ฟิสิกส์สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร

Physics for Argo - Industry

1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานทางกลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ และแม่เหล็ก-ไฟฟ้า 2. เพื่อเข้าใจวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร 3. เพื่อฝึกและพัฒนาทักษะปฎิบัติการที่เป็นระบบ 4. เพื่อฝึกและพัฒนาทักษะวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เป็นระบบ 5. เพื่อสร้างเสริมจิตพิสัยในการปฎิบัติงานอย่างมีระบบตามหลักวิทยาศาสตร์
1. เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2. เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ ความเข้าใจ ในรายวิชาฟิสิกส์สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรไปเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติการทดลอง จลศาสตร์ พลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล คลื่น เสียงและแสง ทฤษฎีจลน์ของก๊าซและเทอร์โมไดนามิกส์ ไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ ทัศนศาสตร์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสอนจะเน้นที่หลักการที่สำคัญทางฟิสิกส์รวมถึงการสร้างทักษะในการวิเคราะห์และคำนวณเพื่อแก้ปัญหาด้านอุตสาหกรรมเกษตร
 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.00 น. ห้อง 211 โทร 082-3858944 E-mail: s.inthong@rmutl.ac.th เวลา 9.00 - 18.00 น. ทุกวัน (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) 1.บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง เปิดโอกาสให้นักศึกษาตั้งคำถามหรือตอบคำถาม 2.อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน หาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องนักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ ในการทำงานกลุ่มต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิก 3.กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยไม่กระทำทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการสอนในรายวิชา กิจกรรม แลกเปลี่ยน 1นาที 1 คติประจำใจของนักศึกษา
-การนำเสนองาน -แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติ 1.พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
ประเมินผลจากการทำงานเป็นกลุ่ม ความสัมพันธ์ในกลุ่ม
3.ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย คลอบคลุม เนื้อหา ทางทฤษฎีทั้งหมดในรายวิชา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องประยุกต์มาใช้กับวิชาชีพ
1. ประเมินผลจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียนและการบ้าน 3. ประเมินจากจัดทำรายงานที่นักศึกษา 4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนภาคบรรยายและการทดลองปฏิบัติการมีการใช้ตัวอย่างที่เหมะสม 2. พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ 3. อภิปรายกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ 4. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม เพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษาในชั้นเรียน
1. สอบกลางภาคและปลายภาค 2. วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน 3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ 2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล 3. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินการเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษาและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning 2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNSC118 ฟิสิกส์สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบย่อย สอบปฏิบัติการทดลอง ตามความเหมาะสม 60%
2 - ทักษะทางปัญญา - ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ประเมินผลงานการทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน - การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล - การส่งรายงานผลการปฏิบัติการทดลองตามที่มอบหมายรายบุคคล - ประเมินผลงานการทำงานกลุ่มจากรายงานการประยุกต์รายวิชาหลักฟิสิกส์ กับวิชาชีพ พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 - คุณธรรม จริยธรรม - การเข้าชั้นเรียน(บันทึกเวลาการมาเรียน) - สังเกตพฤติกรรมจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาฟิสิกส์สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร (เอกสารอัดสำเนา) 
2.1 ฟิสิกส์ 1และ ฟิสิกส์ 2. คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.2 กลศาสตร์เวกเตอร์ พลศาสตร์ภาคแรก . ผศ.จรัส บุณยธรรมา , สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.  2.3 กลศาสตร์วิศวกรรม. อุดมวิทย์ กาญจนวรงค์  2.4 โจทย์ประกอบการเรียนฟิสิกส์ . ผศ.จรัส บุณยธรรมา , สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.  2.5 รศ.ก่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์ , ฟิสิกส์มหาวิทยาลัย
ฟิสิกส์ราชมงคล : http://www.electron.rmutphysics.com/physics/charud/scibook/electronic-physics1/content.html หรือ website อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การประยุกต์ใช้สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนในรูปแบบการนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน  แก้ไข
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยทำการสำรวจเบื้องต้นจากผลการประเมินการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ 3.2 การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง 4.2 ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนส่งเกรด 4.3 การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาเดียวกันของแต่ละกลุ่มกับผลการประเมินพฤติกรรม 
ผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 นำผลที่ได้จากการประเมินของนักศึกษา คะแนนสอบ นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองพัฒนาความคิดที่หลากหลาย