วัชพืชและการควบคุม
Weeds and Their Controls
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำงายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้งาน
เมื่อนักศึกษาเรียนผ่านรายวิชานี้แล้ว จะมีความรู้/ความสามารถ และสมรรถนะดังต่อไปนี้
2.1 มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดของวัชพืช วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำลายของสารเคมีในการกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้งาน
2.2 สามารถสืบค้น รวบรวม คิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับวัชพืชและการควบคุม และถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
2.3 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2.4 มีวินัย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2.5 มีความรับผิดชอบในวิชาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำลายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้
Study and practice of importance of weeds, biological and ecological classification of major weeds, weeds prevention and control, types and physiological damage of herbicides and herbicides application and safety
3.1 ทุกวัน เวลา 12.00 - 13.00 น. ห้องพักอาจารย์ สาขาพืชศาสตร์ หรือ โทรศัพท์ 094-6257210
3.2 ทาง e-mail: waravut_losuk@rmutl.ac.th
1. ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรมซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
2. มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
3. มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
4. สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนรวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ
1. ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
2. ประเมินความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ประเมินความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
4. ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5. ประเมินผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
6. ประเมินพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
- มีความรู้สามารถบอกความหมายของวัชพืช ลักษณะของวัชพืชร้ายแรง การจำแนกประเภทของวัชพืช ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืช การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก ความเสียหายที่เกิดจากวัชพืชได้ - มีความรู้เรื่องวิธีการควบคุมวัชพืชแบบต่างๆ ทั้งในพื้นที่ทำการเกษตรและนอกพื้นที่ทำการเกษตร - มีความรู้เรื่องการจำแนกประเภทสารกำจัดวัชพืช ข้อดีและข้อเสียของการใช้สารกำจัดวัชพืช คุณสมบัติของสารกำจัดวัชพืช การเลือกทำลายของสารกำจัดวัชพืช อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช และวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้อง - มีความเข้าใจสามารถอธิบายตลอดจนประยุกต์ใช้วิธีการควบคุมกำจัดวัชพืชแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม
- การบรรยาย อธิบาย ยกตัวอย่าง เรื่องความสำคัญของวัชพืช การจำแนกประเภทและชนิดของวัชพืช ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืช การขยสยพันธุ์และการแพร่กระจายพันธุ์ของวัชพืช การแก่งแย่งแข่งขันระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก ความเสียหายที่เกิดจากวัชพืช วิธีการควบคุมวัชพืช การจำแนกประเภทสารกำจัดวัชพืช ข้อดีและข้อเสียของการใช้สารกำจัดวัชพืชคุณสมบัติของสารกำจัดวัชพืช การเลือกทำลายของสารกำจัดวัชพืช อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการพ่นสารกำจัดวัชพืช และวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยใช้ powerpoint ให้นักศึกษาได้ชมคลิปวิดีทัศน์จากสื่อออนไลน์ และการถาม-ตอบในชั้นเรียน - การปฏิบัติ ให้นักศึกษาดูตัวอย่างต้นวัชพืชชนิดต่างๆ ลักษณะส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชแบบต่างๆ ศึกษาวิธีการประเมินความหนาแน่นของวัชพืชและความเสียหายในแปลงปลูกพืช ศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชแบบต่างๆในแปลงปลูกพืชเศรษฐกิจ ทดลองใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายและเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช การล้างทำความสะอาดและการดูแลรักษาเครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืช ทดลองการคำนวณปริมาณสารกำจัดวัชพืช ทดลองใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทใช้พ่นทางใบและพ่นทางดิน - กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process) ให้นักศึกษาค้นคว้าเรื่อง วัชพืชและการป้องกันกำจัดวัชพืช จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางวิชาการ - การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies) ให้งานมอบหมายรายบุคคล - การสอนแบบ (Brain Storming Group) ให้งานมอบหมายกลุ่ม
- โดยการสอบย่อย ภายหลังการเรียนในแต่ละบทจบ - โดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค - โดยการประเมินผลการปฏิบัติในห้องทดลอง และในแปลงทดลอง - โดยการตรวจงานมอบหมาย การทำรายงาน แบบฝึกหัด การนำเสนอ - โดยประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และในแปลงทดลอง
1. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
2. มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3. แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของควบคุมวัชพืช รวมทั้งวิธีการใช้สารกำจัดวัชพืชและการผสมผสานวิธีการอื่นที่ไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช โดยการไปศึกษาจากสภาพจริงในแปลงเกษตรกรหรือในแปลงทดลอง
- รายงาน/ผลงาน ที่นักศึกษาจัดทำ - การนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน - การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ - ประเมินจากความสนใจตั้งใจในการศึกษาและการปฏิบัติในแปลง การซักถามปัญหาและการเสนอความคิดเห็น
1. กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
2. มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
1. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5. มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6. สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
1. ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง สถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
1. ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
2. ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
3. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1. มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
1. ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรมจริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 6.ทักษะด้านพิสัย | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 |
1 | BSCAG603 | วัชพืชและการควบคุม |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา | 1. ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการการปฏิบัติงานกลุ่ม 2. ประเมินจากความซื่อสัตย์ในการสอบ | ทุกสัปดาห์ที่มีการเรียนการสอน | 10 % |
2 | ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ | 1. การสังเกตความสนใจ 2. การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ประเมินจากการนำเสนองานและส่งรายงาน 4. การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน | การทดสอบย่อย 4 ครั้ง สัปดาห์ที่ 4, 6, 12, 14 สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 8 และสอบปลายภาคสัปดาห์ที่ 17 | 50 % |
3 | ด้านทักษะทางปัญญา | 1. การสอบ 2. การเขียนรายงาน 3. การมีส่วนร่วมตอบคำถามในชั้นเรียน 4. การปฏิบัติงานและการใช้ทักษะ 5.การนำเสนองานและความเข้าใจ | ทุกสัปดาห์ | 15 % |
4 | ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา | ประเมินจากความตั้งใจและการมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การถามตอบ การมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่ม | ทุกสัปดาห์ | 10 % |
5 | ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ประเมินจากทักษะการเขียน การส่งใบงาน และการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จากการอ่านและการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลจากงานทดลองและการแปลความหมาย | สัปดาห์ที่ 4, 8, 12 และ 16 | 15 % |
ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. ชีววิทยาวัชพืช; พื้นฐานการจัดการวัชพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตร-ศาสตร์ : กรุงเทพฯ. ธวัชชัย รัตนชเลศ. J.F. Maxwell 2535. รายชื่อวัชพืชที่มีรายงานพบในประเทศไทย. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่. ประเสริฐ ชิตพงศ์ 2540. วัชพืชและการจัดการ. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : หาดใหญ่. พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2540. วัชพืชศาสตร์. สำนักพิมพ์รั้วเขียว : กรุงเทพฯ. พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2542. วัชพืชและการป้องกันกำจัด. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่ : เชียงใหม่. รังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2531. สารกำจัดวัชพืชกับผลทางสรีรวิทยาของพืช. เล่ม 1 พื้นฐานการเลือกทำลาย. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ. อัมพร สุวรรณเมฆ. 2525. วิทยาการวัชพืช. สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย : กรุงเทพฯ
อัมพร สุวรรณเมฆ. 2527 ข. การควบคุมวัชพืชในพืชไร่. เอกสารวิชาการ, วิทยาการวัชพืช, สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 205-216.
อัมพร สุวรรณเมฆ และโสภณ ปิยะศิรินนท์ . 2520. การควบคุมแห้วหมู. วิทยาสารของชมรมวัชพืชแห่งประเทศไทย. 2(1): 11-24.
ฤกษ์ ศยามานนท์. 2527. บทบาทของวัชพืชที่มีต่อการเกษตร. เอกสารวิชาการ, วิทยาการวัชพืช, สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 1-10.
อัมพร สุวรรณเมฆ และโสภณ ปิยะศิรินนท์ . 2520. การควบคุมแห้วหมู. วิทยาสารของชมรมวัชพืชแห่งประเทศไทย. 2(1): 11-24.
ฤกษ์ ศยามานนท์. 2527. บทบาทของวัชพืชที่มีต่อการเกษตร. เอกสารวิชาการ, วิทยาการวัชพืช, สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย. 1-10.
เว็ปไซต์ของหน่วยงาน องค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทผู้ผลิตจำหน่ายสารกำจัดวัชพืช และเครื่องมืออุปกรณ์กำจัดวัชพืช คลิปวีดีโอ เกี่ยวกับวิธีการควบคุมวัชพืชในพื้นที่ทำการเกษตร และนอกพื้นที่ทำการเกษตร โดยวิธีต่างๆ การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้เครื่องมือกำจัดวัชพืช ในเว็ปไซต์และช่อง YOUTUBE https://research.ku.ac.th/forest/Search.aspx?keyword/สารเคมีกำจัดวัชพืช https://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/weed/index.htm/วัชพืชและการจัดการ
ให้ผู้เรียนประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ และมีระบบการประเมินรายวิชาโดยให้ผู้เรียนประเมินและแสดงความเห็นผ่านการประเมินรายวิชาทางระบบอินเตอร์เน็ต
อาจารย์ผู้สอนดำเนินการ โดยการสังเกต การดูผลการปฏิบัติงาน การตรวจรายงาน และการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค โดยพิจารณาจากความสนใจ ความเข้าใจ และผลการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอนวิชาประเมินการสอนด้วยตนเอง ด้วยการสังเกต การพิจารณาผลการเรียนและการสอบของนักศึกษา จัดทำรายงานประเมินตนเองเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเสนอหัวหน้าสาขา
สาขาวิชามีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทาหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินการสอน ข้อสอบ และความเหมาะสมของการให้คะแนน
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และผลการประเมินโดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามาพิจารณาร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตร เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป