การตลาดดิจิทัล

Digital Marketing

เพื่อให้นักศึกษามีองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล  สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ผลต่อการตลาดดิจิทัล  สามารถประสมประสานสื่อออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างเหมาะสมตามพฤติกรรมของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ สามารถใช้สื่อการตลาดดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมกับช่องทางการขายและสื่อสารการตลาดดิจิทัลภายใต้การไม่ละเมิดความเป็นส่วนบุคคลของลูกค้าภายใต้กรอบจรรยาบรรณและจริยธรรมด้านการตลาดดิจิทัล
วิชาใหม่เริ่มใช้ ในปีการศึกษา 2566
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการตลาดิจิทัล การวิเคราะห์รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และการสร้างฐานข้อมูล การใช้เครื่องมือทางการตลาดดิจิทัล การวางแผนและการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลเพื่อเป็นช่องทางการขายและการสื่อสารการตลาด  ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ทางการตลาด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรธุรกิจและอำนวยความสะดวกในการประกออบธุรกิจ การวัดประสิทธิผฃของเครื่องมือการตลาดดิจิทัล จริยธรรมสำหรับการตลาดดิจิทัล
Introduction to digital media marketing; analysis of digital marketing environments; analysis of electronic commerece forms; analysis consumer behaviors and database creation; usages of digital marketing tools; planning and development of digital marketing strategies for becoming sale channels and marketing communication; automatic systems and artificial intelligence in marketing for applying in business organizations and facilitating business entreprenuership; measurement of digital marketing tool effectiveness; ethics for digital marketing
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หลัก1.1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไมเอารักดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
รอง 1.1.3 มีความเคารพต่อกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแแย้ง และลำดับสำคัญ
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางการตลาดดิจิทัลในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งส่งเสริมวินัยให้นักศึกษาด้วยการเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานกลุ่มหรือเดี่ยวในเวลาที่กำหนด
อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม โดยเน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นการมีส่วนร่วใและการแสดงความคิดเห็น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
 
ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา และจากการเข้าเรียนตลอดจาการแต่งการให้สุภาพเหมาะสมระหว่างการเข้าเรียน และการเข้าสอบอย่างถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
สังเกตุพฤติกรรมของการทำงานเป็นกลุ่มและการมีส่วนร่วมของการนำเสนอผลงาน
หลัก 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของการตลาดดิจิทัล  สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการตลาดดิจิทัล รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทัและสามารถเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสมกับการแัญหาที่เกิดขึ้นในการตลาดดิจิทัล
รอง 2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีด้านการตลาดดิจิทัล รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานกาณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากเทคโนโลยีที่ทำให้งานด้านการตลาดดิจิทัลต้องมีการปรับตัว
เน้นการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำโครงงานกลุ่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ทั้งด้านทฤษฏีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 
บรรยายในชั้นเรียน กระตุ้นให้เกิดการถาม ตอบเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์
 
1. ประเมินความรู้เฉพาะบุคคลด้วยแบบทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
2. ประเมินผลรายกลุ่มด้วยผลจากการทำงานกลุ่มเชิงปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการ หรือบุตตลภายนอก และมีการนำเสนอผลงาน และสังเกตุจากการเข้าร่วมทำงานกลุ่ม มีการประเมินสมาชิกในกลุ่ม ผลการทำงานร่วมกัน และสัมฤทธิผลของงานทั้งด้านเวลา และคุณภาพ ของงาน
หลัก 3.2.3 มีวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้ด้านการตลาดดิจิทัล และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ไปัญหาด้านการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการตลาดและธุรกิจทั่วไปได้อย่างเหมาะสม
รอง 3.2.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์หาทางเลิอก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามาถในการตัดสินใจเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์กับผู้ประกอบการ ที่มีความต้องการการตลาดดิจิทัล ทั้งการสอนผู้ประกอบการให้มีความรู้ และทักษะในการใช้เครื่องมือดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมตามสภาพการณ์ของธุรกิจ
 
1. แผนการดำเนินงานที่วางแผนร่วมกับผู้ประกอบการ
2. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ทั้งผลลัพธ์ที่เป็นยอดขายเพิ่ม กำไรสุทธิเพิ่ม ลูกค้าเพิ่มและอัตราการซื้อซ้ำที่เพิ่ม ภายในกรอบเวลาที่กำหนดในแผนงาน ความสม่ำเสมอของการทำงาน  เป็นต้น
3. แบบทดสอบที่เน้นการอธิบายวิธีการฝึกปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาตลอดโครงงานที่ได้รับมอบหมาย สามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่เรียนมาได้อย่างสร้างสรรค์และเข้าใจ
หลัก 4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในด้านการตลาดดิจิทัลมาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
รอง 4.1.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัยหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ร่วมทีมงาน
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มทั้งกับสถานประกอบการ และในห้องเรียน เปิดโอกาสให้เป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม สามารถยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  
2. มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคล ทั้งภายในห้องเรียน และสถานประกอบการที่เลือก โดยดูจากวิธีการทำงานร่วมกันทั้งการระดมสมอง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ตลอดจนการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
1. ประเมินพฤติกรรมในการเข้าร่วมกลุ่ม  การแสดงความคิดเห็น 
2. ประเมินจากการรายงานผลหน้าชั้นเรียนโดยสมาชิกกลุ่ม ตัวแทนต่างกลุ่ม ผู้ประกอบการ และอาจารย์
หลัก 5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการใช้เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนิด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.1.4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้มีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล
3. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัล
1. ประเมินจากการนำเสนองานกลุ่มและส่าวนบุคคลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2. ประเมินจากการอธิบายที่มาของข้อมูล หลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโลยีสารสนเทศ 
3. ประเมินจากการสรุปและอภิปรายผลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข ได้อย่างเข้าใจและมีความสร้างสรรค์
หลัก 6.1.4 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง
2. จัดกิจกรรมที่เป็นโครงงานกลุ่มร่วมกับผู้ประกอบการที่มีความต้องการการตลาดออนไลน์ เพื่อฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ เพื่อการวางแผนการตลาดดิจิทัล  การดำเนินงานตามแผน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์กาแข่งขัน ตลอดจนอภิปรายผลร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
1. พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม
2. การนำเสนอแผน และผลการดำเนินงานร่วมกับสถานประกอบการ โดยดูจากการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่างๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  โดยเฉพาะวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้อย่างชัดเจนและสร้างสรรค์
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ(Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ มีการแทรกหลักจรรยาบรรณทางการตลาดดิจิทัล รวมทั้งส่งเสริมความมีวินัยด้วยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานกลุ่ม/เดี่ยวได้ตรงตามกำหนด เน้นการจัดการเรียนการสอนที่่หลากหลายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้้อหาสาระของรายวิชาและเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำโครงงานกลุ่มและนำเสนอหน้าชั้้นเรียน ทั้งด้านทฤษฏีควบบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์กับผู้ประกอบการที่มีความต้องการเพิ่มช่องทางการตลาดดิจิทัล ทั้งการสอนผู้ประกอบการให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือดิจิทัลได้เหมาะสมตามสภาพการณ์ของธุรกิจ มอบหมายโครงงานให้นักศึกษาเพื่อให้ได้ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในห้องเรียนและสถานประกอบการที่เลือกโดยดูจากวิธีการทำงานร่วมกันืั้งการะดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป ส่งเสริมให้มีการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้มีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง และ จัดให้ทำโครงงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้นักศึกษา ฝึกวางแผน สู่การปฏิบัติ
1 BBABA636 การตลาดดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 , 1.1.3, 3.2.2, 3.2.3 คะแนนการเข้าเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1.2,2.1.4,4.1.2,4.1.3,5.1.2,5.1.3 การสอบกลางภาค และการสอนปลายภาค 7 และ 14 50%
3 3.2.2,3.2.3,4.1.2,4.1.3,5.1.2,5.1.4,6.1.4 โครงงาน ที่ประกอบไปด้วยแผนการตลาดดิจิทัล ผลการทำงานโดยการนำเสนออย่างสร้างสรรค์แลแสดงผลการดำเนินงาน 1 เล่ม 14-16 40%
Tracy L. Tuten .Priciples of Marketing In Digital Age, 2nd edition,United Kingdom: SAGE Publication, 2022
 
ณัฐพล ไยไพโรจน์,Digital Marketing,8th edition, บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, 2022 .
ณัฐพล ไยไพโรจน์,Digital Branding ,1st edition, บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, 2561.
 
Brandage online
Martec FB page
Brandbuffet online 
Marketeer online
www. การตลาดวันละตอน.com , การตลาดวันละตอน FB page
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ 
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ การเขียนสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลังจากการนำเสนอโครงการ
นการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้โดยผู้สอน 2.2   การประเมินผลตนเอง จากกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน 2.3   การประเมินตนเองจากผลการเรียนของนักศึกษา โดยพิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge management) ร่วมกันระหว่างผู้สอนในรายวิชานี้ เพื่อการพัฒนาการเรียน การสอน 3.2   การพัฒนาองค์ความรู้ด้วยการอบรมสัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้           4.1  การทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ หรืองานที่มอบหมาย  และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร           4.2   มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้        5.1   รายงานผลทวนสอบและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา        5.2   นำผลการทวนสอบฯไปรายงานใน มคอ .5 เพื่อทำการปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป