สัมมนาทางการจัดการธุรกิจสมัยใหม่

Seminar on Modern Business Management

1. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสัมมนาและการจัดสัมมนา 2. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา 3. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวรูปแบบ กระบวนการ การวางแผน วิธีการดำเนินงาน และการประเมินผลการสัมมนา 4. เพื่อบูรณาการทฤษฎี ความรู้ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาทางการจัดการในยุคปัจจุบัน 
เพื่อให้นักศึกษาสามารถบูรณาการวิชาการความรู้ กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และฝึกทักษะในการจัดสัมมนาทางการจัดการธูรกิจในยุคปัจจุบัน
รูปแบบ กระบวนการ การวางแผน การดำเนินการ และการประเมินการสัมมนา การนำเสนอประเด็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นทางด้านการจัดการ การบรูณาการทฤษฎี ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้ศึกษา มาประยุกต์ใช้เพื่อหาคำตอบและแก้ไขปัญหาทางการจัดการในยุคปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต การฝึกปฏิบัติการสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาตามเวลา ให้คำปรึกษาตาม วัน เวลา ที่ประกาศให้ผู้เรียนทราบ โดยให้คำปรึกษา เป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)  
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.2 2.1.4 3.13 3.1.4 4.1.1 4.1.4 5.1.6 6.1.3 การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ 16 40%
2 1.1.1 1.1.3 1.1.4 2.1.2 2.1.3 3.1.3 3.1.4 5.1.3 5.1.6 6.1.3 6.1.4 การทำงานกลุ่ม และการส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนอจัดดอกไม้ และจับจีบผ้า การสัมมนากลุ่มย่อยกรณีศึกษา ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ตลอดภาคการศึกษา และ 10, 11, 13, 14 30% 20%
3 4.1.2 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน นายวิวัฒน์โชติกร เรืองจันทร์
จิตต์นิภา ศรีไสย์. 2549. ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทัศนีย์ วิศาลเวชกิจ. การประชุมสัมมนา. สัมมนาธุรกิจศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราช-มงคลธัญบุรี. พิศเพลิน สงวนพงศ์. 2548. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทียนวัฒนา. เศรษฐพงศ์ อัปมะเย. การจับจีบผ้าติดโต๊ะ หน่วยที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : บริษัทวาดศิลป์ จำกัด, 2552. มุกดา ใจซื่อ. พื้นฐานการจัดดอกไม้ หน่วยที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ แม่บ้าน จำกัด, 2558. จิรวรรณ บุญมี. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 2553
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ จะใช้แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา โดยวิธีการดังนี้ 1.1  การสนทนาระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือ 1.2 ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน หรือ 1.3 แบบประเมินผู้สอน ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นผู้ประเมิน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
2.1   เทคนิควิธีการสอน / กิจกรรมการเรียนรู้ หรือ 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา ซึ่งได้มาจาก การให้คะแนนสอบ รายงาน/โครงการ หรือ 2.3   การทวนสอบผลสัมฤทธ์การเรียนรู้ในรายวิชา โดยให้นักศึกษาตอบแบบประเมิน “การประเมินการสอนโดยนักศึกษาในรายวิชา”
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมแนวทางวิธีการสอนด้วยตนเอง ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ให้ดีขึ้น เหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้น  หรือ จัดกิจกรรมในการระดมสมองเพื่อปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอนกับผู้สอนร่วม  หรือ 3.2   พัฒนาความรู้ความสามารถ โดยผ่านการอบรมสัมมนา
การสอนในรายวิชา จะมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวังในรายวิชา  ซึ่งได้กำหนดไว้ในหลังสูตร ดังนี้ 4.1  กำหนดคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา ประกอบด้วย 1)  อาจารย์ในสาขาวิชาที่ไม่ใช่ผู้สอน  2)  ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  และ 3)  ผู้ทรงคุณวุฒิ 4.2  กำหนดวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา เช่น การประเมินข้อสอบกลางภาค/ปลายภาค  หรือ การประเมินโครงงาน / รายงาน / กิจกรรม  หรือวิธีการให้คะแนน ในรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชา เมื่อครบรอบการปรับปรุงหลักสูตร (ทุก 5 ปี)  หรือปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงวิธีการสอน / กิจกรรม / โครงงานที่มอบหมาย  เพื่อให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามที่คาดหวังในหลักสูตร และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  แก้ไข