ภาษาอังกฤษสำหรับการบัญชี

English for Accounting

1. เพื่อศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการทำงานบัญชีในสถานการณ์ต่างๆ
2. เพื่อฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพบัญชีในสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในวิชาชีพบัญชี โดยปรับเนื้อหาให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น
ศึกษาและฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพบัญชีในสถานการณ์ต่างๆ สำหรับการทำงานบัญชี รวมถึงคำศัพท์เฉพาะ เอกสารทางบัญชี รายงานทางการเงิน
-   อาจารย์ประจำรายวิชาแจ้งให้ทราบในชั่วโมงแรกของการเรียน และจัดตั้งไลน์กลุ่มเพื่อเป็นช่องทางในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวัง รอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
- สอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต รอบคอบ และความรับผิดชอบ เข้าไปในระหว่างการสอน
- ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
- ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
- ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
- ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
- ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยาย การยกตัวอย่าง การถาม – ตอบในห้องเรียน
- จัดให้มีการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชั้นเรียน
 
- ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย การแสดงบทบาทสมมุติหน้าชั้นเรียน
- การประเมินจากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
- ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้สถานการณ์จำลอง
- สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า และแสดงบทบาทสมมุติหน้าชั้นเรียน รวมทั้งแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
- ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของรายวิชา
- ประเมินจากผลการแสดงบทบาทสมมุติ รวมทั้งผลการแสดงความคิดเห็น
 
มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
มอบหมายให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมุติ
- ประเมินจากการแสดงบทบาทสมมุติ
- ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
- สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ให้นำเสนอการแสดงบทบาทสมมุติในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในบทบาทสมมุติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BACAC155 ภาษาอังกฤษสำหรับการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.1.1 3), 2.2.2.1 2), 2.2.4.1 1) งานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20
2 2.2.1.1 3), 2.2.2.1 2) การทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20
3 2.2.1.1 3), 2.2.2.1 2), 2.2.3.1 2), 2.2.4.1 1), 2.2.5.1 3) การแสดงบทบาทสมมุติ ตลอดภาคการศึกษา 20
4 2.2.1.1 3), 2.2.2.1 2), 2.2.3.1 2) สอบกลางภาคเรียน 8 15
5 2.2.1.1 3), 2.2.2.1 2), 2.2.3.1 2) สอบปลายภาคเรียน 17 15
6 2.2.1.1 3), 2.2.4.1 1) จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา (ผ่านระบบการจัดประเมินของมหาวิทยาลัย) ข้อเสนอแนะผ่านระบบการสื่อสารออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์ผู้เรียน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3   พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอนโดยการเข้ารับการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชาดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยแบ่งการประเมินออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3  การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมินตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรดโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือสาขาวิชา
จากผลการประเมินและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิช
5.2 นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ. 5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ. 3 ในครั้งต่อไปโดยอาจารย์ผู้สอน
5.3 นำผลการทวนสอบฯ ไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร