เทคโนโลยีการแปรรูปเพื่อธุรกิจ

Business Processing Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้ 1.1  เข้าใจความหมาย และหลักทฤษฎีการแปรรูปอาหารประเภทต่างๆได้ 1.2  ทราบถึงขั้นตอนของกระบวนการแปรรูป การเตรียมวัตถุดิบ การคำนวณที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูปอาหารทางอุตสาหกรรม 1.3  นำหลักกระบวนการแปรรูปชนิดต่างๆ มาใช้ในการฝึกปฏิบัติแปรรูปอาหารชนิดต่างๆได้ 1.4  ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น
1.5 มีรับผิดชอบการทำงานเป็นกลุ่มในการแปรรูปชนิดอาหารต่างๆ และเขียนรายงานผลการแปรรูปอาหารได้
1.6 ฝึกออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทำฉลากเพื่อจำหน่ายได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มเติมเนื้อหาทั้งในส่วนภาคทฤษฎี และปฏิบัติการและเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในระดับประเทศ โดยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ จำเป็นต้องมีการแนะนำให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเว็ปไซต์ และผลงานวิจัยใหม่ๆ ในการแปรรูปอาหาร ตลอดจนออกบรรจุภัณฑ์ การทำฉลากเพื่อจำหน่ายได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญของกระบวนการแปรรูปอาหาร การเตรียมวัตถุดิบ การดำเนินการในการแปรรูปอาหารและชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการแปรรูป การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทำฉลากเพื่อจำหน่าย และเทคโนโลยีในพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น
3.1 วันพุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักครูสาขาอุตสาหกรรมเกษตร โทร 085 9108165 3.2  e-mail; achara2518@yahoo.co.th เวลา 18.00 – 20.00 น. ทุกวัน  3.3 line กลุ่ม นักศึกษาปี 3 วท.บ.ธุรกิจอาหารและโภชนาการ
มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถทำงานเป็นทีม มีเจตนคติและจรรยาบรรณที่ดีต่องานทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆของ องค์กรและสังคมตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กำหนดให้นักศึกษาแบ่งเวรรับผิดชอบในการซื้อวัตถุดิบมาใช้ร่วมกันในชั้นเรียนและสังเกตจากการทำงานร่วมกันของกลุ่ม การสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีการตรวจเช็คความตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบในการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาหารของแต่ละบุคคล ปฏิบัติตามระเบียบของการปฏิบัติการแปรรูปอาหารที่ดี รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
- ผลการทดสอบทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ - ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และการปฏิบัติการแปรรูปอาหารเป็นกลุ่ม - ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน - ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการบริการวิชาการ 
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจอาหารและโภชนาการ
ใช้การสอนแบบบรรยาย ร่วมกับการใช้สื่อ power point และ VDO เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการแปรรูป การสอนด้วยวิชาปฏิบัติการควบคู่ไปกับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี โดยเนื้อหาวิชาปฏิบัติการจะเป็นการศึกษาโดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กที่มีในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การสอนร่วมกับการฝึกปฏิบัติจริงในการออกภาคสนามอบรมการแปรรูปอาหารให้กับกลุ่มแม่บ้าน และประชาชนที่สนใจในงานบริการวิชาการ
การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค การมีส่วนร่วมในการออกภาคสนามอบรมในงานบริการวิชาการ 
มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การสอนโดยการนำความรู้ในภาคทฤษฎีมาใช้ในการฝึกปฏิบัติการแปรรูปอาหารประเภทต่างๆ การสอนโดยเทียบเคียงเนื้อหากับปรากฏการณ์ต่างๆจากบทปฏิบัติการ
- รายงานการปฏิบัติการ - คะแนนภาคปฏิบัติแต่ละครั้ง คะแนนการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การปฏิบัติงานของนักศึกษาที่นักศึกษาต้องมีปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงปฏิบัติการ มอบหมายงานกลุ่มจากกิจกรรมการเรียนการสอนในชั่วโมงปฏิบัติการ การทำงานกลุ่มร่วมกันในการฝึกปฏิบัติการแปรรูปอาหาร การร่วมให้บริการวิชาการกับผู้สอน การศึกษานอกสถานที่
ประเมินจากผลของการทำรายงานการปฏิบัติการแต่ละครั้ง ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา   
มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ มีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและโภชนาการได้อย่างเหมาะสม
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรูปภาพ จาก Power point  การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำรายงานการแปรรูป การนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน - ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติในแต่ละชั่วโมงปฏิบัติงาน - ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1) มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถทำงานเป็นทีม 2) มีเจตนคติและจรรยาบรรณที่ดีต่องานทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3) มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 4) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆของ องค์กรและสังคมตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ 2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ 3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจอาหารและโภชนาการ 1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 1) มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ 2) มีการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และโภชนาการโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารและโภชนาการได้อย่างเหมาะสม
1 BSCFN156 เทคโนโลยีการแปรรูปเพื่อธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การเตรียมความพร้อมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 15 % และ 15 %
3 ด้านทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค สอบปลายภาค ภาคปฏิบัติการบริการวิชาการแปรรูปอาหาร 9 17 ตลอดภาคเรียน 10 % 10 % 20 %
4 ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบต่องานกลุ่มและการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน ตลอดภาคเรียน 5 %
5 ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร โครงงานการแปรรูปอาหาร 1-15 10%
6 ด้านการปฏิบัติงาน การสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน งานที่มอบหมาย และผลงานสำเร็จ (ภาคปฏิบัติ) ตลอดภาคเรียน 5 %
กิตติพงษ์ ห่วงรักษ์. (2537). กระบวนการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง.
นิธิยา รัตนาปนนท์. (2544). หลักการแปรรูปอาหารเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. (2532). กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. (2535). วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร: การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์. (2541). วิศวกรรมอาหาร : หน่วยปฏิบัติการในอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Fellows, P. (1990). Food Processing Technology. England: Ellis Horwood.
McCabe, W.L. & Smith, J.C. (1976). Unit Operation and Chemical Engineering. Auckland: McGraw-Hill International Book
อัจฉรา  ดลวิทยาคุณ และวรรณวิมล  พุ่มโพธิ์.  (2561) การผลิตทับทิมกรอบโดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปทรงกลมแบบแช่แข็งย้อนกลับ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561, 49-59.
อัจฉรา  ดลวิทยาคุณ.  (2560)  การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำตาลสดผง.  วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 11(2): 19-26.
อัจฉรา  ดลวิทยาคุณ, สุรีย์  ชมภู และจุฑารัตน์  ผิวเหลือง.  (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลลี่เสาวรสผสมฟักข้าว. วารสารการเกษตรราชภัฏ 16(1): 41-47.
อัจฉรา  ดลวิทยาคุณ, อำไพ  สงวนแวว และพรเทพ เกียรติดำรงกุล (2560).  การพัฒนาสูตรน้ำยำผงและการทำแห้งน้ำพริกกุ้งในผลิตภัณฑ์ยำข้าวเกรียบงาดำ. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 9 วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี; หน้า 393-399.
อำไพ  สงวนแวว, ชญาภา  บัวน้อย, พิมพ์ภัช  โรจน์บุญยนท และอัจฉรา  ดลวิทยาคุณ. (2560).  การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูยอรสคั่วกลิ้ง. ใน: รายงานการประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการและการประกวดนวัตกรรมบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 1. วันที่ 17-18 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่; หน้า 119-124.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 รายงานผลการปฏิบัติการกระบวนการแปรรูปอาหาร 1.2 ความสนใจและตั้งใจในการทำงาน 1.3 ผลการเรียนของนักศึกษา 1.4 แบบประเมินผู้สอน
กลยุทธ์ในการประเมินการสอนในรายวิชานี้ ดูผลจากผลการประเมินผู้สอนของนักศึกษาและนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการสอนต่อไป
จากผลการดำเนินการสอนที่ผ่านมาการเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานในสถานที่จริง เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อนักศึกษาจะเกิดทักษะในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานร่วมกับชุมชน การคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างปฏิบัติงาน และทักษะจากการฝึกจริง ดังนั้นในการทำแผนการสอนจึงควรนำนักศึกษาออกฝึกงานแปรรูปนอกสถานที่ โดยในปีการศึกษา 2566 ทางผู้สอนได้วางแผนนำนักศึกษาในรายวิชากระบวนการแปรรูปอาหาร เข้าร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากร ในการบริการวิชาการ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา กระบวนการแปรรูปอาหาร มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาโดยยึดโยงตามมาตรฐาน TQF 5 ด้านเพื่อนำมาทวนสอบผลสัมฤทธิ์วิชาในด้านต่างประกอบด้วย
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ดูจากการเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การเตรียมความพร้อมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน  10%
2. ด้านความรู้ วัดจากผลการสอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบปฏิบัติการแปรรูปอาหาร 50%
3. ด้านทักษะ วัดผลจากการฝึกปฏิบัติในภาคปฏิบัติการบริการวิชาการแปรรูปอาหาร 25%
4. ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ วัดผลจากความรับผิดชอบต่องานกลุ่มและการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน 5%
5. ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร วัดจากการทำรายงาน 10%
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก5 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   มีการนำแนวคิดการแปรรูปอาหารแบบใหม่ที่ได้จากงานวิจัยเข้ามาใช้ในการปรับปรุงการสอนให้ดีเพิ่มขึ้น  แก้ไข