การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ

Production and Operations Management

1. รู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบการบริการ
2. เข้าใจขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการ
3. เข้าใจวิธีการทำงาน วิธีการวิเคราะห์และปรับปรุงวิธีการทำงาน
4. เข้าใจหลักการบริหารสินค้าคงเหลือ
5. เข้าใจหลักการควบคุมคุณภาพ
6. ประยุกต์ใช้ตัวแบบเพื่อพยากรณ์ความต้องการ เลือกทำเลที่ตั้ง วางแผนผังกิจการ และวางแผนควบคุมการผลิตและบริการ
เพื่อการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการนำความรู้ ความเข้าใจในระบบ การผลิตและการบริการไปเป็นพื้นฐานการออกไปปฏิบัติงาน และมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าตามยุคสมัย
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบการบริการ การออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการ การพยากรณ์ความต้องการ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวางแผนผังกิจการ การวางแผนควบคุมการผลิตและบริการ วิธีการทำงาน การวิเคราะห์และการปรับปรุงวิธีการทำงาน การบริหารสินค้าคงเหลือและการควบคุมคุณภาพ
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
1. มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม
2. มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
3. มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
4. มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดี และความชั่ว
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย โดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้อง
- ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยกำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
- กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตในการสอบ
- ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา และเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากผลงานกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2. ความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์
3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผน
4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
- การทดสอบย่อย
- การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
- ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
- ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา และมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
2. สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3. สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
4. มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษา และปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
- ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
- ประเมินจากผลงาน และการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
2. มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
3. มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อี่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
- ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
- ประเมินจากผลงานนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงธุรกิจ
2. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
3. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
4. สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
5. ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงาน และทราบข้อจำกัดของเทคโนโลยี
- ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้
- มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
- ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจน พัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้าม วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
5. สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บน พื้นฐานของความเป็นไทย
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง หรือ   สถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ  บำเพ็ญประโยชน์ต่อ สังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการ วางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการ ปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
- จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารใน สถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
- ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และ ความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
- การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
- นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใน สถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA202 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.3,2.1,2.2,3.2,4.2,5.1,6.1 - ใบงาน - ทดสอบย่อย ทุกสัปดาห์ 20%
2 2.1,2.2,3.2,4.2,5.1,6.1 - จัดกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา ทุกสัปดาห์ 20%
3 1.2,4.2 - การเข้าชั้นเรียน - สรุปประเด็นและตอบข้อซักถาม ทุกสัปดาห์ 10%
4 1.2,1.3,2.1,2.2,3.2 สอบกลางภาค 9 25%
5 1.2,1.3,2.1,2.2,3.2 สอบปลายภาค 17 25%
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ
เกียรติศักดิ์  จันทร์แดง, การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ, กรุงเทพมหานคร: วิตตี้กรุ๊ป, 2549
สุธี  ขวัญเงิน, การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ, กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548
สุมน  มาลาสิทธิ์, การจัดการผลิต/การดำเนินงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2) , กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
- สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน  เพื่อระดมความคิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา  ปัญหา  และการสรุปประเด็นความคิด
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอ  การทำงานกลุ่ม 
- ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน และประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- ประเมินจากการร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม  และการนำเสนอผลงานการวิเคราะห์ของนักศึกษา
- การสอบทดย่อย  การสอบกลางภาค  และการสอบปลายภาค
- พัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงเนื้อหา  และกรณีศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอ
- มีการตรวจแบบฝึกหัด  ตรวจทดสอบย่อย  ตรวจข้อสอบ  และร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์
- มีการวัดความรู้นักศึกษา  และแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ
- ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนน  การสอบเก็บคะแนนได้
- การทวนสอบการให้คะแนน  จากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่นๆ