เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Pre Co-operative Education and Job Internship in Business Management

เตรียมสหกิจศึกษาเป็นรายวิชาที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนก่อนที่จะออกไปสหกิจศึกษาในสถานประกอบการจริง เนื้อหาในรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน ตั้งแต่ภาพรวมของสหกิจศึกษา บัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการณ์ การเตรียมตัวให้พร้อมในด้านต่างๆ ก่อนออกไปสหกิจศึกษา เช่น การวางแผน การประกอบอาชีพในอนาคต จริยธรรม-ความปลอดภัยในที่ทำงาน เทคนิคการนำเสนอ เทคนิคการสมัครงานและสอบสัมภาษณ์ เทคนิคการแต่งหน้า ทำผม หรือแม้กระทั้งการแต่งตัวอย่างไรให้เหมาะสม นอกจากนี้ วิชาเตรียมสหกิจฯ ยังเสริมการเรียนรู้เรื่องวิธีการเขียนประวัติย่อเป็นภาษาอังกฤษ-เขียนอย่างไรให้ได้งาน รวมถึงการเขียนรายงานสหกิจศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำเมื่อเสร็จจากการออกสหกิจศึกษาแล้ว วิชาเตรียมสหกิจศึกษา มุ่งหวังที่จะให้ผู้เรียนได้รับรู้ เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อก้าวสู่โลกแห่งการทำงานจริง
LO1 : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดหลักการสหกิจศึกษาและบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการได้
LO2 : นักศึกษามีความพร้อมก่อนไปปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ
LO3 : นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารเชิงวัจนะและอวัจนะภาษา เลือกใช้รูปแบบการสื่อสารได้
LO4 : นักศึกษามีความเข้าใจในการปรับตัวและเลือกรูปแบบการปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน
LO5: นักศึกษามีความเข้าใจในบุคลิกภาพและมารยาทในสังคมการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม
LO6: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
อาจารย์ประจำรายวิชาจัดตาราง กำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษา (Office Hour) เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม รวมจำนวน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คือในวันอังคารในช่วงเวลา 13:00 – 15:00 ณ ห้องพักอาจารย์ชั้น 2 สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และนักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาผ่านทาง Line โดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม ดังนั้น อาจารย์พยายามสอดแทรกเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมตามที่ระบุไว้ดังนี้
1. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม การศึกษาแนวคิด หลักการสหกิจศึกษาและบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ของสถานประกอบการ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติสหกิจศึกษา เข้าใจถึงหลักการ “ครองตน ครองคน และครองงาน” ซึ่งประกอบด้วย การพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ การประหยัดและเก็บออม รู้จักใช้ชีวิตการทำงานตามควรแห่งฐานะ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและรู้จักทรัพย์สินของหน่วยงานให้เป็นประโยชน์และประหยัด
2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวิจัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคมผู้สอนสอดแทรกให้ผู้เรียนตระหนักถึงเหตุผล ที่มา และคุณค่าคุณประโยชน์ของกฎระเบียบที่มีต่อบุคคล และส่วนรวม การประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ฝึกให้ผู้เรียนประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบ จนเกิดเป็นคุณลักษณะประจำตัวที่ควบคุมตนเองให้ประพฤติตามกฎและระเบียบ การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
1. จัดการเรียนการสอนและกิจกรรมการศึกษาให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจ และตระหนักในเหตุผลที่มา คุณค่าคุณประโยชน์ของกฎระเบียบที่มีต่อบุคคล สังคมส่วนรวม และคุณค่าประโยชน์ของการประพฤติตามกฎระเบียบ
2. ฝึกให้ผู้เรียนประพฤติตามกฎระเบียบต่างๆ จากสถานศึกษาที่ง่ายหรือทั่วไปไปสู่ที่ยากละเอียดอ่อนมากขึ้น จนเกิดความเคยชินเป็นอุปนิสัยหรือคุณลักษณะประจำที่จะควบคุมตนเองให้ประพฤติตามกฎระเบียบได้ด้วยตนเอง เป็นต้นว่า ในเรื่อง การแต่งกาย ระเบียบการเข้าชั้นเรียน และการปฏิบัติตัวในการสอบ การแสดงความเคารพครูอาจารย์ การตรงต่อเวลา การปฏิบัติตามคำสั่งสอน เช่น การทำการบ้าน การส่งผลงานในบทเรียน ฯลฯ การปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบในห้องเรียน การทิ้งขยะเป็นที่
3. จัดให้มีการชมเชย ยกย่อง สรรเสริญนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มที่เป็นผู้ประพฤติตามกฎระเบียบ ได้เป็นอย่างดี การฝึกผู้เรียนให้ประพฤติตามกฎระเบียบจนเกิดเป็นอุปนิสัย สามารถควบคุมตนเองให้ประพฤติตามกฎระเบียบได้ด้วยตนเอง
1. พฤติกรรมการเข้าห้องเรียน การแต่งกาย และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงต่อเวลา
2. มีข้อมูลและการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นจริง
3. ประเมินผลวิธีการนำเสนองาน
สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การซักถาม การมอบหมายงาน การใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับฐานข้อมูล เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. การติดตั้งและใช้งานซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
2. การมอบหมายงานกลุ่ม และการนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์นักศึกษา
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
2. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
1. อภิปรายกลุ่ม นำเสนองานหน้าชั้นเรียน
2. ระดับความคิดและความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีศึกษา
3. สังเกตพฤติกรรมกลุ่มและบุคคล
1. ประเมินจากสภาพจริงจากผลงาน
2. พิจารณาจากรายงาน ใบงานและอภิปราย
3. บันทึกสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
4. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ
มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำใบงานร่วมกัน
2. การมอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล
1. การประเมินตนเองและเพื่อนร่วมชั้น ตามรูปแบบหรือฟอร์มที่กำหนด
2. รายงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ความตรงต่อเวลาในการนำเสนอ การส่งมอบงานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
1. ติดตั้ง และใช้โปรแกรม เทคโนโลสารสนเทศ
2. ใช้งาน และทดสอบการปฏิบัติงานจริงกับโปรแกรม
1. การจัดทำรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิราย
ความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปสู่การมีทักษะในการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ทำงานในหน่วยธุรกิจ หรือประกอบธุรกิจ
ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสภาพการทำงานจริง และเชิญวิทยากร
สังเกตุพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม 1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์ 3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 4.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 6.3 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต ด้วยการกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1 BBACC114 เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม 1. พฤติกรรมการเข้าห้องเรียน การแต่งกาย และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงต่อเวลา 2. มีข้อมูลและการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นจริง 3. ประเมินผลวิธีการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. การมอบหมายงานกลุ่ม และการนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์นักศึกษา สัปดาห์ที่ 6, 9 10%
3 1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ 2. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม 1. ประเมินจากสภาพจริงจากผลงาน 2. พิจารณาจากรายงาน ใบงานและอภิปราย 3. บันทึกสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น 4. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม 1. การประเมินตนเองและเพื่อนร่วมชั้น ตามรูปแบบหรือฟอร์มที่กำหนด 2. รายงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3. ความตรงต่อเวลาในการนำเสนอ การส่งมอบงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม การทำงานกลุ่มและมีการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม สัปดาห์ที่ 7, 8, 9 20%
6 ความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปสู่การมีทักษะในการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ทำงานในหน่วยธุรกิจ หรือประกอบธุรกิจ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสภาพการทำงานจริง และเชิญวิทยากร สัปดาห์ที่ 14, 15 20%
ชรัตน์  รุ่งเรืองศิลป์. (2541). คู่มือการประกอบธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
ลำดวน  จาดใจดี. (2545). การสมัครงานและการสอบสัมภาษณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนพล วิทยาการ จำกัด.
คูมือสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
เอกสารประกอบการประกอบการฝึกอบรมคณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา สมาคมสหกิจศึกษาไทย
เว็บไซด์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลวิชา 
ในการประเมินประสิทธิผลในรายวิชามีดังนี้
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาสำหรับทุกบทเรียนและกิจกรรมตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด เมื่อมีการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ตลอดระยะเวลาการเรียน 17 สัปดาห์ สังเกตคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ ต่อไปนี้
1. การทำงานเป็นทีม
2. การสื่อสารด้วยวัจนะและอวัจนะภาษา
3. การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน
4. บุคลิกภาพและมารยาททางสังคม
5. ทักษะการนำเสนอในการนำเสนอ Storytelling
กลยุทธ์การประเมินการสอนเป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้และคุณลักษณะสำคัญที่ต้องประเมิน ได้จากการสังเกตุพฤติกรรมระหว่างการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ตลอดระยะเวลาการเรียน 17 สัปดาห์จากคุณลักษณะ 5 ประการดังกล่าว
ปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับยุคสมัย
ในระหวา่งกิจกรรมการเรียนการสอน ได้มีการทวนสอบโดยอาจารย์ผู้สอนพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาแนวการสอนและการประเมินผล ให้เป็นไปตามระเบียบการวัดผลของมหาวิทยาลัย
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาของนักศึกษาไม้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดรายวิชา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
1. ปรับปรุงแนวการสอนและพัฒนาวิธีการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
2. ประสานงานศุนย์สหกิจศึกษาในการดำเนินงานกิจกรรมเตรียมสหกิจศึกษา
3. ประสานอาจารย์ต่างสาขาทีมีทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์
4. วางแผนปฏิบัติงานในรายวิชาเพื่อพัฒนาทักษะคุณลักษณะของนักศึกษา