การจัดการฝึกอบรมสัมมนาและการประชุม

Conference and Meeting Management

1. ทราบความหมายและความสำคัญของการฝึกอบรม สัมนาและการประชุม 2. ทราบกระบวนการฝึกอบรมสัมนาและการประชุม 3. เข้าใจและสามารถเขียนโครงการฝึกอบรม รวมถึงการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอบรม 4. มีทักษะในการจัดฝึกอบรมสัมนาและการประชุม 5. มีทักษะในการติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอก
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการเขียนโครงการ  ฝึกทักษะการจัดโครงการฝึกอบรมรวมถึงการเลือกใช้เทคนิคต่างๆในการฝึกอบรม การจัดห้องและสถานที่ในการฝึกอบรม  การติดต่อสื่อสารและการประสานงานที่เหมาะสม การผลิตสื่อและเอกสารประกอบการอบรมและการประเมินผล รวมถึงมีความรู้และทักษะในการจัดนิทรรศการและการประชุม
ความหมายของการประชุม สัมมนา และการจัดนิทรรศการ ประเภทของการจัดการประชุม และการจัดนิทรรศการทั้งในรูปแบบออนไลน์และจัดตามสถานที่ ความเกี่ยวข้องกับธุรกิจอื่น ๆ สิ่งจำเป็นพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุนในการดำเนินธุรกิจ ประชุม สัมมนา และการจัดนิทรรศการ การเตรียมการและการบริหารการประชุม สัมมนา นิทรรศการ และงานแสดงสินค้า การบริหารราคา การสร้างและศึกษาความพอใจในการจัดสัมมนา นิทรรศการและการประชุม กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าการจัดฝึกอบรม สัมมนา และการประชุม
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
(2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
(3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น 
(1) ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(3) สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
(1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
(2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
(3) มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
(4) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(2) รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบ ในแบบทดสอบ
(3) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง
(4) ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
(5) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
(6) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
(1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
(2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(1) การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
(2) การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
(3) จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนำเสนอโครงงานและประเมินจากการทดสอบ รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
(1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
(3) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
(4) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
(5) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
(2) ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(3) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
(4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
(1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
(2) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
(2) มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(4) ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
(2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(3) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA246 การจัดการฝึกอบรมสัมมนาและการประชุม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,4,5 - การทำกิจกรรมในชั้นเรียน การตอบคำถาม - จากฝึกปฏิบัติดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรม การจัดนิทรรศการ -การทำงานกลุ่มตามมอบหมายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อภิปรายร่วมกัน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 2.1 2.2 2.3 2.4 การสอบกลางภาค 9 30%
3 3.1 3.2 3.3 3.4 การสอบปลายภาค 17 30%
4 1.1 -การเข้าชั้นเรียน -การเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ชูชัย  สมิทธิไกร.( 2556 ). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด  บางโม. (2551)  เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์ จำกัด.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์.( 2554 ).เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม.กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิซซิ่ง.
-
- เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาเทคนิคการฝึกอบรมทางธุรกิจ - เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1. สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน 2.สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน 3. ประเมินจากการปฏิบัติการจัดโครงการฝึกอบรม 4.ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
โดยการปรับปรุงการเรียนการสอนจากผลการประเมินที่นักศึกษาประเมินโดยปรับปรุงในด้านที่มีคะแนนน้อยที่สุด
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการนำเสนองานเดียวโดยตรวจสอบพัฒนาการของนักศึกษารายบุคคลจากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจ แนะนำ และชื่นชม กับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ