การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

Quantitative Analysis for Business Decision Making

1. เข้าใจการวิเคราะห์ปัญหา และข้อจำกัดทางธุรกิจในเชิงปริมาณ
2. เข้าใจการสร้างแบบจำลองในการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ
3. เข้าใจการแก้ปัญหาการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณโดยวิธีต่างๆกัน
4. นำความรู้ไปใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการบริหารการผลิต  การขนส่ง  การมอบหมายงาน  และสินค้าคงคลัง
5. นำความรู้ไปใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผน  และการตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ
6. เป็นความรู้พื้นฐานในการศึกษาต่อระดับสูง
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจในเชิงปริมาณ และกระบวนการตัดสินใจ สามารถวิเคราะห์กระบวนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ  โดยสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวางแผน และการประยุกต์แก้ปัญหาในเชิงธุรกิจและบริหารโครงการภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
การใช้เทคนิคเชิงปริมาณต่าง ๆ ที่ใช้ในการตัดสินใจดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์ตัวแบบในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ เช่น เทคนิคการพยากรณ์ ทฤษฎีเกม ตัวแบบการมอบหมายงาน ตัวแบบการขนส่ง ตัวแบบเชิงเส้น ตัวแบบพัสดุคงคลัง และตัวแบบการตัดสินใจภายใต้สภาวะการณ์ต่างๆ  เทคนิคการวางแผนและการควบคุมการทำงานในโครงการ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
(2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
(3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น 
(1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
(2) ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(3) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(4) สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
(5) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
(1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
(2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(2) รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
(3) ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
(4) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
(5) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
(6) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบย่อยการนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
(1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
(2) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
(1) การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
(2) การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
 
ประเมินจากการนำเสนอกรณีศึกษาและประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
(1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
(2) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
(2) ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(3) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
(4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
(1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
(2) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
(2) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(4) ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
(2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(3) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(4) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
(1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
(1) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
 
(1) นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBACC118 การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.3,2.1,2.2,3.1,4.2,5.1,6.1 - แบบฝึกหัด - ทดสอบย่อย ทุกสัปดาห์ 20 %
2 1.2,1.3,2.1,2.2,3.1,4.2,5.1,6.1 - จัดกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา - หาแนวทางแก้ไขปัญหา ทุกสัปดาห์ 20 %
3 1.2,1.3,2.1,2.2,3.1 - พฤติกรรมการเข้าเรียน - การตอบคำถามและอภิปราย - การมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม ทุกสัปดาห์ 10 %
4 1.2,1.3,2.1,2.2,3.1 สอบกลางภาค 9 25 %
5 1.2,1.3,2.1,2.2,3.1 สอบปลายภาค 17 25 %
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ
เกศินี   วิฑูรชาติ.  การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ.  กรุงเทพมหานคร:  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  2550.
สุทธิมา    ชำนาญเวช.  การวิเคราะห์เชิงปริมาณ.  กรุงเทพมหานคร: บริษัทวิทยพัฒน์จำกัด, 2539.
วินัย   พุทธกุล.  การวิเคราะห์โครงการเพื่อการจัดการทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร.  2551.
ประพันธ์    ชัยกิจอุราใจ.  การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการจัดการและกรณีศึกษา (ปรับปรุงใหม่).  กรุงเทพมหานคร.  2550.
กัลยา    วานิชย์บัญชา.  การวิเคราะห์เชิงปริมาณ.  กรุงเทพมหานคร:  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  2545.
สุปัญญา    ไชยชาญ.  การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพมหานคร.  2553.
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
- สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน  เพื่อระดมความคิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา  ปัญหา  และการสรุปประเด็นความคิด
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอ  การทำงานกลุ่ม 
- ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน และประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- ประเมินจากการร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม  และการนำเสนอผลงานการวิเคราะห์ของนักศึกษา
- การสอบทดย่อย  การสอบกลางภาค  และการสอบปลายภาค
- พัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงเนื้อหา  และกรณีศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอ
- มีการตรวจแบบฝึกหัด  ตรวจทดสอบย่อย  ตรวจข้อสอบ  และร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์
- มีการวัดความรู้นักศึกษา  และแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ
- ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนน  การสอบเก็บคะแนนได้
- การทวนสอบการให้คะแนน  จากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่น ๆ