เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2

Electrical Machines 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรสมมูลและคุณลักษณะรวมทั้งสมรรถภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำทั้งเฟสเดียวและสามเฟส การวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้าทั้งแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส หลักการควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับและการป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2 เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตรกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้างของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ วงจรสมมูลและคุณลักษณะรวมทั้งสมรรถภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำทั้งเฟสเดียวและสามเฟส การวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้าทั้งแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส หลักการควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับและการป้องกันเครื่องจักรกลไฟฟ้า
Study and practice of the structure and operation of mechanical alternator, the equivalent circuit including the performance and features of the generator, the induction motors single phase motors and three phase motors, analysis of mechanical power, a synchronous and a- synchronous machine, the mechanical control and the prevention of electrical machine.
 
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง ราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ (หลัก)
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม (รอง)
กำหนดให้นักศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกาย การสอนเน้นการสอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม การมีทัศนคติที่ดีในการช่วยเหลือผู้อื่น ทัศนคติด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและการลดการใช้พลังงาน
1.3.1 การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 เกิดความรู้ และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (รอง)
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ไฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลัก)
2.1.4 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อการตามาตรฐาน (รอง)
ใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นหลักการทางทฤษฎีและและประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยสอดคล้องกับเนื้อหาเครื่องจักรกลไฟฟ้า การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งเน้นนวัตกรรมใหม่หรืองานวิจัยใหม่ มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เน้นรูปแบบการสอนแบบ onsite ร่วมกับการสอนแบบ online บนโปรแกรม MS Team
2.3.1 การทดสอบย่อย 
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการทฤษฎี และปฏิบัติ
2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดและการทำการทดลอง รวมถึงการวิเคราะห์และอภิปรายผลการทดลอง
2.3.4 การนำเสนองานและอภิปรายผลงานในชั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์จะเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ (รอง)
3.1.3 สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้จากการทำวิจัยและสร้างหรือร่วมสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน สถานประกอบการและสังคม (รอง)
3.2.1 การมอบให้นักศึกษานำเสนอแนวความคิด และปัญหาที่สนใจที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า
3.2.2 ให้นักศึกษาได้ลงปฏิบัติ และแก้ไขสภาพปัญหาจริง ในรูปแบบการพัฒนาอุปกรณ์ โดยใช้องค์ความรู้ที่ศึกษาจากทฤษฎี
3.2.3 การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษา โดยการนำทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้
เน้นรูปแบบการสอนแบบ onsite ร่วมกับการสอนแบบ online บนโปรแกรม MS Team
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา และการนำเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 สัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำ และผู้ตามในการทำงานเป็นกลุ่ม (หลัก)
4.1.3 พัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม เพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม (รอง)
4.2.1 กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี 
4.2.3 การนำเสนอรายงาน และการซักถาม-ตอบคำถาม
เน้นรูปแบบการสอนแบบ onsite ร่วมกับการสอนแบบ online บนโปรแกรม MS Team
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการระหว่างการเข้าร่วม และความสนใจ
4.3.3 ประเมินจากการแสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม (รอง)
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้ดทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม (รอง)
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาละเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล (รอง)
ดำเนินการสอนโดยมอบหมายงานหรือหัวข้อที่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรืองานวิจัยที่น่าสนใจ ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นำเสนอผ่านการทำเล่มรายงานพร้อมการนำเสนอความคิดสนับสนุน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
เน้นรูปแบบการสอนแบบ onsite ร่วมกับการสอนแบบ online บนโปรแกรม MS Team
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการสอบข้อเขียนทางด้านการพัฒนาทางความคิด จากตัวอย่างสมมุติ
การเรียนการสอนเน้นความสำคัญไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม
6.1.2 มีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและการจัดการเรียนรู้หรือสอนงานได้อย่างหลากหลาย (รอง)
6.1.3 จัดกิจกรรมและออกแบบการเรียนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒาการคิด การทำงาน การจัดการการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ ฝึก)ฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยบูรณาการการทำงานกับการเรียรรู้และคุณธรรม จริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน แก้ปัญหา และพัฒนา(รอง)
6.1.5 สามารถจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะศตวรรษที่ 21 และเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาตนเอง เช่นทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ทักษะการรู้เรื่อง (Literacy Skills) และทักษะชีวิต (LifeSkills) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ (รอง)
6.2.1 ออกแบบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการความรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยวิธีการที่หลากหลาย
6.2.2 จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากต้นแบบ เช่น ครูผู้ช่วย 
6.2.3 จัดให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนที่ได้ปฏิบัติการ โดยใช้วิธีเพื่อนสอนเพื่อน
6.3.1 ประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติงาน
6.3.2 ประเมินผลจากการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.3 ประเมินจากโครงงานนักศึกษา
6.3.4 ประเมินจากการนิเทศนักศึกษาขณะปฏิบัติการสอน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 TEDEE108 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3.3, 2.3.1, 2.3.2, 3.3.1 สอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 5% 20% 5% 25%
2 1.1.2, 2.1.4, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 - การทดลองและรายงาน - โครงงานประยุกต์ ตลอดภาคการศึกษา 20% 15%
3 1.1.3, 6.1.2, 6.1.3, 6.1.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- Stephen J. Chapman, Electric Machinery Fundamentals, McGRAW – HILL
- เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า 2 (Electrical Machine II)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ