โรคและการสุขาภิบาลสัตว์

Animal Diseases and Sanitation

เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปศุสัตว์ รวมทั้งโรคพยาธิที่สำคัญ สาเหตุ ระยะฟักตัว การระบาด อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การป้องกันและกำจัดโรคที่สำคัญ พระราชบัญญัติควบคุมโรคระบาดสัตว์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ทางทฤษฎีและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในด้านสัตวศาสตร์ และให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปศุสัตว์ รวมทั้งโรคพยาธิที่สำคัญ สาเหตุ ระยะฟักตัว การระบาด อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา การป้องกันและกำจัดโรคที่สำคัญ พระราชบัญญัติควบคุมโรคระบาดสัตว์
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้นัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า ซึ่งสามารถติดต่ออาจารย์ได้ทางเบอร์โทรศัพท์ที่ได้แจ้งให้ทราบและทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-Mail) nirattisaichaiyasan@gmail.com
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
ข้อ 1.1.3  เป็นความรับผิดชอบหลัก  ข้อ 1.1.1  1.1.2  และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
- กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน หรือยกตัวอย่างประกอบในขณะสอนเนื้อหา
- จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เป็นต้น 
- นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบ หรือการลอกการบ้าน หรืองานของผู้อื่น
- การนำข้อความจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาทำรายงานนั้น ต้องมีการอ้างอิงเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของความคิด
- การใช้บันทึกการเข้าชั้นเรียน และการส่งงาน ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่อาจารย์กำหนด
- ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรร้อยละ 80 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 
- การประเมินผลงาน (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียนว่ามีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม  มีการคัดลอกรายงานของนักศึกษาผู้อื่น 
- บันทึกการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
ข้อ 2.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก ข้อ 2.1.2 และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
- การบรรยายประกอบสื่อการสอน 
- การอภิปรายกลุ่ม โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง และนำเสนอรายงาน
- ข้อสอบแต่ละหน่วยเรียน โดยการการสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอ
นักศึกษาต้องคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 
ข้อ 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก  ข้อ 3.1.1 เป็นความรับผิดชอบรอง
- การถามตอบ จากการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง และนำเสนอรายงาน
- สอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักศึกษาแสดงความเห็น และหรือระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา
- การสังเกตพฤติกรรม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินจากคำตอบ และข้อคิดเห็น
- ข้อสอบ โดยการทดสอบจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอ
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 
ข้อ 4.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก  ข้อ 4.1.1 4.1.2 และ 4.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
- การอภิปรายกลุ่ม โดยการกำหนดหัวข้อที่เป็นประเด็นการผลิตสัตว์ที่กระทบต่อสังคม มอบหมายงานให้ นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม และนำเสนอรายงาน
- การประเมินผลงาน ผู้สอนประเมินจากเอกสารรายงาน และการนำเสนอว่าสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม
- การประเมินโดยเพื่อนร่วมกลุ่มงานและหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนประเมินผลงานที่เป็นรายงาน และหรือ การปฏิบัติ พฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
- สังเกตพฤติกรรมจากการทำงานกลุ่ม  ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมจากมี มนุษยสัมพันธ์ มารยาทสังคมที่ดี แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ข้อ 5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก  ข้อ 5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
- ให้นักศึกษาสืบค้น โดยการกำหนดหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติม และจัดทำรายงาน
- การนำเสนอรายงาน ให้นักศึกษานำเสนอโดยเลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่เหมาะสม
- การประเมินผลงานรายบุคคล (เอกสารรายงาน) ผู้สอนตรวจผลงานที่เป็นเอกสารรายงานของผู้เรียน
- ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่าง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 DIPAS208 โรคและการสุขาภิบาลสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2, 1.1.3 ใช้การบันทึกการเข้าห้องเรียน 1-17 5%
2 1.1.2, 1.1.4, 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.4, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 การประเมินผลงาน (เอกสารรายงาน) 1-17 10%
3 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3 การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 1-.17 5%
4 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2 ข้อสอบ กลางภาคและปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และ 17 60%
5 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน 1-17 10%
6 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4 ประเมินการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วม/การส่งงาน 1-17 5%
7 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3 การประเมินโดยเพื่อนร่วมกลุ่มงานและ/หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน 1-17 5%
- กาญจนา อู่สุวรรณทิม. 2564. หลักวิทยาภูมิคุ้มกัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 248 หน้า.
- กิจจา อุไรรงค์ และคณะ. 2537. การควบคุมป้องกันโรคสุกรที่สำคัญในประเทศไทย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,นครปฐม 373 หน้า
- กิจจา อุไรรงค์, ปรียพันธ์ อุดมประเสริฐและวรวิทย์ วัชชวัลดุ. 2536. การจัดการสุขภาพและผลผลิตในฟาร์มสุกร. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,นครปฐม 223 หน้า
- กิจจา อุไรรงค์. 2535 แนวทางการวินิจฉัยรักษาและควบคุมโรคสุกร. ภาควิชาศัลยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,นครปฐม. 348 หน้า
- เกรียงศักดิ์ พูนสุข. 2531. คู่มือโรคไก่สำหรับผู้เลี้ยง. ม.ป.ท. 67 หน้า
- จันทนา กุญชร ณ อยุธยา. 2529. โรคและการรักษาสัตว์ปีก. อนงค์การพิมพ์. กรุงเทพฯ. 190 หน้า.
- จินตนา อาจสันเที๊ยะ. 2561. จุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาสำหรับพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก. 209 หน้า.
- ชวนิศนดากร วรวรรณ. ม.ร.ว. 2528. หลักการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป. สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย, กรุงเทพ. 350 หน้า.
- เชิดชัย รัตนเศรษฐกิจ. 2529 โรคสัตว์ปีก. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 299 หน้า.
- เชื้อ ว่องส่งสาร, สมบูรณ์ สุธีรัตน์. 2526. ประมวลวิชาการสัตวแพทย์. โรงพิมพ์บัณฑิตการพิมพ์, กรุงเทพฯ.451 หน้า.
- เชื้อ ว่องส่งสาร. 2518. โรคระบาดและโรคติดเชื้อของสัตว์. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมพระนคร. 360 หน้า.
- ดำรง ปัญญาประทีป. 2528. การสุขาภิบาลและการควบคุมโรคสัตว์. คณะวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาเขตเกษตรพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา. 263 หน้า.
- ถวัลย์ วรรณกุล, อัมพัน ยงพิศาลภพ. 2529. มาตรการควบคุมและป้องกันโรคสุกร. โรงพิมพ์มิตรสยาม, กรุงเทพฯ. 291 หน้า.
- ทิม พรรณศิริ. 2516. คู่มือโรคไก่ประจำฟาร์ม. บัณฑิตการพิมพ์. กรุงเทพฯ. 250 หน้า.
- ทิม พรรณศิริ. 2517. คู่มือโรคสุกรของเมืองไทย. บัณฑิตการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 97 หน้า.
- ธงชัย เฉลิมชัยกิจ. 2527. โรคสัตว์ที่เกิดจากสารพิษ. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์. 108 หน้า.
- ธีระชัย วิสิทธิพานิช. 2528. หลักการผลิตสัตว์ทั่วไป. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 279 หน้า.
- นันทิยา แอคะรัจน์. 2533. คู่มือปฏิบัติการโรคและการสุขาภิบาลสัตว์. โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ. 118หน้า.
- ประสบ บูรณมานัส. 2526. สุกรและการรักษาโรค. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. 194 หน้า.
- ประสบ บูรณมานัส. 2527. กระบือและการรักษา. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. 284 หน้า
- ประสบ บูรณมานัส. 2527. โรคและการรักษา. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. 195 หน้า.
- ประสบ บูรณมานัส. 2528. เภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. 438 หน้า.
- ประสบ บูรณมานัส. ม.ป.ป. สิ่งที่เป็นพิษแก่สัตว์. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 98 หน้า.
- ปรารถนา พฤกษะศรี และคณะ. 2530. กฏหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 177 หน้า.
- มงคล ทูปิยะ, ดุสิต ติณกุลกำจร และกรีฑา ขันติ. ม.ป.ป. โรคไก่เป็ดที่สำคัญการป้องกันรักษา, บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อินเด็ก จำกัด, กรุงเทพฯ. 115 หน้า.
- มาลินี ลิ้มโภคา. 2525. การใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์. ภาคเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 442 หน้า.
- วีรพล จันทร์สวรรค์. 2526. พยาธิใบไม้และตัวตืดของสัตว์เลี้ยง. หมวดวิชาปาราสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 272 หน้า.
- สัญชัย ลักษณโกเศศ. 2523. อายุศาสตร์โรคสัตว์ใหญ่ โรคผิวหนัง. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 794 หน้า.
- สายัณห์ ทัดศรี. 2522. หลักการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,กรุงเทพฯ. 445 หน้า.
- สุชีพ รัตนสาร. 2522. หลักการผลิตสุกร. เซ็นทรัลเอ็กเพรสศึกษา,กรุงเทพฯ. 442 หน้า.
- สุพจน์ เอนกวานิช. 2526. โรคระบาดปศุสัตว์ที่สำคัญในประเทศไทย. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 124 หน้า.
- สุพล เลื่องยศลือชากุล. 2530. โรคของสุกร เล่ม 1. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 258 หน้า.
- สุพล เลื่องยศลือชากุล. 2530. โรคของสุกร เล่ม 2. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 258 หน้า.
- สุพล เลื่องยศลือชากุล. และคณะ. โรคและการป้องกันโรคสุกร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 145 หน้า.
- สุรพล ชลดำรงค์กุล. 2530 โรคสัตว์เศรษฐกิจ. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 231 หน้า.
- สุรพล พหลภาคย์. 2540. คู่มือการตรวจรักษาและป้องกันโรคสุกร. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 169 หน้า.
- สุวิทย์ เทียรทอง. 2527. หลักการเลี้ยงสุกร. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 151 หน้า.
- สุวิทย์ เทียรทอง. 2530. หลักการเลี้ยงสัตว์. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 172 หน้า.
- โสมทัต วงค์สว่าง. 2538. วิทยาภูมิคุ้มกันทางสัตวแพทย์. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 114 หน้า.
- อุทิศ มุสิโก. 2528. คู่มือสัตวแพทย์ เล่ม 1. กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์. 418 หน้า.
เว็ปไซต์กรมปศุสัตว์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัย
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- ผลการทดสอบ 
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 และ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
- การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างการจัดการเรียนการสอน จะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เป็นระยะ ๆ จากการสอบถามนักศึกษา การทดสอบต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงาน และส่งงานตามกำหนด
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
- ขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง