การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

Risk and Crisis Management

(1) รู้ความหมาย และความสำคัญของความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้น
(2) มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ และแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในองค์กร
(3) มีความรู้ ความเข้าใจ ในแผนการจัดการความเสี่ยง ภาวะวิกฤต สามารถติดตามประเมินผลได้
(4) สามารถวิเคราะห์ คาดการณ์ สถานการณ์ทางธุรกิจ และภาวะวิกฤติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุประเภท การติดตาม การประเมินผลตามหลักการบริหารความเสี่ยง เพื่อนำไปปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ในองค์กร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวทางการพิจารณาความเสี่ยง การกําหนดวัตถุประสงค์ การระบุ และประเภทของความเสี่ยง การควบคุมภายในองค์กร การบริหารจัดการความเสี่ยงในภาวะวิกฤติ โดยสามารถจัดทำแผนความเสี่ยงเพื่อติดตาม ประเมินผล และรายงานผลความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้
ความหมาย ความสําคัญ และผลกระทบของความเสี่ยงทางธุรกิจ กระบวนการของการบริหารความเสี่ยง การกําหนดวัตถุประสงค์ การระบุ และประเภทของความเสี่ยง การฝึกทักษะในการประเมินความเสี่ยงและการคาดการณ์ภาวะวิกฤต การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดทําแผนจัดการความเสี่ยง การติดตาม การประเมินผล และการรายงานความเสี่ยง การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กำหนดช่องทางการให้คำปรึกษาโดยผู้สอน คลอบคลุมทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสํานึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่อารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
(2) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
(3) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลําดับความสําคัญ
(1) เพื่อให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วม และการรับผิดชอบต่อสังคม โดยยืนอยู่บนพื้นฐาน คุณธรรม จริยธรรมอันดี 
(2) สอดแทรก อธิบาย และปลูกฝังการมีวินัยต่อตนเอง โดยเน้นให้นักศึกษาเข้าเรียนให้ตรงเวลา การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด การแต่งกายที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ
(3) ปลูกฝังให้นักศึกษามีความเมตตา ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชั้นเรียน มีความเสียสละ และทำคุณประโยชน์ให้กับส่วนรวม
(1) สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน การร่วมทำกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบส่วนบุคคลที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลจากการสังเกต
(2) การเคารพ และปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย 
(3) ความมีน้ำใจไมตรี ช่วยเหลือเพื่อน และครูอาจารย์
(1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สําคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
(2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวัน
(3) มีความรู้และความเข้าในในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
(1) บรรยายเนื้อหา และประเด็นสำคัญตามคำอธิบายรายวิชา ประกอบการยกตัวอย่าง และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามลักษณะของรายวิชา เน้นเรียนรู้ตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น และร่วมถกประเด็นร่วมกัน
(3) มอบหมายงานในแต่ละหน่วยการเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ ทั้งในลักษณะเดี่ยวและกลุ่ม เน้นให้นักศึกษามีทักษะการคิด วิเคราะห์ และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้อย่างเสรี
(4) สอดแทรกกิจกรรมที่สามารถเกิดการประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เรียน เพื่อให้นักศึกษานำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตการทำงาน
(1) การสอบย่อย การสอบกลางภาค และปลายภาค
(2) งานมอบหมายรายหน่วย
(3) รายงานและการนำเสนองาน
(4) การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ได้แก่ การตอบคำถาม ความใส่ใจ กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองในการถกประเด็นมอบหมายร่วมกัน
(1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
(2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
(3) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการ ความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
(1) อธิบายหลักการ ยกตัวอย่างประกอบ ศึกษากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ การวางแผนอย่างสร้างสรรค์ เป็นระบบ มีความเหมาะสม และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการองค์กรได้
(2) จัดกิจกรรมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยเน้นให้ผู้เรียนร่วมกันวางแผน และอภิปรายปัญหาร่วมกัน
(3) การศึกษาค้นคว้า เอกสาร รายงาน เพื่อประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่ศึกษานอกเหนือจากการอธิบายเนื้อหาในชั้นเรียน โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น
(1) ความถูกต้องของงานที่ได้รับมอบหมาย การวิเคราะห์กรณีศึกษา
(2) ประเมินตามผลของงาน และการปฏิบัติงานที่ได้ศึกษาเรียนรู้
(3) การนำเสนอเนื้อหา/รายงาน ทัศนคติเชิงบวก แนวคิด เชาว์ปัญญา และการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล
(4) ความตั้งใจ/ใส่ใจ ในการร่วมกิจกรรม
(1) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) อธิบายเนื้อหา ความสำคัญ สอดแทรกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน โดยให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือกันปฏิบัติงาน มีการเสนอแนะ แสดงความเห็น อภิปรายผลร่วมกัน เพื่อปลูกฝังความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน
(2) สอนโดยสอดแทรกความรู้ที่เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
(3) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ร่วมกันทำเป็นกลุ่ม โดยใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล มีการปรับเปลี่ยนบทบาทให้เป็นทั้งผู้นำ และผู้ตาม
(4) อธิบายหลักการ ยกตัวอย่าง ทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการแสดงความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
(1) การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
(2) ประเมินจากพฤติกรรมการทํากิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(3) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
(4) พฤติกรรมการระดมสมองร่วมกัน (Brainstorming)
(1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจําวัน
(2) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค
(1) ให้นักศึกษาได้ใช้สื่อ เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้น และนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรายวิชา
(2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียง และนําเสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสําคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(3) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าข้อมูล และนำเสนอผลงานในรายวิชา
(4) มอบหมายงาน วิเคราะห์กรณีศึกษา เพื่อนำเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสม และมีความเป็นเหตุเป็นผล
(1) การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
(2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้ โดยสามารถเลือกวิธีการนําเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถตอบคำถามที่เกี่ยวข้องได้
(3) สามารถอธิบายการสืบค้น และนำเสนอข้อมูลพื้นฐานจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA255 การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-9 (1) แบบทดสอบกลางภาค (2) แบบทดสอบปลายภาค 9 17 60%
2 หน่วยที่ 1-9 (1) แบบทดสอบย่อย (2) คะแนนการส่งงาน/งานมอบหมาย (3) กิจกรรมในชั้นเรียน (4) การวิเคราะห์กรณีศึกษา (5) รายงาน และการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 หน่วยที่ 1-9 (1) คุณธรรม จริยธรรม การเคารพกฎระเบียบร่วมกัน (2) การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา (3) การมีส่วนร่วม ความสนใจ และการตอบสนองในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
(1) กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
(2) จิรพร สุเมธีประสิทธิ์, มัทธนา พิพิธเนาวรัตน์, และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
(3) ณัฐกริช เปาอินทร์. (2559). การประเมินสถานการณ์เพื่อการจัดการความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รัตนไตร. 
(4) ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยงด้าน HR. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
(5) นฤมล สะอาดโฉม, บุษกร วัชรศรีโรจน์, และวาสิตา บุญสาธร. (2551). CRO ต้องรู้ คู่มือบริหารความเสี่ยงองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด.
(6) แอพการ์, เดวิด. (2550). รู้ทันความเสี่ยง. แปลและเรียบเรียงโดย วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ และณัฐยา สินตระการผล. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
(7) Ron Real. (2012). Smart Risk Management. USA: American Institute of Certified Public Accountants, Inc
- ตัวอย่างแผนความเสี่ยง
- ตัวอย่างกรณีศึกษา
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินในรายวิชา
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- ข้อเสนอแนะผ่านสื่อออนไลน์ และช่องทางตามที่ผู้สอนกำหนด
- คะแนนผลสัมฤทธิ์โดยรวม
- การทดสอบย่อย การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- รายงานผลจากการค้นคว้า และงานที่ได้รับมอบหมาย
- การนำเสนองาน/การค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษา
- การให้ข้อเสนอแนะ และการตอบคำถามของนักศึกษา
- การประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่ม
- สังเกตการณ์สอน และความสนใจของนักศึกษา
- ปรับปรุงเนื้อหาและกรณีศึกษาให้น่าสนใจ และเป็นปัจจุบัน
- พัฒนารูปแบบ วิธีการเรียน และสื่อการเรียนสอน
- การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา
- การประเมินการสอนของตนเอง และสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน
- การสอบย่อย และการทำแบบฝึกหัดมอบหมาย
- การทบทวนสอบ การให้คะแนน หรือการสุ่มตรวจผลงาน โดยอาจารย์ท่านอื่น
- ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา เพื่อตรวจสอบผลงาน ข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของกรรมการ และผู้เกี่ยวข้อง
- รายงานผลการทวนสอบ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
- ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร
- ปรับการเรียนการสอน หรือหัวข้อในบางประเด็นตามผลการเรียนรู้