ฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 2

Field Experience in Food Science and Technology 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ทางทฤษฏีและปฏิบัติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม มีจิตอาสา ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความอดทน สามารถทำงานร่วมกันในสังคมได้
1.4 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนองาน การสร้างสื่อ รวมถึงทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในสถานประกอบการจริง
1.5 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน การแก้ไขปัญหา และมีแนวทางการประยุกต์ใช้ในอนาคต
เพื่อทบทวนจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของรายวิชา รวมถึงการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถาวการณ์ในปัจจุบัน โดยยังคงมุ่งเน้นให้เป็นรายวิชาที่นักศึกษาได้มีโอกาสในการบูรณาการความรู้และทักษะที่ได้จากการศึกษามาทั้งหมดตลอดหลักสูตร นำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงาน เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานเป็นทีม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การควบคุมดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการณ์และอาจารย์ที่ปรึกษา  
ฝึกปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการที่เกี่ยวข้องกับอาหารภายในหรือต่างประเทศไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษา ในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและ ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน On-the-job training in food manufacturing industry or government organization in the country or abroad for at least 300 hours; integration of the theory and practical skills related to the knowledge of food technology; report writing and oral presentation by the end of the training.
 
   1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
˜1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
   1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ปฐมนิเทศน์นักศึกษาก่อนการออกฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
2. ในระหว่างฝึกงานผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงดูแลการเข้าฝึกงานและการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ตลอดระยะเวลาในช่วงการฝึกงาน บันทึกการฝึกงานประจำวัน


3. นิเทศฝึกงานและมอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน และนำเสนองานด้วย power point หลังฝึกฯ
1. อาจารย์ประจำวิชาตรวจสอบการเข้ารับการปฐมนิเทศก่อนออกฝึกประสบการณ์ สังเกตความสนใจ ความใส่ใจระหว่างปฐมนิเทศ
2. ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงประเมินการเข้าฝึกงาน การขาด ลา มาสาย การแต่งกาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ จิตอาสา ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความอดทน ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และตรวจสอบความถูกต้องของบันทึกประจำวันของนักศึกษาฝึกงาน


3. อาจารย์ประจำวิชาตรวจสอบการเข้ารับการนิเทศฝึกงาน และการส่งรายงาน การส่งบันทึกฝึกงาน และการส่ง power point หลังฝึกงาน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา


   2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ 


ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
š2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ


2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. ในระหว่างฝึกงานผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและความรู้ในการฝึก นักศึกษานำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ควบคุมหรือพนักงานพี่เลี้ยง 2. นักศึกษานำเสนอผลการฝึกงานต่อหลักสูตรหลังการฝึกงานสิ้นสุด
1. ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงทดสอบความรู้ของนักศึกษาด้วยการสอบถามความรู้และความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง ไม่เกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการ และตรวจความถูกต้องของรายละเอียดบันทึกการฝึกงานประจำวัน 2. อาจารย์ประจำหลักสูตรประเมินความรู้ที่ได้รับหลังการฝึกงาน การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ได้รับ การแก้ปัญหาในระหว่างฝึกงาน และจากการนำเสนอผลการฝึกงาน
  3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ


š3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ 


3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


˜3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
ในระหว่างฝึกงานนักศึกษานำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง  จนเกิดทักษะปฏิบัติเฉพาะด้าน ในสถานประกอบการภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ควบคุมหรือพนักงานพี่เลี้ยง
ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงทดสอบทักษะปฏิบัติเฉพาะด้านที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา  สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีและถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ ใช้เวลาในการทำให้เกิดความสำเร็จของชิ้นงานน้อยกว่าการปฏิบัติในช่วงแรก และไม่เกิดความเสียหายต่องาน สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ 
˜4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
˜4.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ


   4.4  สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. อาจารย์ประจำวิชาปฐมนิเทศก่อนออกฝึกงานในด้านความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น การวางตัวและบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมในระหว่างฝึก
2. ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงมอบหมายงานในระหว่างฝึกและอาจมอบหมายโจทย์งานวิจัย 3. อาจารย์ประจำวิชามอบหมายงานให้นักศึกษานำเสนอผลการฝึกงาน ส่งรายงาน ส่งบันทึกฝึกงาน และส่ง power point ต่อหลักสูตรหลังการฝึกงานสิ้นสุด
1. ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงประเมินการแสดงออกในด้านความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น การวางตัวและบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสม ไม่มีปัญหากับผู้อื่นในระหว่างฝึกงาน ทั้งการทำงานแบบเดี่ยวและกลุ่ม การได้รับความไว้วางใจในการปฏิบัติงานเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องอาศัยการแนะนำ และเกี่ยวข้องกับหลายคนหรือหลายบทบาทหน้าที่


2. อาจารย์ประจำวิชาประเมินความรับผิดชอบในการนำเสนอผลการฝึกงาน การส่งรายงาน ส่งบันทึกฝึกงาน และส่ง power point
š5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ   5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ 
สื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
  5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
š5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
1. ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงมอบหมายงานในระหว่างฝึก การสร้างสื่อและการนำเสนองาน


2. อาจารย์ประจำวิชามอบหมายงานให้นักศึกษานำเสนอผลการฝึกงาน ต่อหลักสูตรหลังการฝึกงานสิ้นสุด
1. ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงประเมินความเข้าใจจากการฝึกงาน การวิจารณ์และสรุปประเด็นปัญหา การนำไปใช้ สามารถนำเสนองาน สร้างสื่อและนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. อาจารย์ประจำวิชาประเมินผลการนำเสนอฝึกงานในสถานประกอบการ
˜6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงดูแลการเข้าฝึกงานและการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา แนะนำการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ การบำรุงรักษาที่เหมาะสม การปฏิบัติงาน ตลอดระยะเวลาในช่วงการฝึกงาน
ผู้ควบคุมหรือพี่เลี้ยงประเมินการฝึกงานนักศึกษาประจำวันดังนี้
1. ประเมินความรับผิดชอบความสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จในระยะเวลาที่กำหนดหรือได้รับมอบหมาย
2. ประเมินทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสม


3. ประเมินการทำงานเป็นกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT146 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ศิวาพร  ศิวเวช. 2542. การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ
             อาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 384 หน้า
บทความเกี่ยวกับระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น
          www.fda.moph.go.th
www.foodfti.com/
www.tisi.go.th/
www.foodnetworksolution.com/wiki/word/335/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3