การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

Risk and Crisis Management

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในความสำคัญและผลกระทบของความเสี่ยงทางธุรกิจ   2. เพื่อให้รู้และเข้าใจในกระบวนการของการบริหารความเสี่ยง การกำหนดวัตถุประสงค์ ระบุความเสี่ยง และประเภทของความเสี่ยง 
3. เพื่อสามารถฝึกทักษะในการประเมินความเสี่ยงและการคาดการณ์ภาวะวิกฤติ
4. เพื่อสามารถวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง การติดตาม การประเมินผล และการรายงานความเสี่ยง
5. เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติได้  
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ นักศึกษาได้รับความรู้เนื้อหา หลักการในรายวิชาที่มีความเหมาะสม ทันสมัย เพื่อที่จะประยุกต์ใช้ในการกำหนดแผนบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแข่งขันในปัจจุบัน
ความหมาย ความสำคัญและผลกระทบของความเสี่ยงทางธุรกิจ กระบวนการของการบริหารความเสี่ยง การกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุ และประเภทของความเสี่ยง การฝึกทักษะในการประเมินความเสี่ยงและการคาดการณ์ภาวะวิกฤติ การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจในการจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง การติดตาม การประเมินผล และการรายงานความเสี่ยง การใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ
- อาจารย์ประจำรายวิชา  กำหนดและประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Facebook, E-mail, และในชั้นเรียน เป็นต้น -อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น
นักศึกษามีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรมดังนั้น อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมตามที่ระบุไว้ดังนี้
(1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
(2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
(3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
(4) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
(5) มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมใหนั้กศึกษามีจิตสาธารณะ บําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝงัให้นักศึกษามี วินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กําหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตาม ระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มี การมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นําและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความ คิดเห็น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทํา ประโยชน์ให้แก่ชุมชน
(1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
(2)ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(3) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(4)สังเกตพฤติกรรมในการทํางานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนําเสนอผลงาน
(5) ปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบ
1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนัก รู้หลักการและทฤษฎีใน องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสําหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านใน สาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ ส่วน หลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ จะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เปลี่ยนแปลง ตามสถานการณ์ นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรู้ในสาระสําคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญใน วิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข้งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการ นําเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชนมีทักษะในการทํางานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ดังนี้   
(1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สําคัญในเนื้อหาของ สาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
(2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช์ความรู์ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวัน
(3) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการ วางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
(4) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมี ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทํารายงาน โครงงาน และนําเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช์ความรู์ในการฝึกปฏิบัติใน สภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎี ควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(2) รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนําความรู้ไปตอบ ในแบบทดสอบ
(3) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง
(4) ผลงานจากการค้นคว้าและการนําเสนอ
(5) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
(6) ประเมินจากการนําเสนอผลงาน
(7) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบ ย่อยการนําเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน 
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษา ต้องสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทําความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูลแนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาและงานอื่นๆ ด้วย ตนเอง สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์โดย คํานึงถึงความรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ สามารถใช้ทักษะ และความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพ สําหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษา สามารถใช้วิธีการปฏิบัติงานประจํา และหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทําความ เข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป้นประโยชน์ต่อการใช้งานตาม สถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมี เหตุผลตามที่ระบุไว้ดังนี้
(1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อ ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วย ตนเอง
(2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการ แข่งขันทางธุรกิจ (3) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการ ความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
(4) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(1) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียน การสอนกับการทํางาน
(2) กรณีศึกษาทางการจัดการโครงงานงานวิจัยและกําหนดให้นักศึกษาวางแผนการ ทํางานเป็นทีม
(3) การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
(4) การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จําลอง
 (5) จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนําเสนอโครงงานรายงานผลการวิจัยอภิปรายกรณีศึกษาและประเมินจาก การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและ วิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมา คําตอบเดียวจากกลุ่มคําตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นําหรือสมาชิก ของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นําในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และต้องใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการ แก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพ นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณา การความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและ ของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่ เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ในระหว่างการสอน
(1) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็ทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
(3) มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้ง ในบทบาทของผู้นําและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางาน
(1) ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นําและผู้ ตาม
(3) จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
(4) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายใน สถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
(5) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทํางาน
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
(2) ประเมินจากพฤติกรรมการทํากิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(3) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
(4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
(5) ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการทําสหกิจศึกษา
สามารถศึกษาและทําความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิค ทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนําเสนอข้อมูล สารสนเทศอย่างสมํ่าเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการพูด การเขียน สามารถเลือกใช้ รูปแบบของการนําเสนอที่เหมาะสมสําหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรู้ในสาระสําคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญใน วิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการ นําเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
(1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการ วิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจําวัน
(2) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่ เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
(3) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จําเป็นต่อการทําธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
(4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนําเทคโนโลยีไปใช้ สนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
(2) มีการนําเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนําเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ ความสําคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(4) ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
(5) บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่ สามารถทําได
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
(2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนําเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(3) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(4) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน 
1) ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on) บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนําความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและ เที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทํางาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่าง เหมาะสม
(1) สามารถปฏิบัติงานโดยนําองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
(2) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็น แนวทางในการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ นํามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจน พัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
(3) สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทํางาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่าง เหมาะสม และมีความพอเพียงในการดําเนินชีวิต
(4) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยาางเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณา การได้ด้วยการคิด
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมือ อาชีพ (Hands-on)
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จําลอง หรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนําเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
(2) จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บําเพ็ญประโยชน์ต่อ สังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(3) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการ วางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดําเนินงาน รวมทั้งการ ปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
(4) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียน การสอนกับการทํางาน
(5) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และ ผู้เกี่ยวข้อง
 (6) จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารใน สถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(1) ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจําลอง หรือสถานการณ์จริง และ ความสามารถในการนําเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
(2) พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(3) พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ตามหลัก บูรณาการ การเรียนการสอนกับการทํางาน
(4) การนําเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(5) นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใน สถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงจตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฺบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA255 การจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 2.3.7 3.3 5.3.2 แบบทดสอบย่อย การส่งแบบฝึกหัด การฝึกทักษะการประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.2 2.3.4 2.3.5 2.3.6 2.3.7 3.3 4.3.2 4.3.3 5.3.2 6.3 การศึกษาค้นคว้าและทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย รายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.2 2.2 3.2 4.2 5.2 พฤติกรรมการเข้าเรียน o การตอบคำถามและอภิปราย o การมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม ตลอดภาคการศึกษา 5%
4 2.3 4.3 5.3 o สอบกลางภาค o สอบปลายภาค 9 17 35% 35%
จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์และคณะ. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : แมคกรอ-ฮิล. อุษณา  ภัทรมนตรี. (2561). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่.ฉบับปรับปรุงและพิมพ์ครั้งที่ 7, 
ไม่มี
เวบไซต์และบทความ กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด, ออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.4 รายงานผลการค้นคว้าจากงานที่ได้รับมอบหมาย 2.5 การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การให้ข้อเสนอแนะและการตอบคำถามของนักศึกษา 2.6 การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม 2.7 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1 การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป 3.2 การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์ 3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง