เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น

Welding and Sheet Metal Technology

1.1 เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการ กระบวนการเชื่อมแก๊สและการเชื่อมไฟฟ้า, Tig, Mig, Submerged
1.2 เพื่อให้ปฏิบัติงานเชื่อมและโลหะแผ่นด้วยความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย
1.3 เพื่อให้สามารถใช้และปรับแต่งเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเชื่อมและโลหะแผ่น
1.4 เพื่อให้มีความสามารถเชื่อมแก๊ส เชื่อมไฟฟ้า, Tig, Mig, Submerged และงานโลหะแผ่น
1.5 เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยประณีตรอบคอบและตระหนักถึงความปลอดภัย
         เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านงานเชื่อมแก๊ส, งานเชื่อมไฟฟ้า, งานเชื่อม Tig, งานเชื่อม Mig, งานเชื่อม Submerged และงานโลหะแผ่นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ในด้านงานเชื่อมและโลหะแผ่นได้
         ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการเชื่อม การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ การเชื่อมด้วยออกซิเจนและอะเซทิลีน การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลั๊กซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน การประสาน การเชื่อมพลาสติก ตลอดจนเทคโนโลยีการเชื่อมสมัยใหม่กลวิธีการเชื่อมตามกระบวนการต่างๆ กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน งานเขียนแบบแผ่นคลี่และการขึ้นรูปโลหะแผ่นขั้นพื้นฐาน งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด งานบัดกรี ปฏิบัติงานเชื่อมเกี่ยวกับเทคนิคการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ การเชื่อมแก๊ส การประสาน กรรมวิธีตัดด้วยความร้อน ปฏิบัติงานโลหะแผ่น งานเขียนแบบแผ่นคลี่ การขึ้นรูปโลหะแผ่น งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด งานบัดกรี ขั้นพื้นฐาน
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
๑.๑.๑ มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบวินัยและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
๑.๑.๒ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
๑.๒.๑ อาจารย์บรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนักศึกษา
๑.๒.๒ มอบหมายงานรายบุคคลและรายกลุ่ม
๑.๒.๓ สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่นการเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
๑.๓.๑ ประเมินผลจากการเข้าเรียน
๑.๓.๒ ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา
๑.๓.๓ สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
๒.๑.๑ มีความรู้และความเข้าใจในเชิงทฤษฏีทางด้านงานเชื่อมและงานโลหะแผ่น เพื่อการประยุกต์ใช้กับทางด้านวิศวกรรมงานเชื่อมและ โลหะแผ่นชั้นสูง
๒.๑.๒ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเชิงปฏิบัติด้านทางวิศวกรรมงานเชื่อมและโลหะแผ่น
๒.๒.๑ บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
๒.๒.๒ ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเชื่อมโลหะและงานโลหะแผ่นเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
๒.๒.๓ มอบหมายงานตามใบปฏิบัติงาน
๒.๒.๔ สรุปเนื้อหาบทเรียนร่วมกับนักศึกษา
๒.๓.๑ งานที่มอบหมาย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
๓.๑.๑ มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
๓.๑.๒ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
๓.๒.๑ บรรยายประกอบกับการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน
๓.๓.๑ พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
๓.๓.๒ สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
๔.๑.๑ รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายทั้งบุคคลและกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะกับความรับผิดชอบ
๔.๒.๑ มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
๔.๓.๑ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
๔.๓.๒ สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
๕.๑.๑ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
๕.๒.๑ โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๒.๒ อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๒.๓ อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
๕.๓.๑ ผลจากการประเมินการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
๕.๓.๒ ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการทำงานรายบุคคลและกลุ่ม
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ข้อสอบภาคทฤษฎี สัปดาห์ที่8และ17 30เปอร์เซ็นต์
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
    1.  ประภาส  เกตุไทย.  การเชื่อมโลหะ  1.  กรุงเทพฯ  :  สกายบุ๊กส์,  2543.
    2.  ประภาส  เกตุไทย.  การเชื่อมโลหะ  2.  กรุงเทพฯ  :  สกายบุ๊กส์,  2546.
    3.  เกษมชัย  บุญเพ็ญ.  พื้นฐานโลหะแผ่น.  กรุงเทพฯ;สำนักพิมพ์  ประกอบเมไตร,2533.
    4.  สุชาติ  กิจพิทักษ์.  งานโลหะแผ่นเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ  :  สำนักพิมพ์เม็ดทรายพริ้นติ้ง,  2540.
    5.  อำนาจ  ทองแสน.  งานเชื่อมและโลหะแผ่น.  กรุงเทพฯ  :  ซีเอ็ดยูเคชั่น,  2558.
-ไม่มี
เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
         เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์