การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ

Human Resource Management for Tourism and Hospitality

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีบุคลิกภาพและทักษะในวิชาชีพสามารถปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้
1.2เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นและของประเทศ
1.3เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ มีใจรักงาน และสำนึกในจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยว  ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และสมรรถนะในทักษะขั้นตอนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมให้เกิดประสิทธิสูงสุดโดยมีการนำทักษะและเทคนิค แนวคิดใหม่ๆใน การพัฒนาศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในมุมมองต่างๆ จากประสบการณ์งานวิจัย หรือจากการบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ
ศึกษาแนวคิด หลักการ วิธีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ การวิเคราะห์และวางแผนงาน การสรรหาและคัดเลือก การบรรจุและการแต่งตั้ง บุคลากร การบริหารค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ การพัฒนาและการฝึกอบรมพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
- วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องสาขาการท่องเที่ยว โทร.064-5919474
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านแชทกลุ่มไลน์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1) มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.1.2) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 1.1.3) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น 1.1.4) มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฏระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.1) กำหนดให้มีวิชาจรรยาบรรณโดยเฉพาะและทำรายงาน 1.2.2) สอนคุณธรรม จริยธรรม สอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ 1.2.3) สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน 1.2.4) สอนโดยการอ้างอิงประมวลกฎหมาย (Ethic Code) ที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ 1.2.5) การบรรยายพิเศษโดยผู้มีประสบการณ์หรือพระในศาสนาต่าง ๆ 1.2.6) การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน
1.3.1) ผลการสอบในวิชาคุณธรรม จริยธรรมโดยตรง จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย 1.3.2) สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน 1.3.3) ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน 1.3.4) กำหนดหัวข้อทางคุณธรรม จริยธรรมให้พูดแสดงออก 1.3.5) ผลการประเมินจากการฝึกงานสหกิจโดยองค์กรที่ผู้เรียนเข้าฝึกงาน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1) มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 2.1.2) มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.3) มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์กรความรู้ในงานอาชีพ
2.2.1) การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ 2.2.2) ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริง ภาคปฏิบัติ 2.2.3) อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2.2.4) การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน 2.2.5) ฝึกปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการ 2.2.6) ฝึกปฏิบัตินอกสถานที่โดยร่วมกับมืออาชีพ (Professional) ในวิชานั้น ๆ
2.3.1) ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน 2.3.2) ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค 2.3.3) ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน 2.3.4) ประเมินจากรายงานที่ให้ค้นคว้า
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1) มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และความขัดแย้ง รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.1.2) มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.1.3) มีความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล
3.2.1) ฝึกปฏิบัติและจัดทำโครงการเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ตลอดจนการวิจัย 3.2.2) การอภิปรายเป็นกลุ่ม 3.2.3) การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า หรืองานเกี่ยวกับการพัฒนา 3.2.4) การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการในสายอาชีพ 3.2.5) กำหนดให้มีรายวิชาที่ต้องใช้ทักษะการคำนวณ เช่น การจัดการการบริการการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม
3.3.1) ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ 3.3.2) การสอบข้อเขียน 3.3.3) การเขียนรายงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1) มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหาได้ 4.1.2) มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐานสากล 4.1.3) มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้ร่วมวิชาชีพทุกระดับในสภาพสังคมการทำงานที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม
4.2.1) บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ 4.2.2) มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม 4.2.3) สอนโดยใช้กรณีศึกษา
4.3.1) ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน 4.3.2) ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (Peer) 4.3.3) ใช้ประวัติสะสมงาน (Portfolio) ในการประเมิน 4.3.4) สังเกตพฤติกรรมในการเรียน 4.3.5) ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2) มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 5.1.3) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1) ทดสอบระดับความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับคนไทยและต่างชาติผ่านการสอบปฏิบัติและสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ 5.2.2) ทดลองให้ใช้อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางการท่องเที่ยวและโรงแรม หรือสายการบิน 5.2.3) นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเองหรือแบบกลุ่มในห้องเรียน 5.2.4) บูรณาการการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์ หรือสื่อต่าง ๆ 5.2.5) ทดสอบกระบวนการแก้ปัญหาหรือกรณีศึกษาที่จำเป็นต้องใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์หรือสถิติในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1) ประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ 5.3.2) ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน 5.3.3) ประเมินผลจากการใช้คอมพิวเตอร์ 5.3.4) ประเมินผลจากการสรุปหัวข้อที่มอบหมายให้ค้นคว้า
6.1.1) มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 6.1.2) มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 6.1.3) มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่มีมาตรฐานและเป็นสากล
6.2.1) ทดสอบทักษะทางวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการโดยการสอบปฏิบัติ 6.2.2) จัดสอบตามสมรรถนะวิชาชีพทั้งภายในและศูนย์ทดสอบภายนอก 6.2.3) ทดสอบทางด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการทำงานที่มีมาตรฐานสากล
6.3.1) ประเมินผลจากความถูกต้องตามมาตรฐาน 6.3.2) ประเมินผลจากการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ 6.3.3) ประเมินผลจากผลสอบภาษาต่างประเทศที่มีมาตรฐาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BOATH106 การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2,1.3,1.4,3.1,3.2,3.3,3.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-15 10%
2 4.1,4.2 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10% ทุกสัปดาห์ 10%
3 2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,3.3,3.4 การทดสอบย่อย 3 ครั้ง 4,6,11 10%
4 2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,3.3,3.4 การสอบกลางภาค 8 20%
5 3.1,3.2,3.3,3.4,4.1,4.2,5.1,5.2,5.3,5.4 การนำเสนองาน/การรายงาน 14 20%
6 2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,3.3,3.4 การสอบปลายภาค 1ึ7 20%
ราณี อิสิชัยกุล. การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547. สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2550. Boella, M.J. Human Resources Management in the Hospitality Industry. 5thed. Leckhampton: Stanley Thornes, 1993. Buam, Tom. Human Resources Management for Tourism, Hospitality and Leisure: An international perspective. London: Thomson Learning, 2006.
หน่วยงานที่มีส่วนงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน
ศึกษาข้อมูลทางด้านการฝึกปฎิบัติ ด้าน HRM และ HRD จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงการปรับปรุงรายวิชานี้จากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และประโยชน์จากข้อคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนารายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนารายวิชาในช่วงปลายของภาคการศึกษา
2.ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล-คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ 3.ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาผ่านระบบการประเมิน online ของมหาวิทยาลัย
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนด้วยตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
1.การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
2.การวิเคราะห์ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกปฏิบัตินอกสถานที่
3.การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับรุ่นต่อไป
1.ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
2.(อาจ) ให้กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
3.เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.(อาจ) จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
5.สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามในข้อสอบจากผู้ใช้บัณฑิต เพื่อปรับมาตรฐานข้อสอบ
1.นำข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากข้อ 1 มาประมวล เพื่อจัดกลุ่มเนื้อหาความรู้ที่ต้องปรับปรุง วิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และรูปแบบของการศึกษาการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
2.นำผลการประเมินการสอนของตนเองจากข้อ 2 มาจัดกลุ่มเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง