สัมมนาประเด็นปัจจุบันทางการตลาด

Seminar in Current Marketing Issues

การนำเสนอและอภิปรายประเด็นปัญหาปัจจุบันในหัวข้อทางการตลาดที่น่าสนใจ การนำความรู้ทางด้านการตลาดมาวิเคราะห์ หาคำตอบ และแก้ไขปัญหาทางการตลาด เช่น ทฤษฎี แนวคิด และเทคโนโลยีทางการตลาด กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางการตลาด และความคิดสร้างสรรค์ แนวโน้มทางการตลาดที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมเป็นต้น การฝึกปฏิบัติในการแสดงความคิดเห็นและกระบวนการตัดสินใจทางด้านต่าง ๆ ของการตลาด การสร้างความเข้าใจในบทบาทของการตลาดต่อองค์กรธุรกิจและความสัมพันธ์กับหน้าที่ทางธุรกิจอื่น ๆ เน้นการทำงานเป็นทีม
- อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านการสอนประจำสัปดาห์ และสื่อออนไลน์  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์      (เฉพาะรายที่ต้องการ) วันพุธ 13.00-16.00 น.  
นักศึกษามีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับผังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์แก่ชุมชน
1.ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
2.ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3.ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4.สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและแสดงความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
5.ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนัก รู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ ส่วนหลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติจะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
1.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
3.ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง
4.ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
5.ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
6.ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
7.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูลแนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาและงานอื่น ๆ ด้วยตนเอง สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงความรู้ทางทฤษฎี ประสาบการณ์ทางภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสารถทางวิชาการและวิชาชีพ สำหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้วิธีการปฏิบัติงานประจำ และหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
1.จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
2.กรณีศึกษาทางการจัดการโครงงานงานวิจัยและกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
3.การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
4.การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
5.จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนำเสนอโครงงานรายงานผลการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และต้องใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะหฺ์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพ นอกจากนึ้ นักศึกาาต้องมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
1.ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกกสถาบันการศึกษา
5.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
1.การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
2.ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
3.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
4.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
5.ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการทำสหกิจศึกษา
สามารถศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการพูด การเขียน สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้ 
นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2.มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
4.ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลช
5.บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่สามารถทำได้
1.การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
2.ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเ่ทศได้อย่างเหมาะสม
3.ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลขซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
รศ.ดร. เสรี วงษ์มณฑา. กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2547.
สุวิมล  แม้นจริง, ผศ., การจัดการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2546
รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาด  การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2541.
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้

การถาม – ตอบระหว่างเรียนการสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผลการเรียนของนักศึกษา ข้อเสนอแนะผ่านการประเมินการสอนของอาจารย์ประจำวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการสอน ความร่วมมือของนักศึกษา ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ที่ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือตรวจผลงานของนักศึกษา  รวมถึง พิจารณาจากผลการนำเสนอผลงาน และหลังผลการเรียนของรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่นหรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนนสอบ  และการให้คะแนนพฤติกรรม
ผลการประเมินและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิผลรายวิชาโดยมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3  ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมอง ในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ผู้สอนต้องมีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูล หรือกรณีศึกษาใหม่ ๆ ให้แก่นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ