วิเคราะห์ศิลปกรรม

Art Analysis

1 รู้ประวัติความเป็นมาของการคิดเชิงวิเคราะห์ในลักษณะต่างๆเพื่อนำมาใช้ศึกษาในกระบวนการทางศิลปะ
 2. รู้แบบอย่าง ขั้นตอน ลำดับวิธีการคิดวิเคราะห์ประมวลผลขั้นต้นของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยในสังคมในประเด็นต่างๆโดยสังเขป
 3. เข้าใจกระบวนการวิเคราะห์เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลคัดเลือกและสร้างความคิดรวบยอดสำหรับแนวเรื่องที่ใช้ในการศึกษาผลงาน จากบริบททางศิลปะสังคมและวัฒนธรรมที่คาบเกี่ยวกันได้ ในงานศิลปกรรมร่วมสมัย  4. สามารถเรียบเรียงและการถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบผลงานศิลปกรรมในลักษณะเฉพาะตนอย่างมีระบบหรือเป็นรูปเล่มรายงานหรือเป็นรูปแบบการจัดเสวนาทางศิลปะได้
ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชาวิเคราะห์ศิลปกรรมซึ่งการเรียนการสอนโดยทั่วไปจะใช้เรียนร่วมกับวิชาเฉพาะทางทัศนศิลป์ 4-5  (ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ตามรายวิชาเอกของผู้เรียน เช่น จิตรกรรม4, ประติมากรรม4, ศิลปะภาพพิมพ์4, ศิลปะไทย4, หรือศิลปะสื่อผสม4, เป็นต้น)สามารถใช้ร่วมกับหลักสูตรทางการสร้างสรรค์อื่นๆได้)   สำหรับใช้สอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาศึกษาเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ที่มาของแรงบันดาลใจ แนวคิด เนื้อหา รูปแบบ และเทคนิคในการแสดงออกจากการค้นคว้าและสังเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลและเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปกรรมตามแนวทางพัฒนาเทคนิควิธีการของตนและสามารถหาความรู้เพิ่มเติมจากบริบททางสังคมวัฒนธรรมอื่นๆอันมี คุณค่า และปรัชญา ใช้ในงานศิลปกรรมร่วมสมัยต่าง นำมาศึกษาเพื่อให้เกิดการพัฒนาการในการสร้างผลงานของผู้ศึกษาจวบจนสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลงานจนถึงการเขียนศิลปนิพนธ์ต่อไปได้
 
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการ วิเคราะห์ที่มาของแรงบันดาลใจ แนวคิด เนื้อหา รูปแบบ และเทคนิคในการแสดงออก การค้นคว้าและสังเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ
Study principles and analyze sources of inspiration, concepts, forms and techniques in artworks including systematic research and synthesis of information.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการศึกษาเพื่อสร้างเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ทางศิลปะอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่ได้จากการสร้างสรรค์ศิลปะต่อบุคคล องค์กรและสังคมเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.2.2 ศึกษา และอ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.2.3 ประเมินผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ผลงานการสร้างสรรค์ส่วนตน และการฝึกวิเคราะห์แนวคิดศิลปะร่วมสมัยจากทฤษฏีต่างๆเป็นกรณีศึกษา 1.2.4 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งสวนตนและเสวนาอภิปรายกลุ่มที่สำเร็จในการนำเสนอเป็นรายงานตามที่มอบหมาย
มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ทางศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ ศิลปกรรมร่วมสมัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ ที่มาของแรงบันดาลใจ แนวความคิด เนื้อหา สาระ สื่อวัสดุ กลวิธีการในการแสดงออก กระบวนการสร้างสรรค์ คุณค่า และปรัชญา ในงานศิลปกรรมร่วมสมัย รวมทั้งนักศึกษาได้ฝึกฝนการปฏิบัติงานเพื่อนำความรู้ภาคทฤษฎีไป ประยุกต์ ทดลอง พัฒนาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของตน รวมทั้งนักศึกษาได้ฝึกฝนการปฏิบัติงานจนเกิดทักษะที่ชำนาญสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานในสาขาวิชาเอกของตนต่อไปได้
2.2.1 ทดสอบบรรยายประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ทางศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ โดยการใช้ทฤษฏีต่างๆในการศึกษาพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น การศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นจากศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น 2.2.2 สอนทักษะวิธีการในการมองเห็น ความเข้าใจในเรื่องแรงบันดาลใจ อิทธิพลของการสร้างสรรค์ทั้งในสิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิตต่างๆ รวมถึงทฤษฏีทางศิลปะเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจวิธีการริเริ่มสร้างสรรค์ และสุนทรียภาพความงามของศิลปะ 2.2.3 กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าเพื่อตั้งสมมติฐานในการฝึกฝนเทคนิควิธีการ ในการสร้างสรรค์ของศิลปินในลักษณะต่างๆ จนเกิดความชำนาญ และเข้าใจหลักทฤษฏีของการสร้างสรรค์ศิลปินนั้นๆ นำมาศึกษาหาวิธีการนำเสนอแนวความคิด เนื้อหาเรื่องราว รูปแบบวิธีการสร้างสรรค์ พร้อมวิเคราะห์ประเด็นต่างๆให้มีความกระชับสมบูรณ์ เพื่อทำความเข้าใจหลักการสร้างสรรค์ และสุนทรียภาพความงามทางศิลปะ
2.3.1 ทดสอบย่อยตลอดภาคการศึกษา ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ 2.3.2 ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอโครงการวิเคราะห์เชิงเสวนาที่กระชับสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล หลักการวิเคราะห์ทางศิลปะ ที่มาของแรงบันดาลใจ แนวความคิด เนื้อหา สาระ สื่อวัสดุ กลวิธีในการแสดงออก กระบวนการสร้างสรรค์ คุณค่า และปรัชญา ในงานศิลปกรรมร่วมสมัย วิเคราะห์เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ รวมถึงอิทธิพลต่างๆที่ศิลปินพึงได้รับและถ่ายทอดต่อให้แก่ประวัติศาสตร์ทางศิลปะ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบสามารถเรียนรู้และวางแผนในการปฏิบัติการค้นคว้าหาข้อมูลได้ ฝึกการนำเสนอโครงการวิเคราะห์เชิงเสวนาที่กระชับสมบูรณ์กับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชา เพื่อให้เกิดการแสดงออกทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนะในทางการสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อให้มีการวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสร้างสรรค์อย่างใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการสร้างสรรค์ และสุนทรียภาพความงามของศิลปะ
3.2.1 มอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากผลงานศิลปกรรม(ผลงานจริง)ของศิลปิน จากหอนิทรรศการต่างๆที่นักศึกษาสนใจพร้อมถ่ายรูปผลงาน บันทึกข้อมูล นำมาวิเคราะห์ในขั้นต้น ก่อนจะให้ปรับเข้าสู่หลักการวิเคราะห์ทางทฤษฏีทางศิลปะในแต่ละกรณีศึกษา 3.2.2 มอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากรูปแบบการค้นคว้าหาแรงบันดาลใจของนักศึกษา โดยการถ่ายรูปผลงาน, บันทึกข้อมูล กระบวนการสร้างสรรค์ออกมาเป็นแบบร่าง นำเสนอวิธีวิเคราะห์กรณีศึกษาส่วนตน 3.2.3 ศึกษาวิเคราะห์หารูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมส่วนตน โดยการถ่ายรูปผลงาน, บันทึกข้อมูล กระบวนการสร้างสรรค์จากผลงานที่สำเร็จสมบูรณ์ นำมาวิเคราะห์เทียบเคียงกับหลักทฤษฏีต่างๆที่เป็นสากล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะส่วนตน 3.2.4 ฝึกการนำเสนอโครงการวิเคราะห์เชิงเสวนาที่กระชับสมบูรณ์กับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชาเพื่อให้เกิดการแสดงออกทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนะในทางการสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อให้มีการวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสร้างสรรค์อย่างใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
3.3.1 มีการจัดแบบทดสอบย่อยกลางภาค ด้วยหัวข้อจากกแบบเรียนทฤษฏีการวิเคราะห์ศิลปกรรมเบื้องต้น 3.3.2 ประเมินสรุปปลายภาค ด้วยการแบ่งกลุ่มหาหัวข้อนำเสนอเป็นโครงการวิเคราะห์เชิงเสวนาที่กระชับสมบูรณ์ร่วมกับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชา 3.3.3 ทดสอบสรุปด้วยหัวข้อการนำการปฏิบัติงานสร้างสรรค์เฉพาะตน นำมาวิเคราะห์โดยเน้นการวัดจากหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ ตลอดจนสรุปการวิเคราะห์แนวทางศิลปกรรมของตนเอง 3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากผลงานการการสร้างสรรค์ของนักศึกษาอย่างเป็นระบบ 4.2.2 มอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยฝึกให้ทำงานร่วมกันในแต่ละประเด็นการศึกษา และแก้ไขปัญหาทางด้านการวิเคราะห์เชิงเสวนาที่กระชับสมบูรณ์กับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชา
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานการวิเคราะห์ที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากการปฏิบัติงานช่วงระหว่างเวลาเรียน พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงานการศึกษาด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนทัศนคติภายในกลุ่ม
5.1.1   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา  5.1.2   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์การสร้างสรรค์ให้ได้ตรงลักษณะกระบวนการสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆ  และเข้าใจถึงหลักทางสุนทรียะวิทยา  5.1.3   พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  5.1.4   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์แรงบันดาลใจจากทฤษฏีต่างๆ นำมาวิเคราะห์รูปแบบการสร้างสรรค์ในขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างผลงาน โดยเน้นเรื่องการวิเคราะห์การนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบภาพ 5.2.2 การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยฝึกให้ทำงานร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง และการสร้างสรรค์ผลงานจากศิลปินที่มีชื่อเสียง วิเคราะห์กรณีศึกษา 5.2.3 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลทางศิลปะ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.4 เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยการวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ที่กำหนด 5.3.2 ประเมินจากปฏิบัติงานภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน 5.3.3 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
6.1.1 มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 6.1.2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด 6.1.3 สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม 6.1.4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน 6.1.5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
แนะนำการศึกษาค้นคว้ากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตนและฝึกแก้ปัญหาการสร้างสรรค์โดยการจดบันทึก
สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และส่มารถนำเสนอข้อคิดเห็นหรือแสดงทัศนคติต่อผลการค้นคว้าในเชิงอภิปรายโดยมีส่วนร่วมได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๖.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) ซื่อสัตย์สุจริตมีวินัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้างยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (3) มีจิตอาสาจิตสำนึกสาธารณะ (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหาและพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ (3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน (2) สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน (1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ (3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลตรงไปตรงมาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรมและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ (2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง (3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA107 วิเคราะห์ศิลปกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 4 5 6 10-11 12-15 9 18 Paper 1 Paper 2 Paper 3 รูปเล่ม 1(4) การนำเสนอเป็นรายกลุ่ม รูปเล่ม 2(5) การนำเสนอเป็นรายบุคคล สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5 6 7 12 16 10 18 5% 5% 10% 20% 30% 10% 10%
2 1-15 1-15 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กำจร สุนพงษ์ศรี, สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ.2557.        เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซัคเซส มีเดีย บจก., พ.ศ.2553. จิระพัฒน์  พิตรปรีชา, โลกศิลปะศตวรรษที่ 20 .พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ,พ.ศ.2545  จักรพันธ์ วิลาสินีกุล และสายัณห์ แดงกลม, การวิจารณ์ทัศนศิลป์ ข้อคิดของนักวิชาการไทย.พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ชมนาด,พ.ศ.2549 ชะลูด นิ่มเสมอ ,องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่5  :บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด ,พ.ศ.2542 เดวิด คอตติงตัน ,ศิลปะสมัยใหม่:ความรู้ฉบับพกพา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ openworlds ,พ.ศ.2554 รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์และคณะ, ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ ทัศนะของนักวิชาการไทย.พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์: นาคร,พ.ศ.2560  สุธี  คุณาวิชยานนท์  ,“จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่” ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะ จากประเพณี สู่สมัยใหม่และร่วมสมัย .พิมพ์ครั้งแรก. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),พ.ศ.2545 ศุภชัย อารีรุ่งเรือง,ทวิวัจน์แห่งการวิจารณ์ทัศนศิลป์ (ภาค ๑).กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งที่1  :โครงการวิจัยเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ: การวิจัยและพัฒนา,พ.ศ.2560 Charles  Wentinck.  MASTERPIECES  OF  ART 450  Treasures  of  Europe. New  York: The Netherlands  at  Royal Smeets  Offset bv. Weert. , 1974 Claire Waite brown.  The Sculpting Techniques Bible.  Chartwell Book, inc ; New York., 2006. George M. Beylerian and Andrew Dent.  Material Connection: The Global Resource of New and Innovative Materials for Aristech, Artists and Designers.  First published in the United Kingdom; Thames & Hudson,Ltd., 2005. Louis Slobodkin.  Sculpture Principles and Practice.  Dover Publications, inc.  New York,1973       Mamfred Schneckenburger and  The Other ,ART OF THE 20th CENTURY 1-2.Original Edition 1988 TESCHEN Paul Zelanski and Mary Pat Fisher, THE ART OF SEEING. Edition First published 1988 By Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jerssy Oliver Andrews.  LIVING MATERRIALS: A Sculptor’s Handbook.  First Paperback printing in the United States of America; University of California Press., 1988.
เอกสาร แบบอย่างวิธีการวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในลักษณะต่างๆ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์
ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมความคิด และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ