บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง

Transport Packaging

     1. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การคำนวณพื้นที่ การจัดวาง  ระบบโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทาน      2. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบ      3. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล รายละเอียด และสัญลักษณ์การขนส่ง      4. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบ และจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
         เพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และฝึกปฏิบัติการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
โดยมุ่งสนองนโยบายการพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศษตวรรษที่ 21
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทาน การลดต้นทุนในการขนส่ง
การคำนวณพื้นที่ การจัดวาง การทดสอบ การใช้สัญลักษณ์ และการออกแบบ
บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
6 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
   (1) ชื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
   (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
   (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
     กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชาสอน ให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
      การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
    (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
    (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ อย่างเป็นระบบ
    (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
    (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
       กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
   (1) การทดสอบย่อย
   (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   (3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
   (4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   (5) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
   (6) ประเมินจากแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
   (7) ประเมินจากการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
   (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
   (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
   (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
   (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
         กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน หรือการจัดทำศิลปนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
        กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
    (1)  มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
    (2)  มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
    (3)  สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
           กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
        กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
     (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ      (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ      (3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
     สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
        กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาโครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
         กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา  (1) ชื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม    (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ   (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง     (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ   (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม     (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา    (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ    (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์      (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้    (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน   (1)  มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   (2)  มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ     (3)  สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง   (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ     (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ        (3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม      สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
1 BAAPD118 บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1.1 – 1.3 การเข้าชั้นเรียน /ความรับผิดชอบ และ การแต่งกาย ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
2 ทักษะทางปัญญา 3.1-3.3 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4.1 – 4.3 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข 5.1-5.3 ทักษะพิสัยปฎิบัติ 6.1-6.3 - สังเกตุความเข้าใจและปัญหาระหว่างทำ - ดูจากผลงานที่ปฎิบติ 2-8 และ 10-16 60
3 การนำข้อมูลประยุกต์ใช้ในงานปฏิบัติ ทดสอบ - ปากเปล่า - ทดสอบเขียนข้อสอบอัตนัย 8 และ 17 30
1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือการใช้ไม้เพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2532. สำนักพิมพ์ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย, กรุงเทพมหานคร.
2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2546. ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก, กรุงเทพมหานคร.
3. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การใช้กระดาษเพื่อการหีบห่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2545. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร. 4. มยุรี ภาคลำเจียก, บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2556. บริษัท โรงพิมพ์หยี่เฮง, กรุงเทพมหานคร. 5. มยุรี ภาคลำเจียก, รอบรู้บรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2558. บริษัทจินดาสาสน์การพิมพ์, กรุงเทพมหานคร. 6. เจนยุทธ ศรีหิรัญ, รอบรู้เรื่องกล่องกระดาษลูกฟูกเกาะกระแสกล่องสำหรับขนส่งสินค้าออนไลน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2563. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านสื่อออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน  2.2   ผลการปฎิบัติงานของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้     3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน     3.2   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในและนอกชั้นเรียน     3.3 นำแนวคิดหรือข้อคิดเห็นจากเวทีประกวดต่าง ๆ มาปรับปรุงและเพิ่มเติม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้     4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ       4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้มาจากการเรียนการสอน โจทย์จริง หรือโจทย์จากการประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์