ่านและการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเข้าใจ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะด้านพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG145 เทคโนโลยีการผลิตยางพารา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการการปฏิบัติงานกลุ่ม 2. ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ ทุกสัปดาห์ที่เรียน ยกเว้นสัปดาห์ที่มีการสอบ และกรณีของรายงานจะพิจารณาประเมินในสัปดาห์ที่ 17 10 %
2 ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ 1. การสังเกตความสนใจ 2. การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินจากการนำเสนองานและส่งรายงาน 4. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การทดสอบย่อย 4 ครั้ง สัปดาห์ที่ 4, 6, 12, 14 สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 9 และสอบปลายภาคสัปดาห์ที่ 17 50 %
3 ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 1. การสอบ 2. การเขียนรายงาน 3. การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 4. การปฏิบัติงาน การสอบกลางภาคและปลายภาค การนำเสนอผลงาน/การรายงาน 15 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา ประเมินจากความตั้งใจและการมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การถามตอบ การมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 10 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา ประเมินจากทักษะการเขียน การส่งใบงาน และการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการอ่านและการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย สัปดาห์ที่ 4, 8, 12 และ 16 15 %
พิชัย สุรพรไพบูลย์. 2562.  เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีการผลิตยางพารา. คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, น่าน.
นุชนารถ กังพิศดาร. 2547. ประวัติและความสำคัญของยาง. เอกสารวิชาการ ยางพารา. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. 2562. ายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง "ภาพรวมของยางพาราทั้งระบบ". สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. ชูชาติ ตันอังสนากุล และ วรรณดี สุทธินรากร. 2559. ทางออกเพื่อความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 31 (1): 57-62. นุชนารถ กังพิศดาร และคณะ. 2548. เอกสารวิชาการยางพารา. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. นุชนารถ กังพิศดาร. 2557. การใช้ปุ๋ยยางพาราตามค่าวิเคราะห์ดิน. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. บงการ พันธุ์เพ็ง ฑีประพันธุ์ น้อยอินทร์ และ พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ. 2558. ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิตยางพารา. กสิกร 88 (2) : 32-36. วสันต์ชัย ทองนอก. 2551. สถานการณ์การยางพารา และการพยากรณ์มูลค่าการส่งออกยางพาราของประเทศไทย. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. ศิวโรฒ บุญราศรี. 2559. ปัญหายางพาราราคาตกต่ำ. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์ 17 (1): 52-59. สุทัศน์ ภูมวิจิตรชัย. 2547. ยางพารา. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข. 2547. พันธุ์ยาง. เอกสารวิชาการ ยางพารา. กรม  วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ให้ผู้เรียนประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ และมีระบบการประเมินรายวิชาโดยให้ผู้เรียนประเมินและแสดงความเห็นผ่านการประเมินรายวิชาทางระบบอินเตอร์เน็ต
อาจารย์ผู้สอนดำเนินการ โดยการสังเกต การตรวจรายงาน และการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยพิจารณาจากความสนใจ ความเข้าใจ และผลการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนวิชาประเมินการสอนด้วยตนเอง ด้วยการสังเกต การพิจารณาผลการเรียนและการสอบของนักศึกษา จัดทำรายงานประเมินตนเองเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเสนอหัวหน้าสาขา
สาขาวิชามีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินการสอน ข้อสอบ และความเหมาะสมของการให้คะแนน
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และผลการประเมินโดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามาพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตร