วัชพืชและการควบคุม

Weeds and Their Controls

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยา การทำลายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้
เมื่อนักศึกษาเรียนผ่านรายวิชานี้แล้ว จะมีความรู้/ความสามารถ และสมรรถนะดังต่อไปนี้
2.1 มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดของวัชพืช วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำลายของสารเคมีในการกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้งาน
2.2 สามารถสืบค้น รวบรวม คิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับวัชพืชและการควบคุม และถ่ายทอดองค์ ความรู้ได้
2.3 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2.4 มีวินัย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2.5 มีความรับผิดชอบในวิชาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญ การจำแนกชนิดชีววิทยาและนิเวศวิทยาของวัชพืชหลัก วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประเภทและสรีรวิทยาการทำลายของสารเคมีกำจัดวัชพืชและความปลอดภัยในการใช้
Study and practice of importance of weeds, biological and ecological classification of major weeds, weeds prevention and control, types and physiological damage of herbicides and herbicides application and safety.
3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 17.00 น. ห้องพักอาจารย์ สาขาพืชศาสตร์ หรือ โทรศัพท์ 098-816-3503
3.2 ส่ง e-mail: s.nateetip@rmutl.ac.th ทุกวัน
1. ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรมซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
2. มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
 
1. เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
3. มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
4. สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนรวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ
 
1. ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
2. ประเมินความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ประเมินความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
4. ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5. ประเมินผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
6. ประเมินพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
1. มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง    
2. มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. เน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมีการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ประเมินรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. ประเมินแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
5. ประเมินการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3. ทักษะทางปัญญา
1. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
2. มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3. แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2. การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
3. ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
1. ประเมินผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2. การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
3. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1. กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
2. มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
 1. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
 2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
 3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
 4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
 5. มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 6. สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
1. ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง สถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
1. ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
2. ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
3. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1. มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
1. ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG603 วัชพืชและการควบคุม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 การแสดงความคิดเห็น/พฤติกรรมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบในการทำงาน 1-8 และ 10-17 5%
2 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 รายงานและการนำเสนอผลการปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมาย 2-8 และ 10-17 30%
3 1, 2, 3, 4, 5, และ 6 สอบกลางภาค 9 30%
4 7 และ 8 สอบปลายภาค 18 30%
5 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 การเข้าชั้นเรียน 1-8 และ 10-17 5%
วัชพืชศาสตร์ (ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์)
เทคโนโลยีสารกำจัดวัชพืช (ดร.ธวัชชัย รัตนชเลศ)
สารป้องกันกำจัดวัชพืช (ศ.ดร.รังสิต สุวรรณเขตนิคม)
สารป้องกันกำจัดวัชพืช:หลักการและกลไกการทำลายพืช(รศ.ดร.ทศพล พรพรหม)
สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย (ปรีชา พุทธิปรีชาพงศ์)
เทคนิคปฏิบัติ (รศ.ดร.อาณัฐ ตันโช)
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสะท้อนแนวคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
   - ผลการสอบ
   - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- มีการการสอบย่อย เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจท้ายการเรียนการสอน
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่ม ตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
- ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา
- การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา
- อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา/ คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป