การบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Computer Network Administration

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบระบบเครือข่ายได้ และเข้าใจถึงการทำงานในอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละประเภท
3. เพื่อให้นักศึกษาเลือกใช้อุปกรณ์เครือข่าย และสื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบที่ต้องการใช้งานจริง
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายได้
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มุ้งเน้นวิธีในการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่จำเป็นในการทำงานมากที่สุด ให้ก้าวเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับตลาดแรงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการติดตั้งและกำหนดค่าทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใน รูปแบบต่าง ๆ การค้นหาเส้นทาง การจัดสรรหมายเลขไอพีแบบคงที่และแ แบบพลวัต ระบบเครือข่ยคอมพิวเตอร์ไร้สาย ระบบความปลอดภัยในเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบช่องทางการสื่อสารขนิดส่วนบุคคล และการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์กับองค์กรแบบต่าง ๆ Study and practice in installation and setup of computer network with various applications, routing, assignment of static and dynamic IP addresses, wireless network system, computer network security, virtual private network design, and application of computer network in various types of organization.
กรณีนักศึกษามีปัญหาการเรียนสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนโดยอาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือให้คำปรึกษาผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) prudtipong.p@rmutl.ac.th
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการไม่ละเมิดงานของผู้อื่น โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับสื่อผสมที่นิยมในปัจจุบัน
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือส่วนตัวส่งเป็นชิ้นงาน
1.2.3 นำเสนองานสื่อที่แสดงข้อมูลที่อธิบายได้เพื่อเป็นชิ้นงาน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากสื่อผสมที่นักศึกษาเขียนตามการใช้งานจริง
1.3.4 ประเมินผลงานการพัฒนาชิ้นงานหน้าห้องเรียนและให้สมาชิกสอบถามและแนะนำ
2.1.1 มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของการออกแบบสื่อผสม และมีความรู้เกี่ยวกับระบบการใช้สีและสื่อที่เกี่ยวข้อง เช่น วรรณะสี การถ่ายภาพ การออกแบบและวางตำแหน่งวัตถุ การจัดองค์ประกอบ การสร้างภาพเคลื่อนไหล แนวคิดการสร้างแอนนิเมชั่น ดังนี้
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา
2.1.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.1.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.1.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.1.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานมอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปเป็นชิ้นงานและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
2.3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานและทฤษฏีเนื้อหา
2.3.2 ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีการวิเคราะห์แนวคิดอย่างมีขั้นตอนตามมาตรฐาน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาพัฒนาชิ้นงานตามบทเรียนต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
3.2.2 อภิปรายลักษณะงานโปรแกรม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีอย่างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่เกี่ยวกับชิ้นงานที่สั่งเป็นส่วนประกอบ 
3.3.2 วัดผลจากการประเมินงานชิ้นงาน  การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆนี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์นำมาพัฒนาชิ้นงานได้ 
4.2.3   การนำเสนอผลงานโปรแกรมที่ใช้และชิ้นงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะส
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างชิ้นงานตามแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล 
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีสื่อผสมที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ และชิ้นงานที่นักศึกษาส่ง
ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยควรครอบคลุมทั้งทักษะพื้นฐานและทักษะเฉพาะทาง อาจารย์ผู้สอนควรกำหนดผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถวัดและประเมินผลได้
6.1.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
6.1.3 สามารถสื่อสารข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการสอนเป็นกระบวนการที่อาจารย์ผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ตามที่กำหนด วิธีการสอนควรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยและทักษะที่จำเป็น อาจารย์ผู้สอนควรเลือกใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1  การฝึกปฏิบัติ : เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสื่อสาร เป็นต้น
6.2.2  การทำงานกลุ่ม : เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการทำงานร่วมกัน เช่น ทักษะการประสานงาน ทักษะการแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นต้น
6.2.3  โครงงาน : เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่างๆ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ
วิธีการประเมินผลเป็นกระบวนการที่ใช้ในการวัดและตัดสินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา วิธีการประเมินผลควรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยและทักษะที่จำเป็น อาจารย์ผู้สอนควรเลือกใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
6.3.1 การประเมินผลแบบปฏิบัติ : เป็นวิธีการประเมินผลที่นักศึกษาต้องแสดงออกหรือปฏิบัติทักษะต่างๆ เช่น การทดสอบปฏิบัติ การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
6.3.2 การประเมินผลแบบผลงาน : เป็นวิธีการประเมินผลที่นักศึกษาต้องสร้างผลงานหรือชิ้นงาน เช่น โครงงาน รายงาน เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT604 การบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3, 1.6, 2.1, 2.2, 2.3, 3.4, 4.4 และ 5.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 , สอบกลางภาค, ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 และ สอบปลายภาค 6, 9, 12 และ 17 10%, 25%, 10% และ 25%
2 2.1-3, 3.4 และ 4.4 1. การวิเคราะห์กรณีศึกษา 2. การค้นคว้าและการนำเสนอรายงาน 3. การทำงานกลุ่มและงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1, 1.2, 1.6, 3.4, 4.1 และ 4.4 1. การเข้าชั้นเรียน 2การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสิทธิ์ วิริยจารี, “เรียนรู้ระบบ Network จากอุปกรณ์ของ Cisco ภาคปฏิบัติ”, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548.
CCNA Explorer 1-4 Curriculum http://www.cisco.com/web/learning/netacad/index.html
สุชาติ คุ้มมะณี และ ธวัชชัย ชมศิริ, “เรียนรู้เครือข่ายและอุปกรณ์ CISCO ด้วยโปรแกรม Simulation”,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โปรวิชั่น, 2550.
สุรศักดิ์ สงวนพงษ์, “สถาปัตยกรรมและโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี”, สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด, 2545
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน แต่อาจารย์ที่ทวนสอบต้องมีความรู้ในวิชานี้มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ใช้กลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนดังนี้

สังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา

การทวนสอบผลประเมินผลการเรียนรู้
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร

มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการทบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา และการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาและการประเมินการสอน  ผู้สอนนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการปรับปรุงการสอน  ปรับปรุงและพัฒนารายวิชา  โดยมีแผนที่จะปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี