สถาปัตยกรรมยั่งยืน

Sustainable Architecture

1. รู้ทฤษฎีพื้นฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการนำหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน เข้ามาใช้ในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม
2. เข้าใจอิทธิพลหลักของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน
3. วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนได้
4. พิจารณาเลือกใช้รูปแบบเทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์เข้ามาใช้ในอาคารได้อย่างมีเหตุผล และเหมาะสมกับความต้องการกิจกรรม ลักษณะการใช้งาน รูปแบบอาคาร และสภาพแวดล้อม
5. สามารถนำความรู้จากการศึกษา และทดลองไปใช้ในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการนำหลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนมาใช้ เพื่อบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายในอาคาร เพื่อการประหยัดพลังงาน รวมทั้งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อมีการออกแบบงานสถาปัตยกรรม
นำข้อมูลจากประเมินผลการสอนโดยนักศึกษา และผลการสอนใน มคอ 5 ของการเรียนการสอนครั้งที่ผ่านมา ทำการปรับปรุงซึ่งประกอบไปด้วย
1. คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา - แก้ไขเรื่องสัดส่วนคะแนนบังคับ เพิ่มการเข้าฟังเลคเชอร์ในตอนต้นชั่วโมง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการที่นักศึกษาไม่มาฟังเลคเชอร์ต้นชั่วโมง และเพื่อการเน้นย้ำความสำคัญในการฟังเลคเชอร์ให้ได้เนื้อหาครบถ้วน
2. ความรู้ - เน้นย้ำเรื่องสัดส่วนคะแนนของงานที่มอบหมายในชั่วโมงแรกของการสอน เพื่อแก้ปัญหานักศึกษาไม่ใส่ใจในการทำงาน และไม่ได้ความรู้ทำให้ทำงานในชั้นสุดท้ายออกมาได้ไม่ดี และได้คะแนนน้อย ส่งผลทำให้ถูกประเมินตก
3. ทักษะทางปัญญา - สนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนเขียนตำรา และมอบหมายงานที่นำไปบูรณาการร่วมกับการเรียนในวิชาการออกแบบอาคาร โดยใช้กรณีศึกษาเป็นตัวอย่างอ้างอิง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอาคารที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ - เน้นย้ำให้อาจารย์ผู้สอน ให้งานนักศึกษาค้นคว้าในแบบกลุ่ม โดยระบุลงไปในแผนการสอน
ศึกษาความเป็นมา และแนวคิดสถาปัตยกรรมยั่งยืน หลักการออกแบบด้านระบบนิเวศในงานสถาปัตยกรรม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรหรือวัสดุก่อสร้างอย่างประสิทธิภาพ การออกแบบรูปทรงอาคาร การออกแบบสถาปัตยกรรมที่น่าอยู๋ ยั่งยืน และมีสุขภาวะ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยระบุวัน เวลา ด้วยการแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
(3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู็ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการ และวิชาชีพในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้ หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินผลจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชาประเมิน จากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
(1) มีความรู้ และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
(2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณธของรายวิชาตลอดจน เนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(5) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
(1) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู็ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้กรณีศึกษา การออกแบบสถาปัตยกรรม การมอบหมายงาน ให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
(4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษย์สัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงาน หรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิ และการยอมรับความคิดเห็นของ ผู้อื่น การประสานงานกับบุคลลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรม และการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียน และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT407 สถาปัตยกรรมยั่งยืน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ด้านความรู้ - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9, 17 30%, 30%
3 ด้านทักษะทางปัญญา - วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่ม และผลงาน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ การจัดทำงานกลุ่ม/การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - - -
6 ทักษะพิสัย - - -
1. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่ง แวดล้อม, แนวทางการ ประหยัดพลังงานในบ้านอยู่อาศัย, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.
2. กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำ นักงานคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ, การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าฟ้แสงสว่าง, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำ กัดอุดมศึกษา, 2545.
3. การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดการใช้พลังงาน.. วิทยานิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
4. กองพัฒนาพลังงานทดแทน สำ นักงานวิจัยและพัฒนาการไฟฟ้าฟ้ฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย, พลังงานทดแทน พลังงานแห่งอนาคต, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, 2546.
5. จุไรพร ตุมพสุวรรณ, พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านวัสดุมุงหลังคาบ้านพัก อาศัยในเขต ร้อนชื้น,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร ภาควิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
6. มาลินี ศรีสุวรรณ รศ., การศึกษาความสัมพันธ์ของทิศทางกระแสลมกับการเจาะ ช่องเปิดที่ ผนังอาคารสำ หรับภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ :J. Print, 2543.
7. ตรึงใจ บูรณสมภพ, การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการประหยัด พลังงาน, พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิชชิง จำ กัด(มหาชน) , 2539.
8. ธนิต จินดาวณิค, สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, 2540.
9. Lechner, N. Heating, Cooling, Lighting : Design Methods for Architects. New York : John Wiley & Sons, 1991.
10. Stein, B., and Reynolds, J. S. Mechanical and electrical equipment for buildings. Vol. 1.8th ed. New York: John Wiley and Sons, 1992.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำ อธิบายศัพท์
1.1 การสอบถามนักศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของรายวิชา เพื่อปรับปรุงในการสรุปการ เรียนการสอนช่วงสอบปลายภาคและการสอบปลายภาค
1.2 นักศึกษาทำ แบบ ประเมินความพึงพอใจผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 การประเมินผลงานและผลการเรียนของนักศึกษาเพื่อประเมิน วิธีการ เกณฑ์ และเครื่องมือในการเรียนการสอน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้โดยการถามคำถาม
3.1 ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจผู้สอนของนักศึกษา
3.2 ข้อเสนอแนะของ นักศึกษาระหว่าง และหลังจากการเรียนการสอน
4.1 อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
4.2 มีการแจ้งคะแนนแก่นักศึกษา ระหว่างการเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับปรุงตนเอง ระหว่างเรียน
5.1 ได้นำผลจากกลยุทธ์การประเมินในข้อที่ 1 และ 2 มาทำการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น