การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

Object-Oriented Analysis and Design

 เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
เพื่อให้นักศึกษารู้จักการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมด้วยแนวคิดเชิงวัตถุด้วย หลักการของคลาส ออปเจ็ค เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมด้วยแนวคิดเชิงวัตถุ  หลักการของลำดับขั้นของคลาส การถ่ายทอดคุณสมบัติ และการมีหลายรูปของโปรแกรม
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนที่มีทักษะในการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ หลักการพัฒนาระบบงานแบบอินครีเมนท์ หลักการใช้ภาษาทางภาพเพื่อการออกแบบ UML ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานเชิงวัตถุ การสร้างแบบจำลองเกี่ยวกับความต้องการ การใช้เทคนิคยูสเคส การคิดและการวิเคราะห์เชิงนามธรรม การสร้างแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ แนวคิดการค้นหาวัตถุ แนวทางการออกแบบเชิงวัตถุ การออกแบบคลาส การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างคลาสกับวัตถุ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วยวิธีใช้เคสทูล แนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบโปรแกรมตามข้อกำหนดของยูสเคส
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
- สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา - ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย - สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน - อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
- การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย - การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม - การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน - ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
.-  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน - สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด - มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ - จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน               ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป - การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน - ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา - ประเมินจากการนำเสนอผลงาน - ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน                     การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ         จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
- จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา - การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง - การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา - ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา - ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา .  ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน - ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและ
การอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง - จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
- การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค - ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม - พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา              การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3, 6 ,8 9 12, 14, 15 16 สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 3, 6, 8 9 12, 14, 17 18 10% 25% 10% 25%
2 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 10,11,12,13,14,15 การเข้าชั้นเรียน คุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-8, 10-17 10%
3 1,2,3,4,5,6,7, 8, 10,11,12,13,14,15, แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ 1-8, 10-17 10%
4 1,2,3,4,5,6,7, 8, 10,11,12,13,14,15, กิจกรรมกลุ่ม หรือ โครงงานกลุ่ม 16 10%
1.1 เอกสารประกอบการเรียนการสอน รายวิชา การวิเคราะห์และออกแบบระบบ     1.2 กิตติ ภักดีวัฒนกุลม, กิตติพงษ์ กลมกล่อม, UML-การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ, --กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เคทีพี, 2544. 321 หน้า. 1.3 รุ่งโรจน์ สุขใจมุข, การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุด้วย ยูเอ็มแอล, 2556, 204 หน้า. 1.4 Joey F. George, Dinesh Batra, Joseph S. Valacich, Jeffrey A. Hoffer, Object-Oriented System Analysis and Design, 2nd Edition, --New Jersey:Pearson Education, 2007. 464p.
3.1 ตำราภาษาไทยที่ใช้ชื่อ การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ 3.2 เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างในรายวิชา