ระบบฐานข้อมูล
Database System
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล และการจัดการฐานข้อมูล
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล สามารถออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้คำสั่งเพื่อสืบค้นและปรับปรุงฐานข้อมูลได้
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในการสร้างระบบฐานข้อมูลได้
มีการปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อเน้นพัฒนาความรู้ความสามารถในการเชื่อมโยงทฤษฎีหลักการและ แนวคิดกับการนําไปใช้ในการอธิบายปัญหา การแก้ปัญหา และการวิจัยในสาขาวิชาให้มากขึ้น โดยการใช้กรณี ตัวอย่าง การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทํากิจกรรมกลุ่ม การทําแบบฝึกหัด การทดลองปฏิบัติและการเขียนบทความวิชาการที่มีคุณภาพในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องในรายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ ระบบฐานข้อมูล สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูล แบบจำลองข้อมูล การวางแผน การออกแบบและการบริหารฐานข้อมูล แบบจำลองอีอาร์ การนอร์มัลไลเซชัน การใช้คำสั่งภาษาเอสคิวแอล ระบบฐานข้อมูลแบบโนเอสคิวแอล
ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพโดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม ความซื่อสัตย์ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาโจทย์หน้าชั้นเรียน
การสอบกลางภาคเรียนปลายภาคเรียน ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี ประเมินจากการตอบคำถาม/แสดงความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน สอบภาคปฏิบัติ โดยคัดเลือกมาจากงานที่มอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์จากหลักทฤษฎี และสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้
การมอบงานทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับการสอนภาคทฤษฎี วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และสรุปสาระที่ถูกต้องให้ผู้เรียนได้เข้าใจ การสะท้อนแนวคิดจากการฝึกปฏิบัติจริง
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา วัดผลจากการปฏิบัติในงานที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานและให้ส่งตามกำหนดเวลา
ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน ระหว่างการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมลและการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ต่างๆ ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ และทำรายงาน โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกปฏิบัติการ
ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | ทักษะทางปัญญา | ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ | ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | คุณธรรม จริยธรรม | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 2 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 |
1 | BSCCT203 | ระบบฐานข้อมูล |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.1,1.2 | การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน | 1-15 | 5% |
2 | 2.1,2.2 | การทดสอบย่อย 2 ครั้ง | 5,15 | 20% |
3 | 3.4,3.4 | การสอบกลางภาค | 9 | 30% |
4 | 4.4,5.1,5.2,5.3 | การนำเสนองาน/การรายงาน | 14 | 15% |
5 | 2.1,2.2,3.1,3.2 | การสอบปลายภาค | 16 | 30% |
1. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุตสาหะ, คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล , 2544.
2. ศุภชัย สมพานิช, Professional Database Programming with VB 2010 & VC# 2010
2. ศุภชัย สมพานิช, Professional Database Programming with VB 2010 & VC# 2010
- Thomas Connolly and Carolyn Begg, Database Systems, Addison Wesley, 2004. - Hoffer, J.A., Prescott, M.B. and McFadden F.R. Modern Database Management, Prentice Hall, 2005. - A. Silberschatz, Henry F. Korth & S.Sudarshan, Database System Concepts, Mc Graw-Hill, 2003.. - Elmasri, R., and Navathe, S.B., Fundamentals of Database Systems, Addison-Wesley, 2002. - C.J.Date, An Introduction to Database Systems, Addison Wesley, 2004. - เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
https://www.w3schools.com/sql/default.asp
https://www.w3schools.com/mysql/default.asp
https://www.w3schools.com/php/default.asp
https://www.w3schools.com/mongodb/index.php
https://www.w3schools.com/mysql/default.asp
https://www.w3schools.com/php/default.asp
https://www.w3schools.com/mongodb/index.php
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ได้แก่ ด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านประเมิน และด้านปกครอง
4.1 ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา จากการตั้งคำถามต่างๆ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
4.2 ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษา ผลการสอบกลางภาค และผลการสอบปลายภาค
4.3 ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ คะแนนสอบ และคะแนนพฤติกรรมการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1 ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
5.2 วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)