การออกแบบและจัดการเนื้อหาดิจิทัล

Digital Content Design and Management

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะ เกี่ยวกับการออกแบบและจัดการเนื้อหาดิจิตอล ตามคำอธิบายรายวิชากำหนด 2. เพื่อให้นักศึกษามีจริยธรรมและลักษณะบุคคล ทางด้านการออกแบบและจัดการเนื้อหาดิจิทัล ที่ดีและเหมาะสมสำหรับงานธุรกิจ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล ความสำคัญของเนื้อหาดิจิทัล โครงสร้างเนื้อหาดิจิทัล ขั้นตอนการจัดทำเนื้อหาดิจิทัล การเลือกหัวข้อในการสร้างเนื้อหาดิจิทัลให้น่าสนใจ ศิลปะการเล่าเรื่อง เทคนิคการสร้างเนื้อหาดิจิทัลให้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน การเพิ่มมูลค่าให้กับเนื้อหาดิจิทัล เครื่องมือในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล กรณีศึกษาในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2) มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 3) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
    1) สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา     2) ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย     3) กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
    1) การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย     2) การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม     3) การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน     4) ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์     5) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
    1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา     2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา     3) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
    1)  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ         2)  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน        3)  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
    1)  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน     2)  ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ     3)  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา     4)  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน     5)  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
 
    1) คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ     2) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
    1) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา (งานที่ได้รับมอบหมาย)     2) การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง     3) การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น  
    1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา     2) การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่างๆ     3) การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง     4) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
    1) สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ     2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน     3) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
    1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา     2) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
    1) การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค     2) พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา     3) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง     4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
    1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม     2) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง    
2) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา    
3) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม    
2) พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร    
3) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความสามารถในการออกแบบและสร้างผลงานตามที่โจทย์ที่กำหนด
    กำหนดโจทย์ความต้องการของงาน แล้วให้นักศึกษาออกแบบและสร้างผลงาน อย่างน้อยสองชิ้นงานขึ้นไป โดยต้องมีทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
    1)   การสร้างผลงานได้ตรงตามที่โจทย์ต้องการ     2)   ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ     3)   ความประณีตสวยงาม     4)   ความถูกต้องของข้อความ          5)   ความตรงต่อเวลาในการส่งงาน     6)   การทำงานร่วมกันเป็นทีม 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 5 1 2 4 1 2 1 2 6
1 BBAIS302 การออกแบบและจัดการเนื้อหาดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3 สอบกลางภาค 8 15
2 2, 3 สอบปลายภาค 17 15
3 1 ตรวจความรับผิดชอบ และความตรงต่อเวลา 1-17 10
4 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตรวจผลงานตามที่ผู้สอนมอบหมาย 1-17 60
สัจจธรรม สุภาจันทร์. (2553). หลักคอมพิวเตอร์กราฟิก. กรุงเทพฯ : วังอักษร. ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่...สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ. บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, สถาบัน. มรุเดช มุกดา. (2565). Content Marketing เนื้อหาเจาะลึกกลยุทธ์โครงสร้าง. กรุงเทพฯ.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1   การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2   แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3   ข้อเสนอแนะผ่านสังคมออนไลน์ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 
2.1   การประชุมหารือร่วมกันในที่ประชุมของหลักสูตร 2.2   การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์นักศึกษา
นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 2 มาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น
4.1 ประชุมหารือร่วมกันในที่ประชุมของหลักสูตร เป็นเบื้องต้น 4.2 แต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เพื่อทวนสอบในรายวิชา
5.1 ปรับปรุงการสอน ตามข้อเสนอแนะที่ได้จากข้อ 4 5.2 นำเสนอวาระการประชุม เกี่ยวกับการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ในการประชุมหลักสูตร