ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Special Problems in Food Science and Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานด้าน การกำหนดปัญหาและสมมุติฐานของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การสืบค้นข้อมูลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารการวางแผนโครงงานวิจัยการเขียนโครงร่างงานวิจัย ดำเนินการวิจัยทดลองในห้องปฏิบัติการตามโครงร่างงานวิจัย
1.2 สามารถวิเคราะห์และคำนวณ เขียนและสอบป้องกันงานวิจัย และส่งรูปเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
1.3 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารกับองค์ความรู้อื่นในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างเหมาะสม
เพื่อพัฒนาปรับปรุงเทคนิควิธีการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ และมีการทวนสอบเพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ฝึกปฏิบัติกำหนดปัญหาและสมมุติฐานของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรืองานวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การสืบค้นข้อมูลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรืองานวิจัยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การวางแผนโครงงานวิจัยการเขียนโครงร่างงานวิจัย ดำเนินการวิจัยทดลอง ในห้องปฏิบัติการตามโครงร่างงานวิจัยภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ  การเขียน และสอบป้องกันงานวิจัย และส่งรูปเล่มรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ให้คำปรึกษาในวันพุธ เวลา 15.00 – 17.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาอุตสาหกรรมเกษตร
      Line, Facebook, E-mail, phone
    1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพ
š1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
š1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. เข้าชั้นเรียนภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และรับฟังข้อชี้แจงต่าง ๆ จาก อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
2. ดำเนินงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กำหนด เช่น การส่งโครงร่าง การนำเสนอ การส่งเล่มสมบูรณ์ และอื่น ๆ
3. มอบหมายให้ปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลาเรียน ภายใต้กฏระเบียบการใช้สถานที่ของสถานศึกษา
4. เข้าพบ อ.ที่ปรึกษา และรับฟังข้อแนะนำ ตามนัดหมาย
1. ตรวจสอบการปฏิบัติงานตลอดภาคเรียน สังเกตการแต่งกาย และมีพฤติกรรมในชั้นเรียนที่เหมาะสม
2. ประเมินความรับผิดชอบในการส่งโครงร่าง การนำเสนอ การส่งเล่มสมบูรณ์ ในเวลาที่กำหนด และประเมินคุณภาพของงานตามข้อกำหนดของคู่มือปัญหาพิเศษ
    2.1 ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
   ˜2.2 มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
   ˜2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
   š2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
1. มอบหมายงานค้นคว้าบทความทางวิชาการหรือผลงานวิจัยตีพิมพ์ใหม่ๆ ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ เพื่อหาแนวทางการทำงานวิจัยหรือปัญหาพิเศษ
2. วางแผนการทำวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยอาศัยความรู้ในสาขาวิชาอื่น ๆ บูรณาการ
3. ดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตามที่ได้วางแผน
4. รวบรวม เรียบเรียง ข้อมูลความรู้ที่ได้รับ และจัดทำโครงร่าง หรือรายงานรูปเล่มปัญหาพิเศษหลังสิ้นสุดการทดลอง
1. ประเมินความสมบูรณ์ของโครงร่างหรือเล่มปัญหาพิเศษที่ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว
2. ประเมินผลจากการนำเสนอต่อที่ประชุม เช่น การสรุปวิจารณ์ประเด็นปัญหา การตอบข้อซักถามความเข้าใจ การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ การมีเหตุผล และการประยุกต์ใช้
˜3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
 ˜3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
    3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
   3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
สังเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์ แปลผล ตีความหมายของข้อมูล เพื่อหาข้อเท็จจริง สรุป วิจารณ์ประเด็นปัญหาได้จากหลายแหล่งข้อมูล
สามารถสรุปแก้ปัญหาตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และวิจารณ์อย่างมีเหตุผล มีความเป็นไปได้
˜4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
   4.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
 ˜4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายดำเนินการทดลองเดี่ยวหรือกลุ่ม
2.วางแผนการปฏิบัติงานด้วยตนเอง
1. ดำเนินงานทดลองเสร็จสิ้นในระยะเวลาที่กำหนด
2. ประเมินประสิทธิภาพของผลการดำเนินงานอย่างเหมาะสม
˜ 5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
š5.2 สามารถสรุปประเด็น และสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
 š5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
   5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
   5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
˜ 5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษ
1. มอบหมายให้สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. วิเคราะห์ข้อมูลดิบในทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปได้เหมาะสม
3. ให้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ทางสถิติ
1. ตรวจสอบความถูกต้องของการวางแผนการทดลองและผลวิเคราะห์ทางสถิติ
2. ประเมินผลการนำเสนอ การสร้างสื่อที่น่าสนใจ เนื้อหาถูกต้อง กระชับ การนำเสนอด้วยกราฟที่เหมาะสม
˜6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ
2.อธิบายวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสม และข้อควรระวังใช้การใช้เครื่องมือ
1.การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสำเร็จของงานตามระยะเวลาที่กำหนด
2. ประเมินทักษะปฏิบัติการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 6.1
1 BSCFT105 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.3,2.2,2.3,2.4, 3.1,3.2,3.3,4.1,4.4, 5.1,5.2,5.3,5.4,5.7, 6.1 สอบการนำเสนอโครงร่างโดยคณะกรรมการสอบปัญหาพิเศษของสาขาฯ สัปดาห์ที่ 2 20% ของคะแนนรวมทั้งหมดของรายวิชา
2 1.2,1.3,2.2,2.3,2.4, 3.1,3.2,3.3,4.1,4.4, 5.1,5.2,5.3,5.4,5.7, 6.1 ปฏิบัติการดำเนินการวิจัย รูปเล่มงานปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์โดยอาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มปัญหาพิเศษ ตลอดภาคการศึกษา 60% ของคะแนนทั้งหมดของรายวิชา
3 1.2,1.3,2.2,2.3,2.4, 3.1,3.2,3.3,4.1,4.4, 5.1,5.2,5.3,5.4,5.7, 6.1 ความรับผิดชอบในการส่งโครงร่างปัญหาพิเศษ การเข้าชั้นเรียนเพื่อฟังสัมมนาปัญหาพิเศษ ตลอดจนการส่งรูปเล่มปัญหาพิเศษฉบับสมบูรณ์ โดยอาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา สัปดาห์ที่ 17 20% ของคะแนนทั้งหมดของรายวิชา
หนังสือหรือเอกสารทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
E-lerning เนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านแบบสอบถามในรูปแบบของ google form
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้จากการสอบนำเสนอปัญหาพิเศษ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร  การพัฒนาผลิตภัณฑ์
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
  3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน ซึ่งเป็นการบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร  การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา