การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Life and Social Skills

ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาและหลักธรรมในการดำรงชีวิตและการทำงานของบุคคล การสร้างแนวคิดและเจตคติต่อตนเองศึกษาหลักธรรมกับการสร้างคุณภาพชีวิต บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งหลักการบริหารตนให้เข้ากับชีวิตและสังคมและการปรับตัวให้เข้ากับสังคม และการศึกษาถึงเทคนิคการครองใจคนและการสร้างผลิตผลในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิด เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตของตนเอง การอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนวิธีการทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำหลักเกณฑ์เทคนิควิธีไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ พัฒนาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษาให้เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี และพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาและหลักธรรมในการดำรงชีวิตและการทำงานของบุคคล การสร้างแนวคิดและเจตคติต่อตนเองศึกษาหลักธรรม กับการสร้างคุณภาพชีวิต บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งหลักการบริหารตนให้เข้ากับชีวิตและสังคมและการปรับตัวให้เข้ากับสังคม และการศึกษาถึงเทคนิคการครองใจคนและการสร้างผลิตผลในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
— อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเอกสารประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus)
— อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1.1.1     มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.3      มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
บรรยายเรื่องหลักธรรมพื้นฐานในการดำเนินชีวิต คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ   อภิปรายกลุ่ม กำหนดข้อกำหนดการปฎิบัติตนในห้องเรียนร่วมกันในชั้น
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1     พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรง
              เวลา
1.3.2     ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.3     สังเกตการณ์การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1     มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การทำงานเดี่ยว การนำเสนอรายงาน การศึกษาจากกรณีตัวอย่าง และการศึกษาจากพื้นที่จริง
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีรวมถึงการบูรณาการความรู้เข้ากับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเมินจากการนำเสนอ ผลการทำงานกลุ่มและการทำงานเดี่ยว
มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1     อภิปรายกลุ่ม
3.2.2      การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1     สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
3.3.2     วัดผลจากการนำเสนอผลงาน
3.3.3     สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1     สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
3.3.2     วัดผลจากการนำเสนอผลงาน
3.3.3     สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1     สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2     สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขอย่างเหมาะสม
5.2 วิธีการสอน
5.2.1     มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5.2.2     นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1     ประเมินจากการนำเสนอและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2      ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะทางสังคม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
มีทักษะการสร้างคงวามสัมพันธ์ทางสังคม
1. ปฎิบัติจริง
2. ศึกษากรณีศึกษา
3. คลิปวีดีโอ
1. ทดสอบปฏิบัติ
2. ข้อสอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-3 บทที่ 4-5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 25% 25%
2 บทที่ 1-5 การนำเสนอผลงาน การทำงานกลุ่มและผลงานเดี่ยว การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 บทที่ 1-5 การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การสังเกต ตลอดภาคการศึกษา 10%
วิภาพร มาพบสุข. (2547). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.
              สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ. (2548). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.
พรรณราย  ทรัพย์ประภา. (2548). จิตวิทยาแนว TA,
วิจิตร  อาวะกุล. (2533). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์.
วิทย์  วิศทเวทย์. (2537). ปรัชญาทั่วไป.
สมศรี  สุกุมลนันท์. (2536). มารยาทสังคม.
สุรางค์  โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา.
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ . (2548).การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม เรื่อง มารยาทไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีรูปแบบการนำเสนอบทสรุปต่างกัน . เผยแพร่ในวารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2548
___________________ .(2552).การจัดทำตัวบ่งชี้คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัญฑิตสำหรับสถานประกอบการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา .ปีงบประมาณ 2552 กำลังรอลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
___________________ .(2551).การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ Storyline Method เพื่อให้นักศึกษาปลอดภัยจากปัญหาสังคม.  ปีงบประมาณ 2551 กำลังรอลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนารายบุคคลระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนผ่านระบบประเมินผู้สอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการนำเสนอของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
 ตั้งคณะกรรมการในสาขา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1   ติดตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวการสอนในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม