หุ่นยนต์อุตสาหกรรมพื้นฐาน

Basic Industrial Robot

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม องค์ประกอบโครงสร้างหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การจำแนกการใช้งานการเคลื่อนที่ ประโยชน์การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผลกระทบ หลักความปลอดภัยการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมร่วมกับระบบควบคุมอัตโนมัติ การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้เคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เรียนรู้การใช้งานหุ่นยนต์ให้ถูกต้องปลอดภัย และเป็นการเตรียมความพร้อม จากประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรม ด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ต่อยอดในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวอย่างปัญหาที่พบในการทำงานของหุ่นยนต์ภาคอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของสถานประกอบการที่มีความก้าวหน้าอ่ยางมากไปตามยุคสมัย
ศึกษาหลักการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ลักษณะโครงสร้าง การจำแนกการใช้งานการเคลื่อนที่ การแทนตำแหน่งและทิศทางการหมุนหุ่นยนต์แต่ละชนิด เช่น Delta Robots, Cartesian Robot, Articulated Robot, SCARA Robot เป็นต้น  หลักความปลอดภัยและหลักการบำรุงรักษาการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การตั้งค่าพื้นฐานของหุ่นยนต์ (base point-ref point-tools center point) การตั้งค่า (configuration) เครื่องควบคุมหุ่นยนต์ (Controller) การจำลองการใช้ของหุ่นยนต์แต่ละชนิดโดยโปรแกรมจำลอง (simulation software) การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้เคลื่อนที่นิรูปแบบต่างๆ
1 ชั่วโมง โดยการจัดทำกลุ่มการสอนในระบบออนไลน์ เพื่อสามารถติดตามและ ให้คำปรึกษษได้
-  ระเบียบวินัย เช่น  เวลาเข้าเรียน  การแต่งกาย  กำหนดเวลาของงานที่ได้รับมอบหมาย
-  ความรับผิดชอบ เช่น ความใส่ใจในการเรียน  การตอบคำถาม  
-  ซื่อสัตย์ สุจริต เช่น การตอบคำถาม  การทำงานมอบหมาย  การทำรายงาน  การสอบ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง  เงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักรจริง  ลักษณะงานในอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้เห็นภาพตัวอย่างการใช้งาน
                   -  เวลาเข้าเรียน  การแต่งกาย  การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย  ประเมินเป็นระดับคะแนน
    รายบุคคล 
                   -  ความใส่ใจในการเรียน การตอบคำถาม ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล 
                   -  ระเบียบของห้องเรียนประเมินเป็นระดับคะแนนรวมทั้งห้อง 
                   -  การตอบคำถาม  การทำงานมอบหมาย  การสอบ  ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล
                   -  ความซื่อสัตย์  สุจริต  ประเมินเป็นระดับคะแนนรายบุคคล
พื้นฐานของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ประวัติของหุ่นยนต์ ประเภทและชนิดของหุ่นยนต์ โครงสร้างกายภาพของหุ่นยนต์ และองค์ประกอบโครงสร้างอื่นๆ การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม พื้นฐานการเคลื่อนที่หุ่นยนต์ แขนหุ่นยนต์ หุ่นยนต์เคลื่อนที่ ชนิดของระบบขับเคลื่อน การควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
บรรยาย ตั้งคำถาม    แบ่งกลุ่มปฏิบัติงาน   วิเคราะห์อภิปรายผลการทำลอง สรุปผล
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
- สอบกลางภาค สอบปลายภาค (ภาคปฏิบัติ) ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดผลด้านทักษะ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการทดลองตามใบงาน
- อภิปรายกลุ่ม
- วิเคราะห์สรุปผลการทดลอง
-  สอบกลางภาคและปลายภาค (ภาคปฏิบัติ)  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือเงื่อนไขการงานของเครื่องจักรที่มีใช้งานอยู่จริง
-  วัดผลประเมินผลจากผลการปฏิบัติ
-   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
-   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
-   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
-  แบ่งกลุ่มปฏิบัติงานตามใบงาน
-  อภิปรายสรุปผลการทดลอง
-  ประเมินผลตามใบประเมินผล
-  ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข  ในการเขียนโปรแกรมการใช้งานหน้าจอสัมผัส (Touch Screen)
-  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการอภิปรายในกลุ่มปฏิบัติการทดลอง
-  พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเงื่อนไขการทำงานในแบบฝึกหัดต่าง ๆ
-  มอบหมายงานแบบฝึกหัดให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
-  มอบหมายงานในใบงานภาคปฏิบัติให้ฝึกคิดแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหาร่วมกันในกลุ่ม
-  ประเมินจากแบบฝึกหัด
- ประเมินในประเมินผลภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 , 2.1 , 2.2 , 2.3,3.1 , 3.2 ,4.1 , 5.1 , 5.2 สอบกลางภาค(ปฏิบัติ) สอบกลางภาค สอบปลายภาค(ปฏิบัติ) สอบปลายภาค 9 17 18 10% 20% 10% 20%
2 1.3,2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,4.1,5.1,5.2 ประเมินผลแบบฝึกหัด ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.3 , 4.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมปฏิบัติงานในกลุ่ม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ