การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน

Internal Audit and Internal Control

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจแนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ
        1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในหลักธรรมาภิบาล
        1.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประเภทของการตรวจสอบภายใน  วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน
        1.4 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถประยุกต์หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) ได้
        1.5 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเทคนิคและวิธีการตรวจสอบ การตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล
        1.6 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการบริหารงานตรวจสอบภายใน การกำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน
        1.7 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ แนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ และการตรวจสอบภายใน มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในหลักธรรมาภิบาล บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ประเภทของการตรวจสอบภายใน  วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) เทคนิคและวิธีการตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน การกำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
1.3 สามารถแสดงออกถึงความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1)    บรรยายพร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
2)    ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเช็คชื่อ
3)  จัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
4)    การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1)    ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2)    ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3)    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4)    สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน
2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทาบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
 
1)    ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2)    การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3)    มอบหมายให้นักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลและนำเสนอตามหัวข้อรายงานที่ได้รับมอบหมาย
4)    ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ โดยการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง 
1)    ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ
2)    การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3)    การประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
4)   การประเมินผลการเรียนนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
3.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.2 มีสามารถสืบค้นข้อมูล และวิวเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตจามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชี และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
3.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองคกร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1)   ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2)   สอนโดยใช้กรณีศึกษาและสถานการณ์จริง (มูลนิธิ สมาคม หน่วยธุรกิจ) ให้ลองวิเคราะห์ความเสี่ยง
3)   สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1)   ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2)   ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3)   ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น 2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1) มอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ การทำวิจัย การจัดนิทรรศการ เป็นต้น โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม และผลัดกันเป็นผู้นําเสนอ 2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปราย 3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ แสดงความคิดเห็น
1)   ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2)   ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการ ทํางานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียนโดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1) มอบมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอ ในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และ นำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1)   ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2)   ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3)   ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4)   ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 2 3 1 1 2 3
1 BACAC146 การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 18 25% 30%
2 1,2,3,4,5 กรณีศึกษา ทุกสัปดาห์ 10%
3 1,2,3,4,5 รายงานกลุ่ม 16-17 30%
4 1,2,3,4,5 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 16-17 5%
หนังสือ”การตรวจสอบภายในสมัยใหม่” ของอุษณา ภัทรมนตรี หนังสือบรรณานุกรมท้ายเล่ม
บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการฯลฯ
   ใช้การทดสอบปฏิบัติ  ในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายในโดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากกระบวนทำงานจริงของสำนักงานสาขาการบัญชี
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
นำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา