โครงงานการตลาดและการตลาดดิจิทัล

Marketing and Digital Marketing Projects

1.เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาด
2. เข้าใจการวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ และสามารถกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้
3. เข้าใจการเขียนแผนธุรกิจ และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ 4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาด สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ กำหนดกลยุทธ์และเขียนแผนธุรกิจ สามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ และสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงานการตลาดและการตลาดดิจิทัลได้
แนวคิดและความสำคัญของโครงงานการตลาดและการตลาดดิจิทัล กระบวนการนำสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาด การวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์และการเขียนแผนธุรกิจ ความเป็นไปได้ของโครงการ การปฏิบัติเกี่ยวกับโครงงานการตลาดและการตลาดดิจิทัล
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
1.1.2 มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1.1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มอบหมาย  การแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2.การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด การไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น  
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มอบหมาย  ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำโครงงานทางการตลาด การจัดทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน  (งานกลุ่มใหญ่) 3.มอบหมายงานกลุ่มย่อย  ฝึกปฏิบัติการทางการตลาดและการตลาดดิจิทัล
1. การสอบกลางภาคเรียน
2. ประเมินผลการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมโครงการที่มอบหมาย   
3. การจัดทำรายงาน และการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
1. การจัดทำรายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. การมอบหมายงานกลุ่มใหญ่ การทำโครงการทางการตลาด ผ่านการฝึกปฏิบัติการจริง 3. การมอบหมายงานกลุ่มย่อย  การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านการตลาดและการตลาดดิจิทัล
1. ประเมินจากการรายงาน ผลการปฏิบัติงานจริง และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม
4.1.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานโครงการทางการตลาด (งานกลุ่มใหญ่) ที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ 
1. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 
2. สังเกตพฤติกรรม การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม จากการมอบหมายโครงการทางการตลาด
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
5.1.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข ผ่านการมอบหมายงานกลุ่มใหญ่   
2. การนำเสนอผลงานด้วยสื่อ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.มอบหมายงานกลุ่มย่อย ประยุกต์ใช้ความรู้ทางการตลาดและการตลาดดิจิทัล
1. การสอบกลางภาค
2.  ประเมินผลการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลข 
3. พฤติกรรมการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา  การสื่อสาร และการใช้เครื่องมือหรือสื่อในการนำเสนอผลงานของนักศึกษา
4. การจัดทำเอกสาร รายงาน 
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
1. จัดกิจกรรม หรือรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการด้านบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผ่านการจำลองสถานการณ์จริงในการดำเนินธุรกิจ
1. การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่างๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.1.2 1.1.3 1.1.4 2.1.2 2.1.3 3.1.1 3.1.2 4.1.1 4.1.2 5.1.1 5.1.2 6.1.2
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม งานที่มอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น การกลางภาค ผลการปฏิบัติงาน งานที่ได้รับมอบหมาย งานที่มอบหมาย การจัดทำรายงาน การนำเสนอ งานที่มอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น งานที่มอบหมาย การนำเสนอ งานที่มอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น งานที่มอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่น งานที่มอบหมาย การนำเสนอ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การฝึกปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง การประยุกต์ใช้ความรู้ การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
1 BBABA639 โครงงานการตลาดและการตลาดดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.2 , 2.1.3 การสอบกลางภาค 8 30%
2 1.1.3 , 1.1.4 , 2.1.2 , 2.1.3 , 3.1.1 , 3.1.2 , 4.1.1 , 4.1.2 , 5.1.1 , 5.1.2 , 6.1.2 1. การฝึกปฏิบัติงานทางการตลาด การมีส่วนร่วม การทำรายงาน การนำเสนอ 2. งานมอบหมาย - งานกลุ่มใหญ่ (รายงาน และการนำเสนอ) 3. งานมอบหมาย - งานกลุ่มย่อย (การประยุกต์ใช้การตลาดและการตลาดดิจิทัล) ตลอดภาคการศึกษา 50% , 10%
3 1.1.2 , 1.1.3 , 1.1.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน รายวิชาโครงงานการตลาดและการตลาดดิจิทัล   เรียบเรียงโดย อาจารย์ชรัญญา  สุวรรณเสรีรักษ์ 
ดร.ฐิติรัตน์  มีมาก , ดร.ฉัตยาพร  เสมอใจ , คมกฤช  ปิติฤกษ์  ,  การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น , 2552.
สมคิด  บางโม , การเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurship . พิมพ์ครั้งที่ 5 , กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เอสเค บุ๊คส์ , 2555.
Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006. หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1. การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ   การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1.  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1.  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
2.  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
1.  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
2.  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
3. การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ.3/ มคอ.5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา 
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1.  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
2.  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
3.  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร