การบัญชีเฉพาะกิจการ

Accounting for Specific Enterprises

ศึกษาลักษณะระบบบัญชี การควบคุมภายใน การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย รายงานผลการดําเนินงานและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ และระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดําเนินงาน โดยเลือกศึกษาจากธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น โรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงพยาบาล ธนาคาร สหกรณ์ เกษตรกรรม ประกันภัย เป็นต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับลักษณะระบบบัญชี การควบคุมภายใน การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย รายงานผลการดําเนินงานและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ และระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดําเนินงาน โดยเลือกศึกษาจากธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น โรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงพยาบาล ธนาคาร สหกรณ์ เกษตรกรรม ประกันภัย เป็นต้น
ศึกษาลักษณะระบบบัญชี การควบคุมภายใน การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย รายงานผลการดําเนินงานและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ และระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดําเนินงาน โดยเลือกศึกษาจากธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น โรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงพยาบาล ธนาคาร สหกรณ์ เกษตรกรรม ประกันภัย เป็นต้น
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1) มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 3) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน 2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีความรู้และความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) มีความรู้เและความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้  4)มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิดหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา หรือเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้องค์ความรู้แก่ผู้เรียน เช่น จัดกิจกรรมอบรมออนไลน์ การสร้างองค์ความรู้การเงินและการบัญชีโรงแรมและรีสอร์ท วันที่ 7 กพ 67 เวลา 9.00-12.00 น. วิทยากรคือ ดร.ศิววงค์ เพชรจุล จากวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง 2) การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน 3) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล
 
 
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ 2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ 3) ประเมินผลการเรียนรู้จากงานที่มอบหมาย
1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการแปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง 2) สอนแบบเน้นผู้เป็นสำคัญเปิดโอกาศให้นักศึกษาค้นคว้ารายทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น 3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับ 2) ประเมินผลจากการสอนที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ  วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น  2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
 
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยเวลาในการส่งงาน 3) สังเกตุพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข เช่น การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจจากเว็ปไซด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และจัดทำรายงาน เป็นกลุ่ม
2) จัดทำสื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3) มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาในห้องเรียน
1) การนำเสนอรายงานกลุ่มที่ได้จากการสืบค้นข้อมูล
2) ประเมินผลจากสื่อและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3) การวิเคราะห์  การแก้ปัญหา จากกรณีศึกษาและแบบฝึกหัด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 BACAC142 การบัญชีเฉพาะกิจการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3, 4, 5 การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค 1) การสอบกลางภาค 25 คะแนน 2) การสอบปลายภาค 25 คะแนน 9, 18 50%
2 1, 2, 3, 4, 5 รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 1) รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 40 คะแนน - การบัญชีเกษตรกรรม และการบัญชีโรงพยาบาล 20 คะแนน - ธุรกิจการท่องเที่ยวและการบัญชีโรงแรม 20 คะแนน 8, 16 40%
3 1, 2, 3, 4, 5 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ความตรงต่อเวลา การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง 1) การเข้าห้องเรียน และการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 5 คะแนน 2) การร่วมกิจกรรม 5 คะแนน ทุกสัปดาห์ 10%
- การบัญชีโรงแรม การวางแผน ควบคุมและการจัดทำรายงาน, ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร. มหวิทยาลัยสงขลารินท
- www.tfac.or.th - www.tourismthailand.org - www.cgd.go.th
- พระราชบัญญัติโรงแรม 2547
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนความพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 การเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ