วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ
Research Methodology in Design
1. รู้ความหมาย ความสำคัญของการวิจัยทางการออกแบบ
2. เข้าใจระเบียบวิธีและขั้นตอนการทำวิจัยทางการออกแบบ
3. เข้าใจการสร้างกรอบแนวคิดในการทำวิจัยด้านการออกแบบ
4. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำวิจัยทางการออกแบบ
5. ตระหนักและเห็นคุณค่าในความสำคัญของการทำวิจัยทางการออกแบบ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในกระบวนการทำวิจัยทางการออกแบบ กรอบแนวคิดในการทำวิจัย การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ การเขียนโครงร่างการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชา การเตรียมโครงงานออกแบบ และ วิชาศิลปนิพนธ์ด้านการออกแบบ รวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะเป็นนักวิจัยทางด้านการออกแบบและพัฒนาในหน่วยงานหรือในสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้าไปทำงานหลังจากจบการศึกษา
ศึกษาระเบียบแบบแผนวิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ การกำหนดปัญหาวิจัย กรอบแนวคิดในการทำวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัย
Study of research methodology in Design. identify research problem, research conceptual framework, writing the proposal, review the literature, created instrumentation, data collection, data analysis, report writing and presenting research studies.
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.3.1 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน การส่งงาน การตรงต่อเวลา
1.3.2 ประเมินผลตนเองและเพื่อนในชั้นเรียน กรณีศึกษา
2.1.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้วิธีการสอน Problem based learning, กิจกรรมการสอนแบบ Active learning จัดทำสื่อ Digital ในรูปแบบ e-book ออฟไลน์และออนไลน์ เป็นสื่อเสริม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และ ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนสามารถวางแผนในการเรียน เชื่อมโยงความรู้ ทฤษฎี ที่ได้จากการนำเสนอโดยสื่อการสอน เอกสารอ่านประกอบ ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันแสวงหาความรู้ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่างๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5 ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานของเพื่อน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.1.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.2.1 ใช้กรณีศึกษา และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยี สืบค้นความรู้จากฐานข้อมูลต่างๆ เรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง ผู้สอนทำหน้าที่สรุปองค์ความรู้เพื่อความถูกต้อง
3.2.2 การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักสูตร
3.2.3 มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหากรอบแนวคิดในการทำวิจัย การศึกษาโจทย์จริงจากองค์กรหรือจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำมาเขียนเป็นโครงร่างงานวิจัย ฝึกสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนผลงานวิจัย อีกทั้งนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค 3.3.2 สอบย่อย วัดผลจากการคะแนนงานกิจกรรมและ การนำเสนองาน
3.3.3 ประเมินจากผลงานของนักศึกษา
4.1.1 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1 ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคล เช่น ให้สืบค้นงานวิจัยสร้างสรรค์ งานวิจัยทางด้านการออกแบบ จากฐานข้อมูลงานวิจัย 4.2.3 นำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย 4.2.4 ทำกิจกรรมกลุ่มในการเรียนการสอน
4.3.1 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.2 ประเมินจากการนำเสนองาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2.1 นักศึกษาทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
5.2.2 นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน
5.2.3 มอบหมายงานให้เรียนหาความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อ digital
5.3.1 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.2 ประเมินจากการนำเสนอ
5.3.3 ประเมินจากความถูกต้องในการวิเคราะห์ข้อมูล
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
2 | 2.1,2.2, 2.4 3.1,3.2, 3.3 2.1,2.2, 2.4 3.1,3.2, 3.3 | ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน หน่วยที่ 1-3 สอบกลางภาค ทำแบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 3-5 สอบปลายภาค | 1-8 9 10-16 17 | 10% 20% 10% 20% |
2 | 3.1,3.2 4.2, 4.3 5.1,5.2, 5.3 | การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายและ การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ scan และ upload ส่งงานทันเวลา | ตลอดภาคการศึกษา | 25% |
3 | 1.1, 1.2, 1.3 5.1, 5.2, 5.3 | การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 15% |
นิรัช สุดสังข์. 2559. ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์. ปานฉัตร อินทร์คง. 2559. การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบและการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: อันลิมิตพริ้นติ้ง. พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. 2545. วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรา นิคมานนท์. 2542. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์. รวีวรรณ ชินะตระกูล. 2539. เทคนิคการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ศิริชัย กาญจนวสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. 2545. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับการ วิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. 2558. เคล็ดลับการเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. 2558. เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Blessing, Lucienne T.M.; Chakrabarti, Amaresh. 2009. DRM, a Design Research Methodology. New York: Springer. Crouch, Christopher; Pearce, Jane. 2012. Doing Research in Design. London: Berg Publishers.
Visocky, O’Grady, Jennifer. 2006. A Designer’s Research Manual: Succeed in Design by
Knowing Your Client and What They Really Need. China: Rockport.
เอกสารอ่านประกอบ ในรูปแบบ ebook
ใบงาน
สื่อ Digital
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สำนักงาน. 2541. แนวทางปฏิบัติจรรยาบรรณนักวิจัย. ม.ป.ป.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. 2548. i.d. Story Theory & Concept of Design : หลักการและแนวคิดการ ออกแบบผลิตภัณฑ์.
กรุงเทพฯ : ไอดีไซน์ พลับลิชชิ่ง.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น สิทธิบัตร http://www.ipthailand.org/dip/index.php
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงาน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2 ปรับปรุงรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนศตวรรษที่ 21