การควบคุมคุณภาพ

Quality Control

เพื่อผู้ที่ศึกษาวิชานี้ได้เรียนรู้ถึงหลักการศึกษาควบคุมคุณภาพในระบบการผลิต สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพทั้ง 7 อย่างได้อย่างเหมาะสม เช่น แผนภูมิพาเรโต แผนภูมิก้างปลา แผนการควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ศึกษาการสร้างแผนการควบคุมคุณภาพ กำหนดแผนการชักตัวอย่าง เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการดำเนินกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ ศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีระบบคุณภาพ ความเชื่อถือได้และการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังปลูกฝังให้นักศึกษามีเจตนคติที่ดีแก่วิชาการควบคุมคุณภาพ
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ที่เป็นวิชาพื้นฐานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาต่าง ๆ ที่ต้องใช้การควบคุมคุณภาพในการนำไปใช้งาน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
           ศึกษาระบบควบคุมคุณภาพในระบบการผลิต การเลือกใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพได้อย่างเหมาะสม เช่น ใบตรวจสอบ แผนภูมิควบคุมพาเรโต แผนภูมิเหตุและผลฯลฯ ศึกษาการสร้างแผนภูมิควบคุมคุณภาพ และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในส่วนของกิจกรรมการผลิตที่เป็นเป้าหมายของ Monodzukuri ความเชื่อถือได้ และการรับประกันซึ่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์
อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียนการสอน จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะกรณีรายที่ต้องการ)
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดความรู้ทฤษฎี สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 25% 25%
2 การฝึกปฏิบัติตาม ใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้าคว้า งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษายกเว้นสัปดาห์สอบ 20% 20%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าชั้นเรียนและความประพฤติ การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
หนังสือ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control).--กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้้าส์์, 2565.
Power Point Presentation  ทฤษฏีการควบคุมคุณภาพ
หนังสือ  Douglas C. Montgomery (8th Edition) Introduction to Statistical Quality Control, Wiley