การเงินธุรกิจสมัยใหม่

Modern Business Finance

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเงินธุรกิจ หน้าที่ เป้าหมายและความสำคัญของการเงินธุรกิจ

2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าของเงินตามกาลเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนของเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน

3. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าของเงินตามกาลเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนของเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน

4. เพื่อให้นักศึกษาทราบที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีการเงินสำหรับธุรกิจ สกุลเงินดิจิทัล แหล่งเงินทุน ธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล

5. เพื่อให้นักศึกษาทราบความสำคัญของจรรยาบรรณนักวางแผนการเงินทางธุรกิจ
การเงินธุรกิจสมัยใหม่ (BBACC117)หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 ปรับปรุงจากรายวิชาการเงินธุรกิจ (BBACC107) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 มีวัตถุประสงค์การพัฒนาปรับปรุงรายวิชาคือ
1. เพื่อให้รายวิชามีความเหมาะสม ทันสมัยกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ให้ความสำคัญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกับการเงินธุรกิจสมัยใหม่
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจการจัดการทางการเงินของธุรกิจสมัยใหม่
3. เพื่อสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการทางการเงินของธุรกิจสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อให้เกิดการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตได้
ความหมายของการเงินธุรกิจ หน้าที่ เป้าหมาย และความสำคัญของการเงินธุรกิจ การวางแผนทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน มูลค่าของเงินตามเวลา งบจ่ายลงทุน ต้นทุนเงินทุน โครงสร้างทางการเงิน ที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีการเงินสำหรับธุรกิจ สกุลเงินดิจิทัล แหล่งเงินทุน ธุรกรรมการเงินในยุคดิจิทัล จรรยาบรรณของนักวางแผนการเงินทางธุรกิจ
15 นาที - 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับให้คำปรึกษาหรือแนะนำเป็นรายบุคคล
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม :
(1) มีความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบณณทางวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
(2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
(3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม : มีการจัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการอธิบายระเบีบลงโทษผู้ทุจริตในการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความเห็น 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม และจริยธรรม
(1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
(2) ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(3) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(4)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
(5) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ :
(1) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของรายวิชาการเงินธุรกิจสมัยใหม่ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
(2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ : จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชาการเงินธุรกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้จากตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ การมอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้ด้านทฤษฏี และการบรรยายในชั้นเรียน การถาม-ตอบ
การยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(1) การประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น การทำแบบฝึกหัดที่มอบหมาย / การทดสอบย่อย / การนำเสนองานกลุ่มจากรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
(2) การสอบกลางภาคเรียนและการสอบปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา
(4) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
(5) ผลจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
(2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่จะทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(1)  การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
(2)  การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา : ประเมินจากการนำเสนอรายงาน กรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบที่มีลักษระการแก้ปัญหา อธิบาย แนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมา
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดเริ่ม แสดงความเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ :
(1) ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์ในเนื้้อหารายวิชา
(2)  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผุ้นำและผู้ตาม
(3) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) ประเมินพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่าของนักศึกษา
(2) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
(3) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstroming)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน
(2) สามารถใช้หรือสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่เป็นศัพท์ของรายวิชาที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
(2) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายและการเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(2) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลขที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)  
(1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
(1) จัดให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
(1) พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 1 2 1 2 1 3 1
1 BBACC117 การเงินธุรกิจสมัยใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 ทดสอบย่อย 3, 6, 12, 15 35%
2 2, 3 , 5 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 9 และ 17 40%
3 1, 2 , 3 , 4 ,5 งานที่มอบหมาย/ ่จิตพิสัย / การเข้าชั้นเรียน / การจัดโครงการอบรม ตลอดภาคเรียน 25%
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล (2564), การเงินธุรกิจ (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 32, บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพมหานคร.
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล (2560). การจัดการการเงิน (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 3, บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพมหานคร.
ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ (2564). เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน การวิเคราะห์งบการเงิน, ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร.
ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ (2564). เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน พื้นฐานการเงินธุรกิจ, ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร.
ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์ (2542), การจัดการการเงิน พิมพ์ครั้งที่ 5. แผนการพิมพ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร
วิมล ประคัลภ์พงศ์, สมชาย เบ็ญจวรรณ์, สุรชัย ภัทรบรรเจิด (2542). การเงินธุรกิจ, สำนักพิมพ์สุภา จำกัด, กรุงเทพมหานคร.
อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์ (2563). การเงินธุรกิจ พิมพ์ครั้งที่ 15, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ออฟเซ็ท กราฟฟิคดีไซน์, กรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชา
- การสนทนาและพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินรายวิชา ความถี่ในการถาม-ตอบ ของนักศึกษา
- การจัดให้มีการทดสอบย่อยนอกเวลาบ่อยครั้ง
- การให้นักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบในหัวข้อที่เรียนจาก Internet โดยนักศึกษามีพฤติกรรมชอบใช้เครื่องมือสือสารระหว่างเรียน จึงปรับให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในเครื่องมือสื่อสาร
- วัดผลคะแนนจากการทดสอบย่อย
- กรณีที่นักศึกษาไม่มีความตั้งใจในการเรียน ผู้สอนประเมินสถานการณ์แล้วจะให้นักศึกษาจับเป็นกลุ่มในการตอบคำถาม ตามโจทย์ที่ผู้สอนตั้งไว้ และเมื่อนักศึกษากลุ่มใดตอบคำถามได้ ผู้สอนจะให้เป็นคะแนนจิตพิสัยเพิ่มเติม
อาจจะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจคะแนนของนักศึกษาที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
1. ปรับปรุงเอกสารคำสอนรายวิชาการเงินธุรกิจสมัยใหม่ทุก 1-3 ปี 2. คาดการณ์ให้มีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อหาแนวทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจต่อไป