ศิลปะการขาย

Salesmanship

1. เข้าใจหลักการขาย ศิลปะการขาย กระบวนการขาย และเทคนิคการนําเสนอขายโดยใช้การสื่อสารที่ถูกต้อง
2. สามารถวางแผนการขาย การเขียนคําพูดบรรยายเพื่อนำเสนอขาย เทคนิคการนำเสนอ การจัดทําเอกสาร การจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า การติดตามประเมินผล และการเขียนรายงาน
3. มีเจตคติที่ดีในการทํางานด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจิตบริการของนักขาย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับหลักการตลาด ศิลปะการขาย กระบวนการขาย และเทคนิคการนําเสนอขาย โดยสามารถวางแผนการขายขั้นพื้นฐาน การเขียนคําพูดบรรยายลักษณะการขายที่ถูกต้อง สามารถสอดแทรกเทคนิคการนำเสนอขาย การจัดทําเอกสารประกอบการขาย การจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า การติดตาม ประเมินผล และการเขียนรายงาน โดยสามารถวางแผนการขายได้อย่างเป็นระบบตามหลักการตลาดเบื้องต้น
ศึกษาการวางแผนการขาย ศาสตร์และศิลปะการขาย เทคนิคในการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ เทคนิคของศิลปะการขายในการขายสินค้าและบริการ ให้แก่บุคคล องค์กรธุรกิจ และการแก้ปัญหาการขาย
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(กำหนดช่องทางการให้คำปรึกษาโดยผู้สอนตามความเหมาะสม)
1.1.1 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความ สำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อ สังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.2 ปลูกฝังให้ นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้อง ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
1.3.1 การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา โดยสอยแทรกให้ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมในการทำงานมอบหมายและความมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตประจำวัน
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2 เรียนรู้จากสถานการณ์จริง กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน การค้นคว้า เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ และสามารถเสนอหน้าชั้นเรียนได้
2.2.3 สอดแทรกกิจกรรมในชั้นเรียนมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติควบคู่กับการเรียนภาคทฤษฎี
2.2.4 เน้นการเรียนการสอน โดยใช้การสื่อสารสองทาง การถาม-ตอบ และถกประเด็นร่วมกัน
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 งานมอบหมาย และการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนองาน
3.1.1 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจาก ทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ทางธุรกิ
3.2.1 การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 การมอบหมายงานให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา และสถานการณ์จำลองที่กำหนด
3.2.3 กิจกรรมถาม-ตอบ เชิงสร้างสรรค์ ที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา และความคิด
3.3.1 แทรกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
3.3.2 การอภิปรายกรณีศึกษา และงานมอบหมายในชั้นเรียน
4.1.1 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 สอดแทรกการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
4.2.2 มอบหมายการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.2.3 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล
4.3.1 การสอบกลางภาค และปลายภาค
4.3.2 พฤติกรรมการทำกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษา มีความสนใจ
4.3.3 การรายงานและนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
4.3.4 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
5.1.1 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้เครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นในการทำงาน เน้นการนำเสนองานโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
5.2.2 ส่งเสริมการค้นคว้า การเรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง โดยสามารถใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศขั้นพื้นฐานในการสื่อสารเพื่อนำเสนอได้
5.3.1 การสอบกลางภาค และปลายภาค
5.3.2 ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคลนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง
5.3.3 การสรุป การอภิปรายงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความเป็นเหตุเป็นผล โดยมอบหมายร่วมกัน
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้
6.2.2 จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร
6.3.1 ผลงาน งานมอบหมาย และการปฏิบัติงานของนักศึกษา
6.3.2 พฤติกรรมที่แสดงออกในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม
6.3.3 การนำเสนงาน โดยการเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA616 ศิลปะการขาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-8 - แบบทดสอบกลางภาค - แบบทดสอบปลายภาค 9, 17 55%
2 หน่วยที่ 1-8 - รายงาน/การค้นคว้าอิสระ - การนำเสนอภายใต้สภานการณ์ที่กำหนด - งานมอบหมาย - การวิเคราะห์กรณีศึกษา - การอภิปรายในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 35%
3 หน่วยที่ 1-8 - คุณธรรม จริยธรรม การเคารพกฎระเบียบร่วมกัน - การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา - การมีส่วนร่วม และความสนใจในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- ดสิฏฐากร ชูทรัพย์ และคณะ. (2562). ศิลปะการขาย. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.
- โอภาส กิจกำแหง. (2561). ศิลปะการขาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ไม่มี
-เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาศิลปะการขาย
- นักศึกษาประเมินประสิทธิผลรายวิชา ทั้งด้านการสอน การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อการปรับปรุงรายวิชา
- แบบประเมินความพึงพอใจในรายวิชา และการเขียนข้อเสนอแนะโดยนักศึกษา
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยใช้การสื่อสารสองทางเพื่อให้เกิดประสิทธิผลระหว่างการสื่อสาร
- ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
- การประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการจากคณะ ทั้งการสังเกตการณ์สอน การสัมภาษณ์จากนักศึกษา และอื่น ๆ
- ระดับความพึงพอใจ ผลการเรียน และความสนใจของนักศึกษา
- ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลในรายวิชา
- การปรับปรุงเนื้อหา และพัฒนาสื่อการสอนให้เป็นปัจจุบัน มีการอิงกรณีศึกษาในสถานการณ์จริงมาประยุกต์ใช้ระหว่างการสอน
- มีการประชุมพูดคุย หรือสอบถามคำแนะนำจากผู้สอนท่านอื่น เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไขเป็นรายกรณี
- มีคณะกรรมการประเมินข้อสอบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยพิจารณาทั้งการให้คะแนน การออกข้อสอบ และอื่น ๆ
- การทวนสอบผลคะแนน และประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และกรรมการที่หลักสูตรแต่งตั้ง
- ทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คณะกรรมการประเมินของหลักสูตร
- ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมิน
- การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาโดยปรับการเรียนการสอน หรือหัวข้อบางประเด็นตามผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะที่ได้รับ
- การปรับเปลี่ยน หรือ หมุนเวียนผู้สอนเพื่อให้เกิดความหลากหลายของเนื้อหาตามความเหมาะสม