เคมีอินทรีย์

Organic Chemistry

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
- รู้และเข้าใจโครงสร้าง สมบัติ ปฏิกิริยาและการเตรียมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์  
- เข้าใจและสามารถจำแนกชนิดสารประกอบอะลิฟาติก  สารประกอบอะลิไซคลิก สารประกอบอะโรมาติกและอนุพันธ์
- สามารถประยุกต์ในทางวิชาชีพของตนเองได้
- มีทักษะการปฏิบัติเทคนิคทางเคมี 
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติ ปฏิกิริยาและการเตรียมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์      ทั้งชนิดสารประกอบอะลิฟาติก  สารประกอบอะลิไซคลิก สารประกอบอะโรมาติกและอนุพันธ์  สเตอริโอเคมีและปฎิบัติการ
วันพุธ เวลา 15.00 - 16.00 น. ห้อง 231  อาคารปฎิบัติการรวม     
e-mail: sujitra5000@gmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการสอน
- กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มอบหมายงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
- ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
-ประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
-ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
- มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา -สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา -สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มอบหมายงานให้ค้นคว้าและนำเสนอ
-แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ของปฏิบัติการต่างๆอย่างเป็นระบบ
- ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ
- มีการชี้ประเด็นและยกตัวอย่างประกอบในแต่ละหัวข้อ
- มีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาฝึกแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และการนำเสนอ
- ประเมินผลจากรายงานผลการทดลอง และการตอบปัญหาในชั้นเรียน
- ประเมินผลจากการตอบคำถาม การสอบ การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
- สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
- การนำเสนอรายงานและอภิปรายกลุ่ม
-ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
- สามารถสืบค้น ศึกษาวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
- สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มอบหมายให้สืบค้นความรู้เพิ่มเติมในบางหัวข้อ และนำเสนอโดยใช้สื่อเทคโนโลยี 
- ประเมินจากการนำเสนอโดยใช้รูปแบบ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ
นักศึกษาทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ
สังเกตการทำการทดลอง 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 BSCCC108 เคมีอินทรีย์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 3.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 60
2 1.3, 2.1, 3.3, 5.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน ปฏิบัติการทดลอง, การบันทึกผลการทดลองและรายงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 30
3 1.3, 1.4, 2.1, 2.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เริงนภรณ์   โม้พวง.2542   เคมีอินทรีย์.  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก.    247 หน้า.
สุนันทา วิบูลย์จันทร์. 2539. เคมีอินทรีย์. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.583 หน้า. Morison, R.T & Boyd, R. N., Organic Chemistry , 6th, ed, New York University, Prentice HallInternational Inc. New Jersy, 1992.
เกษร พะลัง. เคมีอินทรีย์เบื้องต้น .พิมพ์ครั้งที่ 5. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. 2539. ชัยวัฒน์ เจนวานิชย์. พจนานุกรมเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ดอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 2524.
พงษ์ทิพย์ โกเมศโสภา และธนานิธ เสือวรรณศรี เคมีอินทรีย์พื้นฐาน ยูไนเต็ดบุ๊คส์ กรุงเทพฯ 2534.
ธวัชชัย ชรินพานิชกุล. รวมศัพท์เคมี. ซีเอ็ดยูเคชัน. กรุงเทพฯ. 2540. ราชบัณฑิตสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 6 . อักษรเจริญ ทัศน์. กรุงเทพฯ.2539. ลัดดา มีสุข . พจนานุกรมศัพท์เคมี. เจเนอรัลบุ๊ค เซนเตอร์ .กรุงเทพฯ . 2533. อุดม ก๊กผล, โสภณ เริงสำราญ และอมร เพชรสม .อินทรีย์เคมี .พิมพ์ครั้งที่ 5 . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 2539. Bettelheim, F.A.& March, J, Introduction to General , Organic &Biochemistry , 3th, ed, Saunder College, USA, 1991. Linestromberg, W, W, & Baumgarten, H, E, Organic Chemistry:A Brief Cours , 5th, ed, Iieath & Company, USA, 1983.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา สาขากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียน มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา เช่น การสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา หรือผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย
- นำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการมาเสริมในการเรียนการสอน