พลเมืองดิจิทัล

Digital Citizenship

   เมื่อศึกษาตามกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชานี้อย่างครบถ้วนแล้ว แล้วผู้เรียนจะเกิดความรู้ทักษะ และทัศนคติ ในด้านต่างๆ ดังนี้
     1.1 มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล และความสำคัญของสื่อดิจิทัลในโลกยุคใหม่
     1.2 มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารในสังคมดิจิทัล
     1.3 มีความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยบนสื่อดิจิทัลในศตวรรษที่ 21
     1.4 มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมสำหรับผู้ใช้สื่อดิจิทัล
     1.5 มีความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล
     1.6 มีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาและสังคมศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน
     1.7 มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาพลเมืองดิจิทัล
      2.1 เพื่อให้เนื้อหารายวิชามีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่
      2.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมดิจิทัล อันจะนำไปสู่การมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
      2.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีทั้งความรู้ ทักษะวิชาชีพ และทักษะทางสังคม รวมทั้งสามารถนำเอาความรู้เชิงจิตวิทยาและสังคมศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ศึกษาเกี่ยวกับ ความหมาย คุณลักษณะของพลเมืองดิจิทัลที่ดี ความรู้ดิจิทัล การสื่อสารในสังคมดิจิทัล อัตลักษณ์และตัวตน ความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย การกลั่นแกล้งบนสื่อดิจิทัล มารยาทและวิจารณญาณบนสื่อดิจิทัล สิทธิ กฎหมายและจริยธรรมสำหรับดิจิทัล การรู้เท่าทันสื่อ ทักษะและองค์ประกอบการวิเคราะห์สื่อเพื่อการรู้เท่าทัน และการเป็นผู้ประกอบการในโลกดิจิทัล
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง
  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- แจ้งตารางสอนส่วนตัวให้นักศึกษาทราบวัน เวลาว่างของอาจารย์ผู้สอน
- แจ้งไอดีไลน์และอีเมลล์ของอาจารย์ผู้สอน
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. สอดแทรกและส่งเสริมด้าน คุณธรรม จริยธรรมระหว่างการเรียนการสอน
2. ปลูกฝังให้มีระเบียบวินัย โดยมุ่งเน้นการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานให้ตรงเวลา
3. ใช้กิจกรรมและงานที่มอบหมายในการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1. การแสดงออก และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2. การส่งงานตรงเวลา
3. การทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. กรณีศึกษา
2. บทบาทสมมติ
3. กิจกรรมในชั้นเรียน
4. อภิปราย
5. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
6. เรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. การอภิปราย
5. โครงงาน
6. การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. กรณีศึกษา
2. บทบาทสมมติ
3. กิจกรรมในชั้นเรียน
4. อภิปราย
5. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
6. เรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. การอภิปราย
5. โครงงาน
6. การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
2. เรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. การอภิปราย
5. โครงงาน
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. บทบาทสมมติ
2. กิจกรรมในชั้นเรียน
3. เรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
4. เรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
1. กรณีศึกษา
2. การนำเสนอผลงาน
3. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
4. การอภิปราย
5. โครงงาน
6. การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
6.1.1 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต    
6.1.2 มีความขยัน ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย    
6.1.3 ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
6.2.1 เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน    
6.2.2 แบบฝึกหัดในชั้นเรียน    
6.2.3 กิจกรรมในชั้นเรียน    
6.2.4 การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
6.3.1 การวิเคราะห์บุคลิกภาพตนเองและผู้อื่น    
6.3.2 การวิเคราะห์กรณีศึกษา    
6.3.3 การวิเคราะห์บทความทางจิตวิทยา    
6.3.4 การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในและนอกชั้นเรียน    
6.3.5 การอภิปรายและทำงานในชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5, 1.6, 2.3, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 4.1, 4.3, 5.1, 5.2, 6.1, 6.4 งาน 1 งานรายบุคคล (วิเคราะห์กรณีศึกษา) 12 10%
2 1.5, 1.6, 2.4, 3.2, 3.4, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 6.4 งาน 2 งานรายบุคคล (แบบฝึกหัด) 15 10%
3 1.6, 2.4, 3.4, 4.3, 5.1, 5.2, 6.4 งาน 3 โครงการรู้เท่าทันโลกไซเบอร์ 7, 11, 16 20%
4 1.5, 1.6, 2.4, 3.2, 3.4, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 6.4 จิตพิสัย 16 10%
5 สอบกลางภาค 10 25%
6 สอบปลายภาค 17 25%
ธัญญลักษณ์ บุญลือ. (2566). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาพลเมืองดิจิทัล (GEBSO505)
กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์ และวีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์. (2564). Cyberbullying ความหมาย และการทบทวนแนวคิดภายใต้บริบทของ
       สังคมไทย. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 7(1). https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/
       article/view/247309/169431
กลุ่มงานติดตามฯ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2561). การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต  (Scam). สำนักงานพัฒนา
       ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles
จักรี ผดุงขันธ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์นิเทศ
       ศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชิตปภพ ประเสริฐไพฑูรย์. (2564). Echo Chamber: เสียงสะท้อนที่มีแต่เราได้ยิน. เว็บไซต์ส่อง
       สื่อ. https://www.songsue.co/17154/
ชณิดา ภิรมณ์ยินดี. (2565). ชัวร์ก่อนแชร์: รู้ทันปรากฏการณ์ Filter bubble ที่ทำให้โลกของเราแคบขึ้น. สำนักข่าวไทย อสมท.
        https://tna.mcot.net/latest-news-925138
ซารีณา นอรอเอ, นุรอัซวีตา จารง, ณฐพร มุสิกเจริญ, และวรเวทย์ พิสิษ ยศศิริ. (2561). ลักษณะการใช้ภาษาบนสื่อสังคมออนไลน์
       ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 (น. 940 – 952).
ทัตเทพ ดีสุคนธ์ และพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2564). การรณรงค์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ:
       กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “THE METTAD” และ “ลุงตู่ตูน” ในช่วงการเลือกตั้ง 2562. วารสารการบริหาร
       ปกครอง, 10(1). 337–367. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/245405

ทีเอ็มบีธนชาต. (2565). รู้ทัน ป้องกันกลโกง 3 ภัยร้ายโลกไซเบอร์. https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/3-frauds-
       online
ไทยรัฐออนไลน์. (2565). มิจฉาชีพมามุกใหม่ เนียนเป็นแอปสตรีมมิงดัง ส่งเมลแจ้งชำระค่าบริการ.
       https://www.thairath.co.th/news/society/2516540
ไทยรัฐออนไลน์. (2565). ปอท.รวบม้าสาว เปิดบัญชีให้แก๊งโรแมนซ์สแกม หลอกเหยื่อโอนเงินสูญนับล้าน.
       https://www.thairath.co.th/news/crime/2323437
ธนชาติ นุ่มนนท์. (2565). ข้อมูลล่าสุดสถิติใช้ดิจิทัลในไทย จากรายงาน We are social. กรุงเทพธุรกิจ.
       https://www.bangkokbiznews.com/columnist/989552
นงนุช ศิริโรจน์. (2554). การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แนวหน้า. (2562). โลกออนไลน์ ไฉนเป็นสังคมอุดมดราม่า. https://www.naewna.com/likesara/434893
ประชาชาติธุรกิจ. (2564). คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต กี่ชั่วโมงต่อวัน และทำอะไรบ้าง. https://www.prachachat.net/ict/news-
        764503
เปิดบ้านไทยพีบีเอส. (2562). ปรากฎการณ์ Echo Chamber ส่งผลกระทบ      
       อย่างไร. https://www.facebook.com/openhousethaipbs/
พิรงรอง รามสูต, พิมลพรรณ ไชยนันท์, และวิโรจน์ สุทธิสีมา. (2565). ห้องแห่งเสียงสะท้อนออนไลน์กับผู้ออกเสียงเลือกตั้งครั้ง
       แรกในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(2).
       https://so08.tci-thaijo.org/index.php/ssjpolsci/article/ view/897
ภากิตติ์ ตรีสกุล, วิภาณี แม้นอินทร์, และเรวดี ไวยวาสนา. (2563). หลักนิเทศศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย
        ราชภัฏสวนสุนันทา.
มุกดา ศรีวงค์. (2550). จิตวิทยาเพื่อการติดต่อสื่อสารและเข้าใจผู้อื่น. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 8(2).
มณทิรา สะแกทอง, อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์, วิรัตน์ ภูทองเงิน, และอรชร เรือนคำ. (2561). ความห่างเหินในยุค 4G. วารสารธาตุพนม
      ปริทรรศน์, 2(1). https://firstojs.com/index.php/JTPR/article/view/189
มานิจ สุขสมจิตร. (2565). บทความพิเศษ Fake News: ข่าวลวง, ข่าวปลอม. วารสารศาสตร์, 15. 9–39.
รวิพรรณ จารุทวี. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน
       เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. คู่มือพลเมืองดิจิทัล.-- กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
       สังคม, 2561.
ศิรินทิพย์ เด่นดวง. (2562). วัฒนธรรมไทยยุค 4.0: การใช้ภาษาของคนไทยในสื่อสังคมออนไลน์. ใน งานประชุมวิชาการระดับ
        ชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 1574 – 1582).
สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน. (2565). ‘Echo Chamber’ เราต่างมีกะลาคนละใบ…ที่เข้าใจว่าคือโลกกว้าง. The Potential.
         https://thepotential.org/social-issues/echo-chamber-2/
สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ. (2541). การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักข่าวอิศรา. (2563). โลกโซเชียลฯกับปรากฏการณ์ “คอนเฟิร์ม ไบแอส”. https://www.isranews.org/article/south-
         slide/91589-pan.html
สำนักข่าวอิศรา. (2564). ติดอันดับต้นของเอเชีย! เด็กไทยกว่า 80% เคยเจอ‘การบูลลี่’ เกือบครึ่งมองเป็นเรื่องปกติ.
        https://www.isranews.org/article/isranews-article/105059-isranews-bullying.html
สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (2560). GE 125 การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. กลุ่ม
        วิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. http://ge.kbu.ac.th/
เสริมศิริ นิลดำ, กรกนก นิลดำ, กษิดิศ ใจผาวัง, ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง, และ นิเวศ จีนะบุญเรือง. (2565). ปัจจัยพยากรณ์การรังแก
       กันบนสื่อสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ,
        16(1).
- หนังสือพิมพ์
- วารสารทางวิชาการ
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการอธิบายคำศัพท์ และเว็บไซด์อื่นๆ
- งานวิจัยที่เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ พลเมืองดิจิทัล การกลั่นแกล้งออนไลน์ การรู้เท่าทัน สื่อดิจิทัล
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา :
1.1 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินผลผู้สอน และรายวิชานี้ทางเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย
1.2 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจในรายวิชานี้ในตอนท้ายของการเรียนการสอนปลายภาคเรียน
1.3 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆที่จัดให้
1.4 นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
1.5 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ
2.1 สังเกตพฤติกรรมความสนใจต่อการเรียนของนักศึกษา (การซักถาม การร่วมอภิปราย การแสดงความคิดเห็น)
2.2 สังเกตพฤติกรรมในขณะที่ทำกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน แบบฝึกหัด งานมอบหมายในชั่วโมง
2.3 สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม การมีจิตอาสา ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา
2.4 ประเมินด้วยการสอบกลางภาคและปลายภาค
3.1 ปรับปรุงเอกสาร ตำราที่ใช้ในการเรียนทุกปีการศึกษา เพื่อแก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.2 สนับสนุนให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนในรายวิชานี้อย่างอิสระ
3.3 นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป
3.4 ทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของนักศึกษา
4.1 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการเรียน การมีวินัย การเข้าเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
4.2 ประเมินการปรับเปลี่ยนมุมมอง ความคิด และความรู้สึกเกี่ยวกับสื่อดิจิทัลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
4.3. ทวนสอบด้วยการสอบกลางภาคและปลายภาค
4.4 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังจากที่ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการทำงานกลุ่ม และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1 มีการปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน ทันเหตุการณ์
5.2 เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆตามที่นักศึกษาสนใจ
5.3 ปรับปรุงกิจกรรมต่างๆให้มีข้อบกพร่องน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.4 พัฒนากิจกรรม/โครงการใหม่ๆที่ให้ประโยชน์แก่นักศึกษามาเป็นทางเลือกให้หลากหลายมากขึ้น
5.5 พัฒนาเทคนิคการสอน สื่อเทคโนโลยีการศึกษา ให้ทันสมัย น่าสนใจ และนักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
5.6 นำเสนอข่าวหรือคลิปที่น่าสนใจ สอดคล้องกับวิชาพลเมืองดิจิทัล