วัฒนธรรมและธรรมเนียมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

International Culture and Business Etiquette

 1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจ 1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางสังคมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจ 1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจธรรมเนียมทางธุรกิจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจ 1.4 เพื่อให้นักศึกษารู้ศัพท์ สำนวนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะทางด้านวัฒนธรรม และธรรมเนียมในการดำเนินธุรกิจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม
และธรรมเนียมทางธุรกิจของประเทศเหล่านั้นเป็นหลัก
ศึกษาความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรม และธรรมเนียมทางธุรกิจของ
ประเทศเหล่านั้นเป็นหลัก
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งให้ทราบในชั่วโมงแรกของการเรียน และติดประกาศเวลาให้คำปรึกษาไว้หน้า      ห้องพักอาจารย์  -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
      โดยแสดงความรับผิดขอบหลัก (      ) และความรับผิดชอบรอง (      )
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ   ข้อที่ตรงกับของสาขา บริหารธุรกิจ ด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
3.   มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน
 1.  จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  
 2.  สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา  
 3.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  
4.  กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น    
5.  เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน  
6.  สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน    
7.  อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน  
 รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้
1)  การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  
2)  การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  
3)  การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม  
4)  การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน  
5)  ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์    
6)  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ    
7)  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย    
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
             โดยแสดงความรับผิดขอบหลัก  (      ) และความรับผิดชอบรอง (      )
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ   ข้อที่ตรงกับของสาขา บริหารธุรกิจ ด้านความรู้        
1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง  2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน
1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ  
 2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน    
3.  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง  
 4.  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป    
5.  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง  
6.  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  
  2.  รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ    
3.  ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง    
4.  ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ  
5.  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา    
6.  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน  
7.  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน    
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ข้อที่ตรงกับของสาขา บริหารธุรกิจ ทักษะทางปัญญา   1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่าง
       เหมาะสมด้วยตนเอง 
2.  คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน
 1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน    
2.  จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  จากกรณีศึกษา  
3.   จัดให้นักศึกษาค้นคว้ากรณีศึกษา โครงงานวิจัยด้านธุรกิจและกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม จากนั้นทำการรายงานหน้าชั้นเรียน  
4.  การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น    
5.  จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด   การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล
 1.  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา    
2.  การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ  
3.  การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง  
4.  ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา  
 5.  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะ
      ต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา   
6.  ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน    
7.  ประเมินจากการที่นักศึกษาแก้ไขรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง    
8.  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา  
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
       มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯข้อที่ตรงกับของสาขาบริหารธุรกิจ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 
1. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน
1.  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง  
2.  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม  
3.  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป    
4. มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง    
5. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา  
6. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล
1.  การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค    
2.  พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา    
3.  พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา    
4. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา    
5.  พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี  
6.  สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)  
 7.  สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน    
8.  ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา    
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯข้อที่ตรงกับของสาขาบริหารธุรกิจ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
  2. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน 
1.  สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง    
2.  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา    
3.  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์ และวัฒนธรรมทางธุรกิจที่หลากหลาย    
6.  มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล
1.  การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค    
2.  ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม  
3.  พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร  
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาจะได้รับการมอบหมายให้ทำ assignment homework ทั้งแบบงานเดี่ยว งานกลุ่ม และ ทดสอบย่อย ทางคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับวัฒนธรรม และคุณธรรม จริยธรรมทางการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ดูผลจากการส่ง Assignment การทำงานเดี่ยว งานกลุ่ม และการทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 25 %
2 ให้นักศึกษาทำรายงานกลุ่ม 2 ครั้ง (ครั้งละ 10%) ในเรื่อง วัฒนธรรมการดำเนินชีวิต วิถีชีวิตของแต่ละประเทศ และครั้งที่ 2 ความแตกต่างทางด้านศิลป และสถาปัยกรรม ของแต่ละประเทศ วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนองานตามรายงานที่ได้ค้นคว้ามา ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 - สัปดาห์ที่ 16 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 ทดสอบกลางภาค และปลายภาค ใช้ข้อสอบวัดและประเมินผลการศึกษา สัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ที่ 17 20% สำหรับสอบกลางภาค และ 25% สำหรับสอบปลายภาค
*Funk and Wagnall Encyclopedia
History of the United Kingdom History of the United States of America History of Canada History of Australia History of New Zealand Longman Dictionary of  Contemporary English The Three Thousand High Frequency Wordlist
Adrian Pilbeam,  “Working Across Cultures” Market Leader, Business English: Pearson Education,  2010
www.stanford.edu/class/me214 https://geert-hofstede.com/organisational-culture.html https://geert-hofstede.com/tl_files/art%20organisational%20culture%20perspective.pdf  เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ UK  Education US Education
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3  ข้อเสนอแนะผ่านระบบออนไลน์  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาทั้งในระบบการเรียน Online โดยผ่านโปรแกรม MS Team,  Face book  และ Line
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้       4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจรายงาน และการนำเสนองานจิตอาสา บริการวิชาการด้านภาษาอังกฤษธุรกิจที่ใช้ในการค้า (เป็นภาษาอังกฤษในเชิงธุรกิจ) ของนักศึกษาเพื่อเป็นการทวนว่าสิ่งที่นักศึกษาได้ศึกษาไปนั้นมีผลออกมาเป็นอย่างไร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการเรียนสอน และรายละเอียดเนื้อหาในรายวิชานี้  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังต่อไปนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก1- 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งเรียนเชิญวิทยากรผู้ชำนาญเฉพาะด้านมาบรรยายเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัย
        ของอาจารย์หรือ ในภาคธุรกิจที่ต้องติดต่อในเรื่องธุรกิจกับชาวต่างประเทศที่ใช้ภาอังกฤษเป็นภาษาสากล
5.3   นำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ที่มาจัดเป็นนิทรรศการในจ.เชียงใหม่