กฎหมายธุรกิจ

Business Law

1. เข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ
2. เข้าใจเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ในธุรกิจ
3. มีทักษะในการร่างและเขียนสัญญา และเอกสารประกอบสัญญา
4. มีเจตคติที่ดี มีความรับผิดชอบและ จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
พัฒนาคำอธิบายรายวิชาใหม่ตามหลักสูตร
ศึกษาหลักทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและการใช้สิทธิ การตีความกฎหมาย ทรัพย์สินทรัพย์สินทางปัญญา หนี้ สัญญายืม ค้ำประกัน จำนอง สัญญาทางธุรกิจ เช่นนายหน้า ประกันภัย สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ และกฎหมายอื่นที่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน Study general principles regarding rights, law interpretation, assets, intellectual property, obligation, loan, suretyship, mortgage, business contracts such as broker, insurance, contract of rent, hire-purchase agreement, and other relevant laws necessary to the current situation.
    3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์     3.2 อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์ Facebook ในกลุ่มห้อง 
1.1.1  ตระหนักในคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม มีความเสียสละ มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อ ตนเองและผู้อื่น สำนึกในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีมได้ 
1.2.1  อาจารย์ผู้สอนถ่ายทอดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ                
1.2.2  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย                
1.2.3  เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย                
1.2.4  มอบหมายให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ สมาชิกกลุ่ม ฝึกความรับผิดชอบ                
1.2.5 การเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์ 
1.3.1  ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย การ เข้าร่วมกิจกรรม                
1.3.2  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย                
1.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการเรียนและการสอบ 
หลักกฎหมายของสัญญาจัดตั้งองค์กรทางธุรกิจในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะตามหลักกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะที่ 22 และ บริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติบริษัท มหาชนจำกัด รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ กฎหมายว่าด้วยการประกันการ และตราสารหนี้
2.2.1 บรรยายหลักกฎหมายและให้ทำแบบทดสอบ  
2.2.2 ยกอุทาหรณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนอดีตและปัจจุบันเพื่อให้นักศึกษาวินิจฉัยโดยอาศัยหลัก กฎหมายที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้ให้ถูกต้อง 
2.2.3 ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 
2.3.1 ประเมินจากประสิทธิผลของการค้นคว้าและการตอบแบบทดสอบ        
2.3.2 ประเมินจากข้อสอบ โดยเฉพาะข้อสอบแบบอัตนัยที่เน้นคำถามในรูปของอุทาหรณ์        
2.3.3 ประเมินจากรายงานสรุปผลการค้นคว้า และ การนำเสนอผลงานต่อชั้นเรียน 
3.1.1   นักศึกษาสามารถใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ และวินิจฉัยปัญหาได้อย่างถูกต้องอย่างมีเหตุมีผล และอยู่ บนพื้นฐานของศีลธรรมและตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดระเบียบสังคมอย่างเป็นระบบ
3.1.2  สามารถสืบค้นคำพิพากษาฎีกาประกอบการวินิจฉัยเชื่อมโยงเพื่อแก้ไขปัญหาข้อเท็จจริงเหมาะกับ สถานการณ์และพัฒนากระบวนการคิดที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 
3.2.1 ให้นักศึกษาจัดทำโครงงานในหัวข้อเกี ่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสัญญาจัดต้ององค์กรทางธุรกิจใน ลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะตามหลักกฎหมายหุ้นส่วน-บริษัทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจกรรมทาง ธุรกิจ เช่น เอกเทศสัญญาบางประเภทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ว่าด้วย การซื้อขาย เช่า ทรัพย์ เช่าซื้อ และ กู้ยืมเงิน กฎหมายว่าด้วยการประกันการชำระหนี้ด้วยบุคคลและทรัพย์ และ กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับตราสารทุนและ ตราสารหนี้ เช่น กฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน และ กฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์ตาม ความสนใจของนักศึกษา
3.2.2   นักศึกษานำเสนอข้อค้นพบจากโครงงานด้วยวาจา และ สื่อสารสนเทศ
3.3.1   ประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมทางปัญญาของผู้เรียน การตั้งคำถาม สืบค้น คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามลำดับโดยพิเคราะห์จากโครงงานมอบให้ผู้เรียนไปศึกษาและนำเสนอการรายงาน      
3.3.2   ประเมินด้วยการสร้างสถานการณ์จำลอง แล้วให้ผู้เรียนฝึกตัดสินใจ แก้ปัญหาอย่าง มีเหตุผลโดยผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินชิ้นงานนั้น โดยอาจารย์ผู้สอนประเมินและบันทึกผลการ สังเกตในสมุดบันทึกเวลาเรียนและการประเมินผลของอาจารย์ 
4.1.1   มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม                  
4.1.2   สามารถให้คำปรึกษาแนะนำในข้อกฎหมายที่เรียนมาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ              
4.1.3  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน              
4.1.4  สามารถรวมกลุ่มคิดริเริ่มวางแผน และตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งสามารถ นำหลักคุณธรรมพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข   
4.1.5  มีความรับผิดชอบและเกิดความอยากรู้อยากเรียนขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
4.2.1   การจัดกิจกรรมให้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียนเป็นรายกลุ่ม              
4.2.2   การสาธิตการวางแผน และ วิธีการในการปฏิบัติงาน  
4.2.3   การตรวจสอบติดตามผลลัพธ์ของงาน  
4.2.4   การตรวจสอบผลลัพธ์ในการทำงาน 
4.3.1   สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา        
4.3.2  ประเมินความสม่ำเสมอของการเข้าร่วมกิจกรรม        
4.3.3  ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย        
4.3.4  ประเมินผลสัมฤทธิ์โดยเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอน 
5.1.1   สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการฟัง พูด และ เขียน              
5.1.2   มีทักษะก้าวทันเทคโนโลยีปัจจุบันและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับ สถานการณ์เพื่อการสืบค้น ศึกษาด้วยตนเอง นำเสนอ และสื่อสาร              
5.1.3   เข้าใจปัญหา วิเคราะห์ และเลือกใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์และสถิติที่เหมาะสมในการ แก้ปัญหา 
5.2.1  จัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกทักษะการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน ในระหว่าง ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ        
5.2.2  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลากหลายและเหมาะสม        
5.2.3  จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ เทคโนโลยี สารสนเทศทางคณิตศาสตร์และสถิติ 
5.3.1  ทักษะการพูดในการนำเสนอผลงาน        
5.3.2  ทักษะการเขียนรายงาน        
5.3.3  ทักษะการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ      
5.3.4  ความสามารถในการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่ออธิบาย อภิปรายผลงานได้อย่าง เหมาะสม        
5.3.5  เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาเชิงตัวเลข 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 BBACC101 กฎหมายธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,2.1,3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 และ 17 60 %
2 1.1,2.1,3.1,4.1,5.1 การทำโครงงานกลุ่ม และ การนำเสนอ ผลงาน 10 และ 14 10 %
3 1.1,2.1,3.1,4.1,5.1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิบัติการใน ชั้นเรียน ตลอดภาค 20 %
4 1.1,2.1,3.1,5.1 การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาค 20 %
ทวีเกียรติ มีนกนิษฐ, กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 19, (กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2562)
สลิล สิรพิทูร, กฎหมายธุรกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงใหม่), (กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563) 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และ
ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 
หนังสือหรือบทความที่แนะนำเพิ่มเติมในห้องเรียน 
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ที่จัดโดยวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ได้ให้นักศึกษาเข้า ประเมินผลการเรียนการสอนของวิทยาลัยนวัตกรรม โดยการนำแนวคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
ใช้กลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนดังนี้
- สังเกตรูปแบบการสอนและพฤติกรรมผู้เรียน
- ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินผลการเรียนรู้ 
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม สมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในรายวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล การทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  
ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3 และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4